วิธีทำ KM ในองค์กรภาครัฐ : 5. ยุทธศาสตร์ KV & Storytelling


• ปัญหาในการทำ KM ของหน่วยราชการไทยโดยทั่วไปคือไม่รู้ว่าทำอย่างไรให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้    ไม่รู้วิธีทำให้คนเอา tacit knowledge ออกมา ลปรร. กัน
• จึงขอเสนอยุทธศาสตร์ KV & Storytelling สำหรับให้หน่วยราชการพิจารณาลองนำไปใช้ 
• เริ่มโดย “คุณเอื้อ” และแกนนำ KM ของหน่วยราชการ ร่วมกันกำหนด KV – Knowledge Vision โดยตั้งคำถามว่า เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน ต้องการความรู้หลักๆ / ผลงานหลักๆ  ๑๐ ประการ ได้แก่อะไรบ้าง   จัดทำเป็นรายการไว้
• แกนนำ KM ของหน่วยงาน ไปเสาะหา “ความสำเร็จเล็กๆ” (micro success) ตาม KV แต่ละข้อที่กำหนดไว้    หาให้ได้มากๆ โดยมีหลักคิดว่า สิ่งดีๆ มีอยู่แล้ว
• จัดประชุมเล็กๆ (คน 10 – 20 คน) ให้คน / กลุ่มคน ที่มี micro success เหล่านั้น มาเล่าเรื่อง (storytelling) แลกเปลี่ยนกัน ว่าความสำเร็จเล็กๆ ที่ภาคภูมิใจ คืออะไร    ผลัดกันเล่า ผลัดกันฟังอย่างลึก (deep listening) และถามด้วยความชื่นชม   จัดให้มี “คุณลิขิต” จดบันทึกเคล็ดลับวิธีทำงาน เอาไปเล่าต่อ   เอาไปขึ้น เว็บไซต์ ขึ้น บล็อก หรือลงจดหมายข่าว    จะให้ดี มีรูปผู้เล่าประกอบด้วย  
• ท่านจะพบว่าภายในหน่วยงานมีเรื่องราวดีๆ มากอย่างไม่น่าเชื่อ   หลังจากนี้ “คุณเอื้อ” และแกนนำ KM ต้องไปอ่านหนังสือ “การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ” ไปศึกษาเพื่อวางแผนกิจกรรมต่อเอาเอง

วิธีทำ KM ในองค์กรภาครัฐ  : 1     วิธีทำ KM ในองค์กรภาครัฐ  : 2

วิธีทำ KM ในองค์กรภาครัฐ  : 3     วิธีทำ KM ในองค์กรภาครัฐ  : 4

วิจารณ์ พานิช
๒๕ พค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 30959เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยและขอบคุณอาจารย์คะที่ให้ข้อคิดดี ๆ เหล่านี้ หลายเวทีที่ใช้การชื่นชม ทำให้ทุกคนรู้สึกดี สนุกและตั้งใจซักถามว่าทำได้อย่างไร มีวิธีหรือเทคนิคอย่างไร  ทำให้บรรยากาศมีชีวิตชีวามากคะ

  • ผมพบว่าเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่บางท่านไม่ยอมรับฟังเหตุผลครับ
  • เคยเสนอความคิดออกไป ท่านไม่ฟัง แถมแสดงอาการโกรธ
  • ผมเสนอไอเดียดีๆ ที่ช่วยพัฒนาบ้านเมือง (ประหยัดพลังงาน+ลดอุบัติเหตุ) ให้ท่านฟัง ท่านว่าเรื่องนี้เป็นหน้าที่รัฐบาลไม่ใช่หน้าที่เรา
  • เป็นทั้งองค์กรย่อยในจังหวัดจนถึงศาลากลางเลยครับ

          ได้อ่านวิธีการทำ KM ในองค์กรภาครัฐ 1-5 แล้วรู้สึกสบายใจในส่งที่ได้นำมาใช้ในหน่วยงาน เพราะไม่ต้องเกรงกับการถูกประเมินทำไปโดยธรรมชาติ  ผลรับก็คือ 1. ในฐานะหัวหน้าไม่ต้องเนื่อยไปเสียทุกอย่าง  2. ผู้ร่วมงานรู้สึกภาคภูมิใจในงานที่ตนทำแล้วสำเร็จแล้วได้นำไปเผยแพร่เขายิ่งพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น  3.ส่วนผู้ร่วมงานคนอื่นร่วมแก้ปัญหาและแนะแนวทางที่ดีให้เพื่อร่วมงานที่ทำงานบกพร่อง     ประการสำคัญการได้นำวิธีการ Storytelling ไปฝึกทุกครั้งจะได้รับการตอบรับจากหน่วยงานและเขาเต็มใจในสัญญาว่าจะกลับไปใช้  

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท