พื้นฐานความต้องการในชีวิตเรา ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และยา หรือที่เรียกกันว่า ปัจจัย4 นั่ยแหล อ๊ะ มีหลายคนแย้งว่าปัจจัย4 ไม่เพียงพอซะแล้วในปัจจุบัน บ้างต้องมีรถ มีโทรศัพท์ แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมความเพียงพอและความพอเพียงอย่างที่พ่อหลวงทรงเตือนไว้
เข้าเรื่องล่ะนะ...ในฐานะที่ขลุกอยู่ในวงการยาพอควร โดยเฉพาะยาหัวใจ จึงมีโอกาสได้อ่าน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้รับบริการที่ใช้ยาจริง เลยอยากเล่าประสบการณ์ที่มีเพื่อประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อยนะ
เรื่องแรก ยาไนเตรต เป็นยาที่ใช้ป้องกันภาวะแน่นหน้าอก ยากลุ่มนี้มักพบไดในถุงยาของผู้ป่วยที่มีภาวะแน่นหน้าอก โดยยามีผลในการทำให้หลอดเลือดคลายตัว จึงเกิดการขยายตัวของหลอดเลือด ดังนั้นการส่งเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ครั้งละไม่มากเกินไป หัวใจจะได้รับเลือดในปริมาตรที่พอเหมาะกับความสามารถในการบีบตัวคลายตัว เมื่อหัวใจไม่ต้องทำงานหนักเกินกำลัง ความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจก็มีจะสมดุลกับเลือดแดง (เลือดที่มีออกซิเจนสูง) ที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ดังนั้นอาการแน่นหน้าอกก็จะลดลง นอกจากนี้ยังขยายหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้วยทำให้ปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้นอีกด้วยหล่ะ
แต่มีประโยชน์แล้วก็มีโทษได้เช่นกัน พูดสั้นๆก็อาการข้างเคียงนั่นแหละค่ะ ที่พบได้บ่อยก็เป็นอาการปวดศีรษะต๊บๆ ซึ่งเกิดจากการที่หลอดเลือดขยายตัวที่ศีรษะ (เมื่อยาเข้าร่างกายก็ไปออกฤทธิ์ทั่วร่างกายไม่ได้มีผลต่อหลอดเลือดที่หัวใจอย่างเดียวนี่นา) แต่อาการนี้ไม่อันตรายแต่อย่างใด แถมเป็นในระยะแรกที่เริ่มทานเท่านั้น ในคนที่มีอาการปวดศีรษะแล้วอย่าเพิ่งงดยา หากมีอาการสามารถทานยาแก้ปวดเวลาปวด หากทนต่ออาการปวดสักระยะอาการจะค่อยลดลงจนไม่มีอาการปวดได้ สำหรับบางคนที่ปวดไม่หายก็เปลี่ยนยาได้
ต้องการทราบข้อมูลด้านใดเพิ่มสอบถามใดค่ะ จะหาคำตอบ+ตอบให้ค่ะ
แล้วทำไมทุกครั้งที่พบหมอหัวใจ หมอจะเตือนว่างดบุหรี่จะดีมาก "บุหรี่มีผลต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบอย่างไรครับ" ยาที่ทานหลังจากทำบายพาสแล้ว เราจะต้องทานต่อไปอีกนานมั้ยครับ
จากข้อมูลที่พบ บุหรี่มีสารประกอบอยู่หลายชนิด โดยสารเคมีต่างๆในบุหรี่+ควันบุหรี่นี่เองที่มีผลให้ผนังของหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นแย่ลง หากจะเปรียบเทียบกับสารยางก็เหมือนสายยางที่ถูกแดดเผาบ่อยๆ ก็จะมีความเปราะนั่นเอง เมื่อหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง การผลัดเปลี่ยนเซลล์ใหม่ก็พลอยไม่ดี และยังเสี่ยงต่อการที่เกล็ดเลือด หรือสารต่างๆในร่างกายจะไปเกาะได้ง่าย เนื่องจากผิวภายในหลอดเลือดขรุขระ หากเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ก็จะทำให้อาการเจ็บแน่นหน้าอกกลับมาอีกครั้ง
จากแนวทางการรรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจในปัจจุบัน ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำบายพาสแล้ว มียา 2 กลุ่มที่มีแนวโน้มให้ทานต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ได้แก่ กลุ่มป้องกันหลอดเลือดอุดตัน (เช่น แอสไพริน) และ กลุ่มยาลดไขมันในเลือดที่ชื่อสเตติน (เช่น ซิมวาสเตติน อะทรอวาสเตติน ฯลฯ) ส่วนยาในกลุ่มอื่นขึ้นกับสภาวะของผู้ป่วยเองว่ามีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรืออาการแน่หน้าอกหรือไม่ หากมีก็ต้องให้ยาควบคุมอาการเหล่านี้อันเป็นการควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้วยค่ะ
ขอบคุณมากนะครับสำหรับข้อมูล ผมจะได้มีข้อมูลอ้างอิงกับคุณพ่อ (ผมพยายามให้ท่านเลิกบุหรี่ครับ เพราะเวลาอยู่กับหมอก็บอกว่าจะลดๆ แต่พอกลับบ้านก็สูบเหมือนเดิม ผมห่วงมากครับ)