KM รุ่นที่ 11


KM, การจัดการความรู้

การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้และองค์กรคุณภาพ
ครั้งที่ 7  วันที่ 8 – 9 พฤษภาคม 2549
ณ โรงแรมแก่งสะพือริเวอร์ไซด์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

*********************************************

รองศาสตราจารย์อรชร   พรประเสริฐ      ผู้บันทึก

 

                เป็นเช้าที่อากาศสดใส เพราะฝนตกเมื่อเย็นวาน ทำให้เช้านี้อากาศไม่ร้อนเกินไป คณาจารย์ส่วนใหญ่ของคณะวิทยาศาสตร์มารับประทานอาหารเช้าตามเวลานัดหมาย และเดินทางโดยรสบัสของมหาวิทยาลัยมายังโรงแรมแก่งสะพือริเวอร์ไซด์

                อธิการบดีได้กล่าวกับคณาจารย์ คือ ความจำเป็นที่ต้องจัดการประชุมปฏิบัติการ KM เพราะเหตุผลที่โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งการเรียนรู้ และการแข่งขัน  การขับเคลื่อนองค์กรด้วยวิธีเดิมๆ    คงไม่สามารถสู้กับคู่แข่งขันได้  จำเป็นต้องคัดประดิษฐ์นวัตกรรม โดยอาจใช้ความรู้เดิมที่ทุกคนมีอยู่แล้วมาสร้างเป็นความรู้ใหม่  ช่วงนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลฯ กำลังรับนักศึกษาใหม่  มีตัวเลขที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง (มากกว่าราชภัฏอื่นๆ เช่น อยุธยา  กาญจนบุรี ฯลฯ)  แต่ก็ประมาทไม่ได้ นักศึกษาอาจเปลี่ยนใจเมื่อไหร่ก็ได้  ครู-อาจารย์ และพนักงานทุกคนต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่  จำเป็นต้องสร้างคุณภาพให้กับบัณฑิต ดูแลนักศึกษาทุกคน  โดยได้แบ่งแยกวิชาเอก  อีกทั้งมหาวิทยาลัยต้องอยู่ภายใต้การประเมินของ สมศ. และ ก.พ.ร.  ซึ่งมีตัวชี้วัดหลายตัวที่คณาจารย์    ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดนั้น

                หลังจากอธิการบดีกล่าวเปิดการประชุมแล้ว ผศ.ดร.เสทื้อน  ประธานกรรมการการประชุมปฏิบัติการฯ ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนะนำให้ผู้เข้าร่วมรู้จักการจัดการความรู้  จากนั้นเข้าสู่ Work shop แรก คือ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมแบ่งกลุ่มเล่าเรื่อง (Story telling) สิ่งที่ตนได้เคยทำแล้วประสบความสำเร็จ และมีความภาคภูมิใจ ให้กับเพื่อนๆในกลุ่มได้ฟัง แล้วมี “คุณลิขิต” ของกลุ่ม             เก็บประเด็นปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อเป็น “ขุมความรู้” หัวปลาที่กลุ่มพูดคุยกัน คือ “การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม

                ขณะที่ ผศ.ดร.เสทื้อน   เทพรงทอง   อธิบายชี้แจงการสกัดเก็บประเด็นเรื่องเล่า  ท่านอธิการบดีได้ร่วมเข้าวงการเล่าเรื่องด้วย  โดยเล่าประสบการณ์การสอนของการบริหารการศึกษา  วิธีการของท่าน คือ ให้นักศึกษาเขียนเล่าย้อนหลัง 1 – 3 วัน ว่านักศึกษาที่เป็นผู้บริหารนั้น ได้ทำอะไรบ้าง จากนั้นเอามาแยกแยะว่าอะไรเป็นงานของผู้บริหาร อะไรไม่ใช่   อีกครั้งหนึ่งสอนบริหาร การตัดสินใจ ท่านให้นักศึกษาเขียนเรื่องที่ตนเห็นว่าวิกฤตที่สุด และ ประสบความสำเร็จที่สุด แล้วให้นัก
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30955เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากครับ อยากไปด้วยจังเลย....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท