ตำนานวันลอยกระทง


ปีนี้ จะไปลอยกระทงกับใครดีนะ...???

 

          

 

 @  วันลอยกระทง  @

 เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ

เดือน 12  ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่(เดือนที่ 2)

ตามปฏิทินจัทรคติล้านนา"มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน

ตาม ปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้น

เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา  

บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท

ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชา

พระอุปคุตอรหันต์  หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทย

การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า

"การลอยพระประทีป"

หรือ "ลอยโคม" เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป

ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง

ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม

การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ

กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที

ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย

ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา


  

 

คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้

1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา

2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์   

คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร

3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก  

 เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  

เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา

4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริม   

แม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ

5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์  

 ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า

6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก

7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ  

ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล

 

   

 

 ตำนานวันลอยกระทงมีหลายตำนาน  แต่จะขอนำเสนอนิทานชาวบ้าน  ให้ได้อ่านกัน 

ตำนานวันลอยกระทง

 

กล่าวถึงเมื่อครั้งดึกดำบรรพ์

มีกาเผือกสองตัวผัวเมียทำรังอยู่บนต้นไม้ในป่าหิมพานต์

ใกล้ฝั่งแม่น้ำ วันหนึ่งกาตัวผู้ออกไปกากินแล้วหลงทาง

กลับรังไม่ได้ ปล่อยให้นางกาตัวเมียซึ่งกกไข่อยู่ 5 ฟอง

รอด้วยความกระวนกระวายใจ

                                                 

 

จนมีพายุใหญ่พัดรังกระจัดกระจาย ฟองไข่ตกลงน้ำ

แม่กาถูกลมพัดไปทางหนึ่ง เมื่อแม่กาย้อนกลับมา

มีรังไม่พบฟองไข่ จึงร้องไห้จนขาดใจตาย

ไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหมอยู่ในพรหมโลก

 ฟองไข่ทั้ง 5 นั้นลอยน้ำไปในสถานที่ต่างๆ

   

บรรดาแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โคและแม่ราชสีห์

 มาพบเข้า จึงนำไปรักษาไว้ตัวละ 1 ฟอง

 ครั้งถึงกำหนดฟักกลับกลายเป็นมนุษย์ทั้งหมด

ไม่มีฟองไหนเกิดมาเป็นลูกกาตามชาติกำเนิดเลย

กุมารทั้ง 5 ต่างเห็นโทษภัยในการเป็นฆราวาส

และเห็นอานิสงส์ในการบรรพชา 

 

 

จึงลามารดาเลี้ยงไปบวชเป็นฤาษีทั้ง 5 ได้มีโอกาสพบปะกัน

และถามถึงนามวงศ์และมารดาของกันและกัน

จึงทราบว่าเป็นพี่น้องกัน ฤาษีทั้ง 5 มีนามดังนี้

 

 คนแรก ชื่อ กกุสันโธ (วงศ์ไก่)


คนที่สอง ชื่อ โกนาคมโน (วงศ์นาค)


คนที่สาม ชื่อ กัสสโป (วงศ์เต่า)


คนที่สี่ ชื่อ โคตโม (วงศ์โค)


คนที่ห้า ชื่อ เมตเตยโย (วงศ์ราชสีห์)

 

ต่างตั้งจิตอธิษฐาน

 ว่าถ้าต่อไปจะได้ไปเกิดเป็นพระพุทธเจ้า

 ขอให้ร้อนไปถึงมารดา ด้วยแรงอธิษฐาน

ท้าวพกาพรหมจึงเสด็จมาจากเทวโลก

จำแลงองค์เป็นกาเผือก แล้วเล่าเรื่องราวแต่ทนหลังให้ฟัง

พร้อมบอกว่าถ้าคิดถึงมารดา

 

เมื่อถึงเพ็ญเดือน 11 เดือน 12 ให้เอาด้ายดิบผูกไม้ตีนกา

ปักธูปเทียนบูชาลอยกระทงในแม่น้ำ

 ทำอย่างนี้เรียกว่าคิดถึงมารดา แล้วท้าวพกาพรหมก็ลากลับไป


ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการลอยกระทงเพื่อบูชาท้าวพกาพรหม

แล้วเพื่อบูชารอยพระบาท ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที

ส่วนฤาษีทั้ง 5 ต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้

 

  ฤาษีองค์แรก กกุสันโธ ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกกุสันโธ

ฤาษีองค์ที่สอง โกนาคมโน ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโกนาคมน์


ฤาษีองค์ที่สาม กัสสโป ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกัสสปะ


ฤาษีองค์ที่สี่ โคตโม ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสมณโคดม


ฤาษีองค์ที่ห้า เมตเตยโย ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า

พระศรีอาริยเมตไตรย

 

 

             

 

 

หมายเลขบันทึก: 308553เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2009 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

....วันเพ็ญเดือนสิบสอง  น้ำก็นองเต็มตลิ่ง....

สวัสดีคุณ ลุง กร ของเด็ก ๆ ค่ะ

ดีใจจังที่มาลอยกระทง เป็นคนแรก นะคะ

แถมกระทงให้ด้วยค่ะ

 

 

พาพี่น้องชาวเล มาเยี่ยมอ่านความรู้ดีๆประเพณีไทย..ขอบคุณค่ะ

P
 
สวัสดีพี่สาว 
นาง นงนาท สนธิสุวรรณ  และพี่น้องชาวเล
ประเพณีไทย  ไม่มีแบ่งแยก  ภูมิภาค เชื้อชาติค่ะ
ขอให้มีความสุขวันลอยกระทง  ทุกปี ค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมารับความรู้ค่ะ

ไปลอยกระทงทุกปีเลยค่ะ

3 คนแม่ลูกเพื่อขอขมาต่อแม่คงคาค่ะ

กระทงก็ทำเองกับใบตองค่ะ

 

P
สวัสค่ะ คุณ ตุ๊กตา
ขอให้ ลอยกระทง ลอยทุกข์ ลอยโศก
พบแต่ความสุขตลอดปีนะคะ
 
ดีใจจัง ที่ช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติค่ะ

 

คิดถึงเธอคนดี..อีกแล้วสิวันนี้
วันลอยกระทงผ่านมาอีกปี..คิดแล้วก็ใจหาย
ไม่มีเธอคนดี..มายืนอยู่ข้าง-ข้างกาย
ฉันพึ่งรู้ตัวว่าโหยหาเธอมากเพียงใด..เวลาที่คิดถึงเธอ

อยากรู้ว่าเธอจะคิดถึงฉันบ้างหรือปล่าว
ยามที่เธอรู้สึกเหงา-เหงามีเรื่องราวของเราไหมที่จะนำมาเพ้อเจ้อ
จะเหมือนฉันบ้างใหมที่เหงา-เหงาก็เฝ้าคิดถึงเธอ
เวลามองฟ้าน้ำตาก็เอ่อ..ขึ้นมาทุกที

    

 

มาชม

ใกล้วันลอยกระทงแล้วสินะนี่...

  • แวะมาอ่านครับ
  • นานๆ ผ่านมา เลยแวะมาทักทาย เยี่ยมชมครับ ภาพดูสวยๆ ทั้งนั้นเลยครับ (ช่างเป็นสาวอารมณ์โรแมนติกดีจังเลยครับ)
  • แล้วน้องปลายฟ้า คิดว่าจะไปลอยกระทงที่ไหนครับ?

สวัสดีค่ะ...ขอลอยเป็นคู่ได้ไหมค่ะ..จะได้มีคู่ตลอดไป

ขออภัยนะคะ ไม่ค่อยได้แวะมา

ยังบริหารเวลาไม่ลงตัวเลยค่ะ

แวะมาลอยกระทงด้วยคน ยังไม่เคยได้ลอยกระทงกับคู่รักเลยอ่ะค่ะ

อิ..อิ..อิ...ปีนี้จะหาคู่ได้มั้ยเนี่ย

 

P

คุณ umi

 

ใกล้วันลอยกระทงแล้วนะคะ

เตรียมกระทง  กับคนรู้ใจ  หรือยังคะ

 

 

P

ขอให้พี่ อิงจันทร์

ได้ลอยกระทงกับคนรู้ใจ  อย่างมีความสุข นะคะ

 

 

P

สวัสดีค่ะ คุณ พี่ Andrew

ดีใจที่แวะมาเยี่ยมกันนะคะ

ปีนี้จะไปลอยกระทง  ที่วัด แถวบ้านนี่แหละค่ะ

แต่จะไปลอยกับใครนั้น

ฮื้อ  ฮื้อ แต่... ยังไม่มีคนมาชวนเลยค่ะ

พี่สำคัญ  ... ลอยกระทงปีนี้  เป็นวันพิเศษ ด้วยค่ะ

ฮิ  ฮิ 

วันอะไร  ไม่บอกกกก

ก็ วันพระ...ไงค่ะ ????

( อยากมีวันนี้...กับเขาบ้างจัง...)

 

สวัสดีครับ °o.O ปลายฟ้า O.o°

  • พาหลานม่อนมาเรียนรู้เรื่องวันลอยกระทง
  • ม่อนชอบลอยกระทงมากครับ
  • โดยเฉพาะ ชอบมากจริงๆ
  • ขอบพระคุณมาก

P
สวัสดีคุณตา  นายประจักษ์ ปานอินทร์ และคุณหลานค่ะ
แหม...ชอบลอยกระทงซะด้วย
แต่ปีนี้  อย่าเพิ่งไปลอยกับสาวที่ไหนเลยนะคะ
มาชวน พี่ปลายฟ้า  ไปลอยด้วยดีกว่า
กำลังหาคู่อยู่เลยค่ะ

สวัสดีค่ะ

* อ๊ะ ๆ เห็นแว้บๆ เม้าเข้ากับบรรยากาศเชียวนะ

* สาวน้อยมาชวนไปลอยกระทงค่ะ

               

* สุขกายสุขใจนะคะ

ขอบคุณที่ยังระลึกถึงกันเสมอนะคะ

ช่วงนี้เปิดเทอมใหม่ 

งานเข้าอีกแล้วค่ะ

ยุ่ง ๆ  จริง ๆ เลยค่ะ

 

  • ผมแวะมาเยี่ยม ครับ
  • โชคดีมีสุขนะครับ

 

ฝากความคิดถึงให้ทุก ๆ คนนะคะ

ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันลอยกระทง เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ใกล้ถึงเทศกาลวันลอยกระทงแล้ว … เชื่อว่าหลายคนคงเตรียมตัวควงหวานใจ หรือพาครอบครัวไปลอยกระทงร่วมกันที่ใดที่หนึ่งแล้ว อ๊ะ ๆ ... แต่ก่อนที่จะไปลอยกระทงกันนั้น เรามาทำความรู้จักประเพณีลอยกระทงให้ถ่องแท้กันก่อนดีกว่าค่ะ จะได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของประเพณีอย่างแท้จริง กำหนดวันลอยกระทง วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่ 1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด 2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท 3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์ 4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้ 5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน 7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย ประเพณีลอยกระทงในแต่ละภาค ลักษณะการจัดงานลอยกระทงของแต่ละจังหวัด และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันคือ ภาคเหนือ (ตอนบน) จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า "ยี่เป็ง" อันหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (เดือนยี่ถ้านับตามล้านนาจะตรงกับเดือนสิบสองในแบบไทย) โดยชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์โคมลอย หรือที่เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า จังหวัดตาก จะประดิษฐ์กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย" จังหวัดสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องประเพณีลอยกระทง ด้วยความเป็นจังหวัดต้นกำเนิดของประเพณีนี้ โดยการจัดงาน ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ที่จังหวัดสุโขทัยถูกฟื้นฟูกลับมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2520 ซึ่งจำลองบรรยากาศงานมาจากงานลอยกระทงสมัยกรุงสุโขทัย และหลังจากนั้นก็มีการจัดงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟขึ้นที่จังหวัดสุโขทัยทุก ๆ ปี มีทั้งการจัดขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล และไฟพะเนียง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ทุกปีในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟอย่างสวยงาม และตอนกลางคืนจะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหลไปตามลำน้ำโขง กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทงหลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ "งานภูเขาทอง" ที่จะเนรมิตงานวัดเพื่อเฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี กิจกรรมในวันลอยกระทง ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ แต่กิจกรรมที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ การประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง หรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม ภายหลังมีการใช้วัสดุโฟมที่สามารถประดิษฐ์กระทงได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะมีการดัดแปลงวัสดุทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ กระทงพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อไปถึงสถานที่ลอยกระทง ก่อนทำการลอยก็จะอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนาขอให้ประสบความสำเร็จ หรือเสี่ยงทายในสิ่งต่าง ๆ จากนั้นจึงปล่อยกระทงให้ลอยไปตามสายน้ำ และในกระทงมักนิยมใส่เงินลงไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคา นอกจากการลอยกระทงแล้ว มักมีกิจกรรมประกวดนางนพมาศอันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเพณีลอยกระทง และตามสถานที่จัดงานจะมีการประกวดกระทง ขบวนแห่ มหรสพสมโภชต่าง ๆ บางแห่งอาจมีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองด้วย เพลงประจำเทศกาลลอยกระทง เมื่อเราได้ยินเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ขึ้นต้นว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง..." นั่นเป็นสัญญาณว่าใกล้จะถึงวันลอยกระทงแล้ว ซึ่งเพลงนี้เป็นที่คุ้นหูของทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เพราะในต่างประเทศมักเปิดเพลงนี้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อแสดงถึงความเป็นประเทศไทย เพลงรำวงวันลอยกระทงแต่งโดยครูแก้ว อัจฉริยกุล ผู้ให้ทำนองคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งสุนทราภรณ์ ซึ่งครูเอื้อได้แต่งเพลงนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2498 ขณะที่ได้ไปบรรเลงเพลงที่บริเวณคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผู้ขอเพลงจากครูเอื้อ ครูเอื้อจึงนั่งแต่งเพลงนี้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงจึงเกิดเป็นเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ติดหูกันมาทุกวันนี้ มีเนื้อร้องว่า วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ สำหรับวันลอยกระทง 2553 ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 21 พฤศจิกายน ใครที่ยังไม่มีโปรแกรมไปเที่ยวที่ไหน ก็อย่าลืมชวนครอบครัว หรือเพื่อน ๆ มาร่วมกันสานต่อประเพณีที่ดีงามนี้ไว้นะค่ะ อ่อ... และอย่าลืมใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติด้วยล่ะ เพราะนอกจากจะไปลอยกระทงเพื่ออนุรักษ์ประเพณีแล้ว ยังจะเป็นการช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติไว้อีกต่อหนึ่งด้วยค่ะ

4;kkekefbkgdfgkhuglerjukhegybsdaiefasssouejrkgkjba;kodkkiiiiewurwjgbwHGVWEKDFJDSIUGOTWGOHrie;akghsfgkhdljsnerhgkojhnerounrkgg

lrmgeighegljegojkljzirzjhgihkrhne;slbsekkjbnbmpdfnjgz;khzrigohar

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท