ระบบเรตติ้ง หรือเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์


การคิดค้นการชี้วัดคุณภาพเนื้อหา โดยมุ่งเน้นแต่เพียงการจัดทำสัญลักษณ์ โดยมิได้มองบริบททางสังคม และสร้างความเข้าใจไปพร้อมกับเครือข่าย นับเป็นจัดบกพร่องที่จะกลายเป็นต้นเหตุของความล้มเหลวของการบังคับใช้ระบบเรตติ้ง เพราะว่า ถึงแม้มีสัญลักษณ์ แต่ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจแต่ไม่ได้รู้สึกว่ามีความสำคัญ และไม่จำเป็นต้องยอมรับบังคับตาม ผลสุดท้ายก็คือ เรตติ้ง ก็จะเป็นเพียงสัญลักษณ์ขยะหน้าจอโทรทัศน์เท่านั้น

                            

                             ระบบเรตติ้ง หรือเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์
            หากพูดถึงระบบเรตติ้ง คงหนีไม่พ้น การให้คำจำกัดความ นอกจากเรตติ้ง จะหมายถึง ระดับความนิยมเชิงปริมาณแล้ว เรตติ้งยังหมายถึง การชี้วัดระดับความรู้ของเนื้อหา และ หมายถึง การแยกแยะประเภทเนื้อหารายการตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้ชมอีกด้วย
            ปลายทางของการทำงานก็คือ การสร้างระบบการชี้วัดคุณภาพเนื้อหารายการ ที่จะต้องให้กรรมการภาคประชาสังคม เป็นกลไกสำคัญในการทำงาน ภาคประชาสังคมที่ว่านี้ก็คือ เครือข่ายเฝ้าระวังสื่อ ที่มีองค์ประกอบมาจากภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก เยาวชนและครอบครัว
            ดังนั้น จุดใหญ่และสำคัญในการทำงานก็คือ การพยายามค้นหาแนวคิดเกี่ยวกับเกณฑ์ในการชี้วัดระดับคุณภาพเนื้อหารายการ และที่สำคัญ เกณฑ์ในการพิจารณาแบ่งแยกระดับความเหมาะสมของสื่อกับช่วงอายุของผู้ชม
            สำหรับเกณฑ์ด้านความรู้นั้น ไม่ค่อยยุ่งยากกับการทำความเข้าใจนัก เริ่มต้น จาก มีอยู่ด้วยกัน ๖ ตัวชี้วัด ซึ่งนำไปสู่ความรู้ในมิติต่างๆ ๖ ชุด ทั้งในแง่ของ ระบบคิดที่จะช่วยให้ผู้ชมได้พัฒนาวิธีการคิด ในแง่ของการพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่าง ในมุมของคุณธรรม-จริยธรรม ในมุมของทักษะในการใช้ชีวิต รวมไปถึง การสร้างความเข้าใจอันดีในความหลากหลายในสังคม และตบท้ายด้วย การเสริมสร้างความรักความเข้าใจให้กับความเป็นครอบครัว
กลับมาพิจารณากับเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อแบ่งแยกระดับความเหมาะสมของสื่อกับช่วงอายุ หรือที่เราเรียกกันแบบติดปากว่า +๑ มีอยู่ ๓ เรื่อง ที่จะต้องพิจารณา ก็คือ เรื่องเพศ ภาษา และพฤติกรรม ซึ่งในแต่ละเรื่องนั้น แบ่งเป็นระดับของความรุนแรงของเนื้อหา ซึ่งใช้ความถี่ และขนาดของความรุนแรงของสื่อเป็นตัวชี้วัด
               และในท้ายที่สุด เกณฑ์ในการชี้วัดทั้งสองชุด จะแปลงมาสู่การปฎิบัติการ โดยใช้สัญลักษณ์หรือโลโก้ที่จะนำไปติดหรือแปะไว้ที่ใดที่หนึ่งในหน้าจอโทรทัศน์ ดูเหมือนว่า เมื่อเราสร้างสัญลักษณ์เสร็จแล้ว ทุกอย่างก็คงจบ มีโลโก้แล้ว มีสัญลักษณ์แล้ว เด็ก เยาวชน พ่อแม่ ทุกคนจะเข้าใจ (โดยปริยาย)ไปเอง สามารถเลือกดู ให้ระดับคุณภาพเนื้อหาได้เลย
          หลายคงก็คงจะเริ่มที่จะเข้าใจว่า เรื่องทั้งหมดนี้เป็นไปได้ยาก ดังนั้น การคิดค้นการชี้วัดคุณภาพเนื้อหา โดยมุ่งเน้นแต่เพียงการจัดทำสัญลักษณ์ โดยมิได้มองบริบททางสังคม และสร้างความเข้าใจไปพร้อมกับเครือข่าย นับเป็นจัดบกพร่องที่จะกลายเป็นต้นเหตุของความล้มเหลวของการบังคับใช้ระบบเรตติ้ง เพราะว่า ถึงแม้มีสัญลักษณ์ แต่ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจแต่ไม่ได้รู้สึกว่ามีความสำคัญ และไม่จำเป็นต้องยอมรับบังคับตาม ผลสุดท้ายก็คือ เรตติ้ง ก็จะเป็นเพียงสัญลักษณ์ขยะหน้าจอโทรทัศน์เท่านั้น
           เพื่อ “ปิด” ช่องโหว่ดังกล่าว การสร้างเกณฑ์ในการชี้วัดคุณภาพ และการแยกแยะประเภทเนื้อหารายการโทรทัศน์ ที่มุ่งเน้นการแสวงหาแนวคิดจากภาคประชาชน (และจะกลายเป็นกรรมการภาคประชาสังคม) และทำให้ภาคประชาสังคมเป็นเจ้าของความรู้ที่จะเป็นผู้วัดระดับคุณภาพเนื้อหารายการโทรทัศน์
           หากเป็นเช่นนั้นแล้ว การบังคับใช้ระบบเรตติ้งโดยภาคประชาสังคม ผ่านสัญลักษณ์หรือโลโก้ ก็จะเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะอย่างน้อย เวลาที่สัญลักษณ์หรือโลโก้ ปรากฏบนหน้าจอโทรทัศน์ เด็ก เยาวชนและครอบครัว ก็จะเข้าใจว่าหมายถึงอะไร 
          มากไปกว่านั้น หากจะต้องคลอดสัญลักษณ์ PG หรือ ผู้ปกครองแนะนำ อย่างน้อย ผู้ปกครองก็จะแนะนำให้กับลูกๆได้อย่างถูกต้องว่า รายการนั้นๆให้ความรู้เรื่องอะไร และจะต้องพึงระวังเรื่องอะไร อะไรที่เป็นสิ่งที่ดีที่ควรปฎิบัติการ และอะไรคือสิ่งทีไม่ดีที่ไม่ควรปฏิบัติการ รวมไปถึง จะแนะนำให้ลูกๆดูรายการอะไรบ้าง
           แล้ว เราจะยังรีบสร้างสัญลักษณ์ก่อนดีมั้ยเนี่ย........

หมายเลขบันทึก: 30518เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2006 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท