beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่า "เมื่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลบุกเข้าเมืองพิษณุโลก"


ถ้าขับรถผ่านไปใต้หลอดไฟ เหมือนว่าเราจะถูก "ฝนแมลง" คือแมลงบินเล่นไฟตกลงมาใส่ตัวเรา

    ปลายฝนต้นหนาวปีนี้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ระบาดหนักที่พิษณุโลก สังเกตเห็นว่าพอค่ำลงมีการเปิดไฟตามบ้านและตามถนนเพลี้ยพวกนี้ก็จะมาเล่นไฟ

    เมื่อคืน (ขึ้น ๗ ค่ำ ซึ่งดวงจันทร์ไม่สว่าง) ผมลองดูหลอดไฟที่ถนนในมหาวิทยาลัยนเรศวร ๑ หลอดมีเพลี้ยบินมาเล่นไฟมากกว่าพันตัวขึ้นไป ถ้ามีหลอดไฟ ๑๐๐ หลอดก็จะมีเพลี้ยมาเล่นไฟจำนวนแสน

    ถ้าตอนเช้าเรามาดูก็จะพบเพลี้ยนอนตายไต้หลอดไฟ กองหนึ่งๆ หลายหมื่นตัว ประมาณว่าวันหนึ่งๆ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็ตายวันละหลายล้านตัว

    นี่คือ Over population ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เมื่อมีประชากรมากเกินไป และต้นข้าวในนาถูกเก็บเกี่ยวไปหมด ไม่มีอาหารจะกิน ก็จะบินมาเล่นไฟเพื่อลดประชากรลง คือตัวอาหารเป็นตัวกำจัดประชากรนั่นเอง

    ย้อนกลับไป ๑๙ ปี ในปี ๒๕๓๓ เมื่อผมมาอยู่พิษณุโลกใหม่ๆ ปีนั้นหน้าหนาวประมาณเดือนธันวาคม มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดหนัก ๕๐ จังหวัด ช่วงนั้นใครปลูกข้าวต้องขาดทุนเพราะลงทุนใช้ยาฆ่าแมลงมากมายแต่ได้ผลผลิตข้าวไม่ดี

   ตอนนั้นผมยังขับรถมอเตอร์ไซด์อยู่ อาศัยอยู่ที่หอพักในมหาวิทยาลัยนเรศวรส่วนสนามบิน กลางคืนขับรถมาทานผัดไทยตรงหน้าโรงเรียนไทยกล้า มองที่ใต้หลอดไฟฟ้าให้แสงสว่างถนน ในแต่ละดวงจะดูมืดฟ้ามัวดิน เพราะเพลี้ยมาเล่นไฟมากมาย มากกว่าปีนี้หลายเท่านัก ประมาณว่า ๑ หลอด เพลี้ยมาเล่นไฟนับแสนตัว  

   ถ้าขับรถมอเตอร์ไซด์ผ่านไปใต้หลอดไฟ ต้องหลับตา (ไม่เช่นนั้นแมลงจะเข้าตา) และเหมือนว่าเราจะถูก "ฝนแมลง" คือแมลงบินเล่นไฟตกลงมาใส่ตัวเรา (และจะเกิดอาการคันตามตัวด้วย) ถ้าเด็กเกิดปีนั้น ตอนนี้ก็อายุ ๑๙ ปีพอดี และบางคนกำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยช่วงนี้พอดี  

   พอตอนเช้ามืด พนักงานมากวาดถนน จะได้เพลี้ยตายอยู่บนถนน วันหนึ่งคงไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านตัว (ต่อคน) เป็นแน่ ถ้าเอาไปเป็นอาหารให้ปลา ปลาคงกินไม่ไหวเป็นแน่ และคงเบื่อแมลงตัวนี้ไปอีกนาน 

   เล่าเรื่องปัจจุบันและอดีตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาพอสมควรแล้ว เลยไปค้นภาพเพลี้ยตัวนี้มาฝากครับ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ภาพจาก http://www.insectimages.org/images/768x512/5190053.jpg

    และสามารถอ่านเรื่องราวเพิ่มเติม ได้ใน website ซึ่งผมค้นมาและมีรายละเอียดดีพอสมควร http://www.malaeng.com/blog/?cat=110 แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่นะครับ

   สำหรับเจ้าเพลี้ยตัวนี้ผมเคยศึกษามาบ้าง ชื่อสามัญคือ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Common name คือ Brown planthopper ชื่อทางวิทยาศาสตร์ระดับ species คือ Nilapavata lugens (Stal, 1854) เป็นแมลงศตรูข้าว จัด Taxononic catagories ได้ดังนี้  

      Phylum Arthropoda

         Class Insecta หรือ Hexapoda

            Order homoptera 
            (บางตำราย้ายมาอยู่ใน Order hemiptera และอยู่ใน
              Suborder Auchenorrhyncha)

                Superfamily Fulgoroidea

                   Family Delphacidae

                      Genus Nilapavata

                         Species Nilapavata lugens (Stal, 1854)

   ถ้าอยากรู้ว่าทำลายต้นข้าวอย่างไร อ่าน website ของกรมการข้าวได้ที่ http://www.brrd.in.th/rkb/data_005/rice_xx2-05_bug02.html ครับ และขอจบบันทึกเพียงเท่านี้

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

หมายเลขบันทึก: 308551เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2009 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ไม่ชอบเพลี้ยเลย

ไปลงต้นไม้ที่ไหน ต้นไม้ตายที่นั่น

เคยปลูกมะละกอ เห็นเพลี้ยเกาะก็ไม่ว่าอะไร

สุดท้ายตายหมดสวน

มะละพันธุ์ดีด้วยค่ะ

  • เป็นสัตว์โลกเหมือนกัน
  • จะชอบหรือไม่ชอบก็ต้องอยู่ร่วมกัน
  • ต้องทำใจครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาแสดงข้อคิดเห็นครับ
  • ใช่ค่ะอาจารย์ สมัยเป็นวัยรุ่น (ผ่านมานานมากกก แล้ว) ไปไหนมาไหนโดยมอเตอร์ไซค์เหมือนกันค่ะ จำได้ว่าตอนนั้นมีเพลี้ยชนิดนี้เยอะมากชนิดที่ว่าถ้าขี่ผ่านหลอดไฟต้องหลับตาจริงๆ ค่ะ  แต่ตามตัวเนี่ยรู้สึกยิบๆ เพราะเหมือนมีฝนตามตัวจริงๆ ค่ะ
  • เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นช่วงที่แมลงเยอะที่สุดของปี  แต่ตอนนี้เริ่มลดลงแล้วนะคะ
  • ต้องขอบคุณอาจารย์ที่นำรูปมาให้ดูแบบชัดๆ เพราะตั้งแต่เกิดมาพึ่งให้ไอ้เจ้าตัวนี้แบบชัดๆ ก็วันนี้ค่ะอาจารย์
  • เป็นวงจรชีวิตของทั้งเราและเค้าที่จะต้องมาเจอกันนะคะอาจารย์ 
  • เหมือนชีวิตเราที่ต้องเจอทั้งสิ่งที่รักและชัง  จริงมั้ยคะ ...

สวัสดีค่ะ

ไม่ทราบว่าที่อื่นเป็นอย่างที่พิษณุโลกหรือเปล่าคะ ใครที่จะมาพิษณุโลกช่วงนี้หากไม่เคยเจอกับฝนแมลงแบบนี้คงแย่นะคะ

แต่ชาวพิษณุโลกคงชินแล้ว

เรียน ผอ.ตูน

  • เป็นอดีตที่ยาวนานมากแล้วเมื่อ ๑๙ ปีที่ผ่านมา เจอเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดมากที่สุด
  • แต่ปีนี้มีแมลงมากแค่ประมาณ ๕ วันเท่านั้น ตอนนี้ซาลงมากแล้ว
  • สรุปตอนท้าย ชีวิตคนเรามักพบเจอสิ่งที่รักและชัง..อิอิ
  • แล้วค่อยพบกันตอน BAR ครับ

สวัสดีครับ อ.อ้อม

  • ที่อื่นๆ คงมีแมลงระบาดบ้าง แต่ไม่ได้สำรวจว่าที่ไหนบ้าง
  • แต่ที่สุพรรณบุรี ก็ระบาดช่วงเดียวกับพิษณุโลก
  • คาดว่าจังหวัดไหนปลูกข้าวมาก (เขตชลประทาน) ก็คงมีแมลงระบาดมากเหมือนกัน

 

กลับมาระบาดอีกแล้วครับที่พิษณุโลก เกายิกๆเลย

มีวิธีอย่างไรบ้างค่ะไม่ให้เพลี้ยกระโดดเข้าบ้าน นอกเหนือจากการปิดไฟ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท