คืนดวงใจให้ครอบครัว…ด้วย early rehabilitation


เด็กหนุ่มโชคร้ายได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนทางสมองจนต้องเจาะคอและกินอาหารทางสายยาง แต่ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ระยะแรก จนหายได้อย่างเหลือเชื่อ

 

ผู้เล่า ทีมกายภาพบำบัด  รพร.กุฉินารายณ์

แก่นของเรื่อง  เด็กหนุ่มโชคร้ายได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนทางสมองจนต้องเจาะคอและกินอาหารทางสายยาง แต่ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ระยะแรก จนหายได้อย่างเหลือเชื่อ

เนื้อเรื่อง

        ใหญ่...เด็กหนุ่มผู้โชคร้ายประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำสมองได้รับบาดเจ็บ หลังออกจากโรงพยาบาลไป พ่อกับแม่ท้อใจคิดว่าต้องดูแลเขาอย่างนี้ตลอดชีวิตเสียแล้ว เมื่อทีมเยี่ยมบ้านได้ทราบว่าใหญ่มาถึงบ้านแล้วจาก อสม.จึงได้รีบไปเยี่ยม ตอนแรกทีมงานไปเห็นก็รู้สึกตกใจมาก เพราะใหญ่ผอมมาก จะขยับก็แทบไม่มีเรี่ยวแรง แล้วยังมีท่อ tracheostomy ที่คอ และยังต้องให้อาหารทางสายยางอีกด้วย

        สิ่งแรกที่ทีมเยี่ยมบ้านไม่ใช่การฟื้นฟูใหญ่แต่เป็นการให้กำลังใจพ่อและแม่ เราต้องค่อยๆ ปลอบพ่อแม่ ให้กำลังใจ และให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยฟื้นฟูใหญ่อย่างเต็มที่ และเชื่อว่าใหญ่ต้องดีกว่านี้แน่นอน

        เมื่อพ่อกับแม่เริ่มทำใจได้ และมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น เราจึงเริ่มอธิบายให้พ่อแม่ฟังว่าเราจะฟื้นฟูใหญ่อย่างไรบ้าง แต่ละอย่างมีความสำคัญอย่างไร และอยากให้พ่อแม่ช่วยอะไรบ้าง สำหรับเราแล้วครอบครัวของผู้ป่วยมิใช่เพียงลูกมือที่จะทำตามหมอสั่ง แต่ครอบครัวคือสมาชิกทีมที่สำคัญที่สุด ดังนั้นครอบครัวต้องเข้าใจกระบวนการทั้งหมด มีส่วนตัดสินใจอย่างเต็มที่ ในช่วงแรกเราสอนการเคาะปอด ระบายเสมหะ และแนะนำให้จับลุกนั่งบ่อยๆ 

        สัปดาห์ถัดมาเราพบว่าใหญ่นั่งได้ดีขึ้นบ้างแล้ว ทีมกายภาพบำบัด จึงวางแผนให้ยืน ถ้าหากเป็นในรพ.เราจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า tilt table ซึ่งเป็นเตียงที่สามารถปรับให้ยืนได้ แต่อุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถนำมาที่นี่ได้ เราจึงประยุกต์ใช้เสากลางบ้านแทน โดยจับให้ยืนแล้วเอาผ้ามัดกับเสาให้แน่น 3 ระดับ คือ หัวใจ  หัวเหน่า และหัวเข่า ในช่วงแรกให้ยืนครั้งละ 30 นาที การยืนนั้นมีประโยชน์หลักๆ 3 ประการคือ 1.ลดภาวะ postural hypotension 2.เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ 3.ช่วยให้ลำไส้ทำงานดีขึ้น

        สัปดาห์ถัดมาเราไปติดตามพบว่าน้องใหญ่ยืนได้ดีขึ้น แต่ดูไม่ค่อยมีเรื่ยวแรง และกล้ามเนื้อไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่คิด ทีมงานจึงเริ่มคุยกับครอบครัวเพื่อหาสาเหตุ จนในที่สุดก็พบว่าสูตรอาหารที่น้องใหญ่ได้รับไม่เหมาะสม เนื่องจากช่วงออกจากโรงพยาบาลใหม่ๆ โภชนากรที่ รพ.ศูนย์ ต้องการเน้นโปรตีนเพราะเป็นช่วง stress จึงให้กินไข่วันละ 20 ฟอง แต่ทีมเยี่ยมบ้านเห็นว่าน่าจะมีการปรับสูตรอาหารจึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษาโภชนากร จึงได้สูตรอาหารปั่นสำหรับให้ทางสายยางที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ครบถ้วน

        ครบหนึ่งเดือนจากที่เริ่มฟื้นฟู หลังจากเปลี่ยนอาหารใหญ่มีเนื้อหนังขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเริ่มยืนได้ดีขึ้น ทีมกายภาพบำบัดจึงเริ่มให้หัดเดินด้วย walker 4 ขา และสอนพ่อแม่ให้ดัดขา เนื่องจากขายังไม่ตรง และเน้นให้เดินมากขึ้น ถึงตอนนี้น้องใหญ่สามารถปิด tracheostomy และกินอาหารด้วยตัวเองได้แล้ว ถึงตอนนี้แม่ก็ดีใจอย่างเห็นได้ชัด

         หลังจากนั้นเราก็แวะไปเยี่ยมใหญ่ 1-2 สัปดาห์ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้หัดเดินมากขึ้น ใหญ่ก็ตั้งใจเดินทุกวัน รวมเวลาแล้วนับแต่วันแรกที่ทีมงานเริ่มฟื้นฟู จนใหญ่เดินได้ และช่วยตัวเองได้อย่างดีเป็นเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น ทำให้ทีมเยี่ยมบ้าน และกายภาพบำบัดมั่นใจว่า เรามาถูกทางแล้ว

 

ผู้บันทึก  นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์                  วันที่  20 ตุลาคม 2552

ประเด็นที่น่าสนใจ

  1. สถานที่ฟื้นฟูดีที่สุด คือที่บ้านผู้ป่วย : เพราะเป็นการฟื้นฟูในสภาพความเป็นอยู่จริง ภายใต้บรรยากาศ และเครื่องมือที่เขาทำได้ทุกวัน และบ่อยเท่าที่ต้องการ, มิใช่การฟื้นฟูที่รพ.เพียงวันละ 1-2 ชม. และมาได้บ้างไม่ได้บ้าง
  2. ทีมฟื้นฟูที่ดีที่สุด คือ ทีมสุขภาพร่วมกับครอบครัว : ครอบครัวไม่ใช่ลูกมือ แต่เป็นลูกทีม ต้องใส่ใจอธิบาย สอนให้เขามั่นใจในการดูแลด้วยตนเอง แม้ครอบครัวจะไม่มีความรู้ แต่การฟื้นฟูคนที่เขารัก ทำให้เขามีพลังมาก
  3. ยาที่ดีที่สุด คือ ความใส่ใจของเจ้าหน้าที่ : ไม่ว่าจะเป็นโรคใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูสภาพแล้ว การได้รับความใส่ใจ ความรวดเร็ว การติดตามต่อเนื่อง ความใกล้ชิด การดูรอบด้าน ส่งผลมากกว่าเทคนิคการหรือเครื่องมือทันสมัยใดๆ

ผู้สรุปประเด็น นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์

หมายเลขบันทึก: 307859เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2009 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สรุปได้ดีครับ ในการเยี่ยมบ้าน ผมต้องเจอ คนไข้มากมาย ที่เดินไม่ได้

ผมเอง ก็ได้ มั่ว พาคนไข้ หัดเดิน มาหลายปีแล้ว

คนไข้ที่เดิน ไม่ได้ มากมาย จำเป็น ต้อง มีจนท. มา พาหัดเิดิน ที่บ้าน บ่อยๆ ครับ

จึงเดินได้ ไม่ใช่ แค่ พาหัดเดิน ปีละ 1 ครั้ง

ขอเป็นกำลังใจ ให้ ทีม รพ.กุฉินาราย ครับ (ไม้เลื้อย)

เป็นการทำงานที่ดีมากเลยค่ะ มีทีมงานที่ทุ่มเทให้กับงาน ประกอบกับความเอาใจใส่ของครอบครัวผู้ป่วยเอง ทำให้ผู้ป่วยมีแรงกายแรงใจในการต่อสู้กับโรค ขอเป็นกำลังใจให้ทีมงานและชื่นชมทีมงาน ค่ะ (ไม้เลื้อย)

สมแล้วกับการเป็นทีมต้นแบบ....น้องรัก

พอจะมีบทสัมภาษณ์ขณะเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้เดินทางเข้าไปเยี่ยมบ้างไหมค่ะ

อยากได้ฟังความรู้สึกของผู้ป่วยขณะเยี่ยมบ้านว่าเขาจะรู้สึกดีใจมากที่มีหมอมาเยี่ยมถึงบ้าน

ขอฟังบทสัมภาณณ์หน่อยน่ะค่ะ

นี่แหละความคือส่วนหนึ่งของวิชาชีพกายภาพบำบัดที่เป็นความภาคภูมิใจ

วิชาชีพที่ช่วยในเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพชีวิต

ถึงคุณนักศึุำกษาพยาบาล

ทางรพ. เคยมีรายการสัมภาษณ์ พ่อกับผู้ป่วย เกี่ยวกับความรู้สึกที่ได้รับการดูแลไว้ครับ

(เป็น vdo) หากอยากได้จะ mail ไปให้

ไม่ทราบว่าจะติดต่อได้อย่างไรครับ

ทีมไม้่เลื้อย

ตอบคุณ นศก

เป็นความจริงเลยครับ ผป.รายนี้หากไม่มีทีมกายภาพบำบัดที่เข้มแข็ง

จะดีขึ้นไม่ถึงครึ่งของที่เห็น

ทำให้ทีมอยากให้ทีมเยี่ยมบ้านในชุมชนที่อื่น มีนักกายภาพบำบัดเป็นส่วนหนึ่งของทีมด้วยครับ

เรื่องราวน่าประทับใจมากเลยค่ะพี่เอก วันนี้มาหารูปพี่เอกไป present งานนะนี่ เลยได้มาเจอบล็อกนี้

ขอบคุณครับ

เสียดายจังที่ไม่ได้ไป retreat

เลยไม่ได้เจอกันเลย

<a href=http://www.newport.skepter.co.uk/ >free web advertising Newport</a>

แล้วได้รูปหรือยัง

ไม่งั้นจะส่งไปให้

<a href=http://www.norwich.skepter.co.uk/ >advertise for free Norwich</a>

ถ้าได้อ่านข้อความนี้ เราอยากจะเป็นสมาชิก ใครช่วยที

ได้รูปแล้วแต่ยังอยากได้อีกจ้ะ เพราะต้องเอาไว้นำเสนอผลงานศิษย์เก่าจ้า รบกวนพี่เอกส่งมาให้ทาง e-mail หน่อยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท