เทคนิควิจัยเชิงคุณภาพ IQA


เทคนิคใหม่ปีค.ศ.2004

การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์เชิงคุณภาพ : วิธีการที่เป็นระบบสำหรับ

การวิจัยเชิงคุณภาพ 

(Interactive Qualitative Analysis : A system Method For

Qualitative Research)     

ปัญญฎา  ประดิษฐบาทุกา

 

ความนำ

     บันทึกครั้งนี้ผู้เขียนมีความต้องการนำเสนอเทคนิควิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวใหม่  ซึ่งผู้เขียนได้ตีพิมพ์ลงในเอกสารปะกอบการบรรยายสัมมนาหลากหลายวิธีวิทยาเชิงคุณภาพ ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีพ.ศ.2551  ซึ่งมีนักวิชาการสนใจเข้าร่วมมากมาย  อาทิเช่น  อาจารย์มหาวิทยาลัย  แพทย์  พยาบาล  เภสัช  นิสิตระดับปริญญาตรี โท และเอก  และในปัจจุบันกำลังศึกษาแนวทางนี้เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการทำดุษฎีนิพนธ์   

IQA  คืออะไร

      การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์เชิงคุณภาพ (Interactive Qualitative Analysis : IQA)  เป็นวิธีการ  หรือเป็นเทคนิคทางการวิจัยที่ใช้ตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพ เทคนิคนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดย Norvell Nortchcutt. และ Danny McCoy. แห่งมหาวิทยาลัยของเท็กซัส (Texas)  ที่ออสติน (Austin)

      IQA  ให้ความสนใจกับระบบการตีความของมนุษย์ในการให้ความหมายที่เกี่ยวเนื่องกัน  เป็นเทคนิควิธีการที่สนับสนุนระบบของกระบวนการกลุ่ม  และการแสดงออกอย่างเป็นระบบของ  การบรรยายที่ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่ม  เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการศึกษาของ IQA คือ การอนุญาตให้กลุ่มได้สร้าง ระบบการตีความ (Interpretive quilt)  ซึ่งระบบการตีความนี้ได้มาจากการร่วมกันตีความอย่างเป็นระบบของสมาชิกในการสนทนากลุ่ม  และได้มาจากการสัมภาษณ์สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม  โดยเป็นการนำเสนอประสบการณ์ของคนในกลุ่มเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ศึกษา

หมายเหตุ  เนื้อหาในบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ

การบรรยายสัมมนา และวารสารที่ได้ลงตีพิมพ์  และขอกราบขอบคุณ

อาจารย์ดร.นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล  ที่ให้ความเมตตาในการเป็นที่ปรึกษาคอยให้ความรู้และกำลังใจมาโดยตลอด จนทำให้ลูกศิษย์คนนี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง                     

หมายเลขบันทึก: 304877เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2009 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาเรียนรู้ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์ หากมี Full Paper รบกวน Upload หรือ ส่งเมล์ ให้เรียนรู้ด้วยครับ

เรียนท่านอาจารย์JJ

เอกสารฉบับเต็มนั้นเป็น Text คะ และที่เป็น paper ที่ตนเองแปลนั้น ยังคงต้องเก็บไว้ก่อน เพราะใช้ทำดุษฎีนิพนธ์ อีกอย่างฝีมือในการแปลเกรงว่ายังไม่ดีพอคะ ขอบคุณมากนะคะที่อาจารย์สนใจ

และอีกอย่างที่จะกราบเรียนเรื่อง TQF: HE หนูกำลังศึกษาอยู่ อยากจะขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์บางเรื่องนะคะ

ขอบคุณครับ ได้รับความรู้เพิ่มเติมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท