โน้มน้าว...เพื่อนำเสนอแนวคิด


.....ผู้วิจัยในฐานะผู้นำเสนอแนวคิด จะต้องเข้าใจโจทย์วิจัยอย่างถ่องแท้ เพื่อให้แนวคิดดังกล่าวสัมฤทธิผล.....

ทฤษฎีในการนำเสนอแนวคิด ผ่านมุมมองอ.แหวว

 

          การนำเสนอถึงแนวคิดของตนเองเพื่อให้ผู้อื่น “รับรู้” และ “ยอมรับ” หรือ “เข้าใจ” ไปจนถึง “คล้อยตาม”แนวคิดของเรา ไม่ใช่สิ่งง่ายที่ใครๆก็สามารถทำได้ ต้องอาศัยทักษะอันเกิดจากการเรียยนรู้ ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง แต่ทักษะดังกล่าวก็สามารถถ่ายทอดออกมาในรูปของทฤษฎี ให้พวกเราได้รับทราบและเข้าใจได้ จากการถ่ายทอดโดยอ.แหววของพวกเรา ซึ่งผมขออนุญาตสรุปออกมาเป็นขั้นตอนตามความเข้าใจของผมดังนี้

1.สร้างโจทย์ร่วมกัน สำหรับบุคคลที่เราต้องการนำเสนอแนวคิด

          กล่าวคือ หากต้องการให้บุคคลใดรับทราบหรือเข้าใจในแนวคิดที่เราต้องการนำเสนอ การสร้างโจทย์ร่วมกันเพื่อให้ชัดเจนทั้ง2ฝ่ายจึงเป็นสิง่ที่จำเป็น ซึ่งวิธีการนั้นอาจกระทำโดย ส่งจดหมายแจ้งเพื่อบอกเหตุผลรวมถึงชี้แจงแนวคิดแลความต้องการของเราที่มีต่อบุคคลนั้นๆ หลังจากนั้นโทรศัพท์เพื่อชี้แจงและยืนยันถึงแนวคิดของเราอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันปัญหาความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากการสื่อสารในครั้งแรก และที่ไม่อาจลืมได้ก็คือ “การส่งสินค้าตัวอย่าง” ไปยังบุคคลดังกล่าว เพื่อให้เข้าใจและเห็นคล้อยในแนวความคิดของเรา หลังจากนั้นควรศึกษาถึง “Partner” ที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอ เนื่องจากในแต่ละครั้งของการนำเสนอย่อมมีความต่างของPartner ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์และภาพโดยรวมของงานนั้นๆ

          และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม ในการนำเสนอแนวคิดเพื่อสร้างโจทย์ร่วมกันระหว่างบุคคล เช่นการนำเสนอวิทยานิพนธ์นั้น เราต้องประเมินก่อนว่าบุคคลดังกล่าวเข้าใจหรือทราบในเป้าหมายการศึกษาของเราหรือไม่และทราถึงoutput ของงานหรือไม่ ดังนั้นในการนำเสนอเพื่อให้เข้าใจในโจทย์ร่วมกัน จึงไม่ควรลืมชี้แจงในBasic Concepts ของงานเพื่อนำไปสู่การนำเสนอเค้าโครงการศึกษาต่อไปนั่นเอง รวมทั้งอาจต้องชี้แจงในเบื้องแรกก่อนว่า  การศึกษาในขณะนี้นั้นอยู่ในขั้นตอยใด และมีกรอบเวลาในการศึกษาอย่างไร

2.วิเคราะห์โจทย์ร่วมกันให้สำเร็จ

          กล่าวคือ ผู้วิจัยในฐานะผู้นำเสนอแนวคิด จะต้องเข้าใจโจทย์วิจัยอย่างถ่องแท้ เพื่อให้แนวคิดดังกล่าวสัมฤทธิผล เช่นทราบได้ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้เผยแพร่แนวคิดดังกล่าว หรือทราบและสามารถผลิตเครือข่ายในการเผยแพร่แนวความคิด ไปจนถึงสร้างบุคคลต้นแบบในการแก้ไขปัญหา โดยอาศัยแนวทางแก้ไขปัญหาตามแนวความคิดของเรา

          แม้ว่าทักษะนี้จะถูกถ่ายทอดออกมาในรูปของทฤษฎีผ่านมุมมองของอ.แหวว ซึ่งสิ่งที่ยากจึงมิใช่การทำความเข้าใจในทฤษฎี แต่การยากอยู่ที่การนำทฤษฎีดังกล่าว ไปใช้ได้โดยอาศัยความเข้าใจ ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับทักษะและประสบการณ์ รวมถึงพฤติการณ์แวดล้อมต่างๆที่เกิดขึ้นในภาวะที่ต่างกันอกไปในแต่ละครั้ง

หมายเลขบันทึก: 308729เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2009 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในช่วงนี้ สังเกตว่า เราพลาดกันบ่อยในเวทีนำเสนอความคิด

เลยไปเอามุมมองในการจัด "เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้" มาคิดและมาบอกกัน

ดูเหมือนตั้มฟังเข้าใจนะคะ

หลายหน เราได้คนที่ใช่มาร่วมเวที แต่เราไม่อาจพูดจนได้ใจเขา

หลายคน เรามีข้อมูลมาก พูดดี แต่คนที่มา ไม่มีความอยากรู้ในเรื่องที่เราอยากพูด

ในทุกหน คนที่จะเชื่อเรานั้น เขาเชื่อใน "เหตุผลของเรา" อันนี้ล่ะคือ basic concept เป็นความคิดพื้นฐานของมนุษย์ที่มนุษย์ทุกคนไม่อาจปฏิเสธ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท