ข้อสอบ o-net , A-net


ข้อสอบ

 

2. ในการทดลองการแพร่ของแก๊ส A และแก๊ส B โดยให้ทำปฏิกิริยากันในหลอดแก้ว ดังรูป
10627
ปล่อยแก๊สทั้งสองเข้าไปในหลอดแก้วพร้อมๆ กัน ปรากฏว่าได้สาร C ดังสมการ
A(g) + B(g) \rightarrow C(s)
เมื่อวัดตำแหน่งของสาร C พบว่าเกิดอยู่ใกล้ทางเข้าแก๊ส B มากกว่า แก๊ส A ข้อใดผิด

 1. แก๊ส A แพร่ได้เร็วกว่าแก๊ส B
 2. แก๊ส B มีมวลโมเลกุลสูงกว่าแก๊ส A
 3. แก๊ส A และแก๊ส B มีพลังงานจลน์เฉลี่ยเท่ากัน
 4. โมเลกุลของแก๊ส A เคลื่อนที่เข้าหาโมเลกุลของแก๊ส B โดยไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง

เฉลย ตอบข้อ 4

อธิบาย  เนื่องจากเกิดสาร C  ใกล้จุดเริ่มต้นของแก๊ส B มากกว่าแก๊ส A แสดงว่าแก๊ส A เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแก๊ส B ดังนั้นแก๊ส B จึงมีมวลโมเลกุล

มากกว่าแก๊ส A (ข้อ 1 และข้อ 2 จึงถูกต้อง)

ข้อ 3 ถูก เพราะ ที่อุณหภูมิเดียวกันแก๊สทั้งสองจึงมีพลังงานจลน์เฉลี่ยเท่ากัน

ข้อ 4 ผิด เพราะ การเคลื่อนที่ของแก๊สเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทุกทางโมเลกุลของแก๊ส A และแก๊ส B ส่วนหนึ่งเคลื่อนที่ไปชนโมเลกุลอื่น

แล้วสะท้อนกลับหรือเคลื่อนที่กลับทางเดิม (http://www.vcharkarn.com/exam/index.php/view/answer/167/4275)

หมายเลขบันทึก: 305171เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ...ครูSasipa ที่นำข้อสอบเคมีเข้ามาโพสต์...

ข้อสอบแนวนี้ก็มักจะพบเจอเพราะสอดคล้องกับปฏิบัติการเคมีของนร.ม.ปลายที่ศึกษาการแพร่ของแอมโมเนีย กับกรดไฮโดรคลอริก แล้วทำปฏิฏิกิริยากันเป็นสารใหม่คือแอมโมเนียมคลอไรด์...ซึ่งจะปรากฏเป็นวงสีขาว.....ภาพนั่นจะชัดเจนจนทำให้นร.เข้าใจได้ว่า มวลโมเลกุลมากเคลื่อนที่ช้า...มวลโมเลกุลน้อยเคลื่อนที่...ครูนกมักจะคิดถึงการแข่งขันวิ่ง...เราต้องเชียร์คนรูปร่างปราดเปรียวค่ะ....เร็วแน่นอน

เกือบลืมเลย ต้องทบทวนนิดหนึ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท