หล่อเลี้ยงหัวใจ ฝากไว้ให้โลกแล "เคล็ดไม่ลับในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้"


แม้ว่าแต่ละโรงเรียนจะมีบริบทที่แตกต่างกันออกไปบ้าง มีวิธีการที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือความรู้สึกร่วมของการเป็นครอบครัวเดียวกัน เมื่อเรารู้สึกว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน เชื่อมตัวเองกับธรรมชาติที่อยู่แวดล้อมก็จะมีแต่ความถ้อยทีถ้อยอาศัย เกื้อกูลกัน ซึ่งมาจากพื้นฐานของความเมตตาและความเสียสละที่บ่มเพาะจิตใจ นำไปสู่การแสวงหาความรู้ใด ๆ ด้วยวิถีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

"หล่อเลี้ยงหัวใจ ฝากไว้ให้โลกแล" เป็นบันทึกถอดความรูู้และความรู้สึกจากประสบการณ์ในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มครูผู้ปฏิบัติโดยมองผ่านเลนส์กระบวนกร เนื้อหาจะแบ่งเป็น 4 ตอนค่ะ  

 

(บันทึกนี้จะนำเสนอเพียงบางตอนเกี่ยวกับกระบวนการแลกเปลี่ยน

ส่วนเนื้อหาที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้จะอยู่ในบันทึกต่อไปค่ะ)

                              หน้าต่างความทรงจำ

       Ø   คำนำ ทำให้ ใจเราตรงกัน

       Ø   เล่าเรื่องการนำ “กระบวนการ” แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ในกลุ่ม 

             คุณครูผู้ปฏิบัติ

      Ø    ดัชนี้ชี้วัดความสำเร็จและความสุข

      Ø    เบื้องหลังการทำงาน ประสบการณ์ประมาณค่ามิได้

                     

            

                                               

                                  คำนำ ทำให้ ใจเราตรงกัน

เมื่อพูดถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เรารู้สึกสัมผัสถึงอะไร และรู้สึกอย่างไรกับคำนี้   ทุกวันนี้ที่เรามีชีวิตอยู่ เราอยู่แบบไม่ใช่มนุษย์ที่สมบูรณ์หรือ?   เราขาดอะไรไปหรือเปล่า? 

 

ศิลาเชื่อว่าสิ่งที่เราขาด  ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มี แต่เป็นเพราะเราไม่ได้ใส่ใจในสิ่งที่เราเคยมี ซึ่งเป็นภาวะดั้งเดิมแท้ของเราเมื่อครั้งเรายังไร้เดียงสา

 

ยิ่งเราเติบโต และบ่มเพาะตัวเองในด้านสติปัญญาทางโลกมากเท่าไหร่  เราก็ยิ่งใส่อะไรมากมายไปในสมองของเรา จนมีสิ่งที่เรียกว่า “ปรุงแต่ง” มากมาย   จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะรู้สึกตัวและค้นหาตัวตนที่เป็นแก่นแท้ของเราให้พบ

 

การได้มาร่วมงานในโครงการ Humanized Educare “กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”  ในระบบการศึกษาไทย  ทำให้ความสงสัยในคำว่า “มนุษย์ที่สมบูรณ์”  ค่อย ๆ จางหายไปทีละนิด จนเกิดความชัดเจน เห็นภาพใหญ่ในเวทีที่สอง 

 

ภาพใหญ่ที่กล่าวถึงนี้ คือกระบวนการพัฒนาบ่มเพาะตัวตนของแต่ละท่านทั้งด้าน “ร่างกาย  จิตใจ และสติปัญญา” ให้งอกงามทั้งความรู้ จริยธรรม และคุณธรรม  ทำให้ทุกท่านขับเคลื่อนงานการศึกษาในหน้าที่ไปได้อย่างดียิ่ง โดย  ให้ความรู้    (เก่ง)

                                   ให้ความรัก (สุข) 

                                   ให้ธรรม      (ดี)           และ

                                   ให้โอกาส ( ชีวิตใหม่) 

แก่เด็กไทย  บทสรุปที่ศิลาได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใกลุ่มครูผู้ปฏิบัติคือ ทุกท่าน เห็นร่วมกันว่า

 

                 “ความสุขของคุณครู คือเห็นนักเรียนมีความสุข” 

 

เป็นความสุขที่ไม่ได้มองตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่เป็นความสุขที่เชื่อมต่อเอาความรู้สึกสุขของ “ลูกศิษย์”  มาเป็นความรู้สึกสุขของตนเอง  

 

 

เพียงแค่คำอธิบายเท่านี้ คงไม่ทำให้เห็นภาพการให้ที่ยิ่งใหญ่ของคุณครูเพื่อศิษย์ได้อย่างแน่นอน ศิลาจึงขอนำเสนอการถอดความรู้ผ่านเลนส์กระบวนกรในกลุ่มคุณครูผู้ปฏิบัติ เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการนำไปประกอบเป็นภาพใหญ่ทั้งหมดของ “คุณครูเพื่อศิษย์” ในโครงการ Humanized Educare

 

ในความหมายต่อไปนี้ เพียงอยากแสดงความเห็นว่าแต่ละท่านที่มาอยู่ ณ ตรงนี้  ผ่านการพัฒนาจิตตนมาแล้วทั้งสิ้น สิ่งที่จะนำเสนอจึงเป็น “การมองเห็นและรวบรวมความดี”  ของท่านมาสะท้อนเป็นแบบอย่างแก่คนไทยให้รู้หน้าที่ และทำเพื่อหน้าที่ ณ ปัจจุบันให้จงดี

     

            

                                         

         เล่าเรื่องการนำ “กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้”

                                ในกลุ่มคุณครูผู้ปฏิบัติ

ศิลาได้มีโอกาสอันยิ่งใหญ่นำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เปิดประเด็นคำถามที่ขุดค้นดึง “จิตวิญญาณแห่งความเป็นครู” ออกมาจนน้ำตาหลั่งไหลกันถ้วนหน้า

 

ทุกท่านในกลุ่มคุณครูผู้ปฏิบัติจริงได้ Learn & Share และอธิบายถึงการครองตน ครองคนและครองงาน ตามหลักธรรมได้อย่างงดงาม น่าประทับใจ

       

สิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกรอบของการบริหารจัดการในกลุ่มคุณครูผู้ปฏิบัติ ได้สะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ชีวิตที่มีค่าแลกมาด้วยความพากเพียรเรียนรู้ควบคู่กับหลักธรรม

 

ภายใต้บริบท “คุณครูเพื่อศิษย์” ที่ศิลาจะนำเสนอนี้ ขอเรียกผู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มคุณครูผู้ปฏิบัติว่า “คุณครู” แทนคำว่าอาจารย์ เพื่อให้เกิดความรู้สึกของการเป็นผู้ให้ในหลาย ๆ สถานะ  จากการประมวลคำพูดที่เป็นบทสรุปของความเป็นคุณครูของทุกท่าน ต่างเห็นว่าคุณครูมีหลายหัวโขน

 

ในฐานะของคุณครู  คุณครูสอนทุกอย่างไม่เพียงแต่วิชาความรู้ที่ตนจบมาเท่านั้น …วิชาใดที่โรงเรียนขาดแคลน… วิชาใดที่นักเรียนอยากเรียนรู้  …วิชาใดที่เรียนไปแล้วจะได้ใช้เป็นประโยชน์สอดคล้องกับบริบทในชุมชนหรือสังคม  คุณครูก็จะ “ฝึกฝนตนเอง” อย่างหนัก เพียรพยายามในฐานะของนักเรียนคนหนึ่ง เพื่อจะเอาความรู้และแนวปฏิบัติใส่ตนแล้วนำไปถ่ายทอดสอนนักเรียนที่เปรียบเสมือนลูก ๆ โดยหวังว่าวิชาความรู้ที่ได้จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือหาเลี้ยงชีพ   แน่นอนว่าหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่นี้ ทำให้คุณครูเป็นเสมือนพ่อแม่ผู้ให้ความรัก 

 

นอกเหนือจากนี้แล้ว  ศิลายังพบว่า

 

-      คุณครูเป็นตำรวจ ค้นหานักเรียนผู้กระทำผิดเพื่อนำมาซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เขาเป็นคนดีในสังคม

-      คุณครูเป็นพระ  แม่ชี   สอนคุณธรรม จริยธรรม ให้เป็นคนดี

-      คุณครูเป็นผู้พิพากษาที่ตัดสินปัญหาข้อขัดแย้ง  

-      คุณครูเป็นหมอและพยาบาลที่ช่วยเหลือเยียวยาเมื่อเด็กเจ็บป่วยทางร่างกายหรือแม้กระทั่งทางจิตใจ

-      คุณครูเป็นโจ๊กเกอร์เพื่อแหย่ให้นักเรียนสนุกสนาน อยากเรียนรู้ 

-      คุณครูต้องเป็น Idol สร้างศรัทธาให้นักเรียนทำตามแบบอย่าง

-      คุณครูเป็นแม่บ้านพ่อบ้านทำทุกอย่างเพื่อจัดการงานภายในโรงเรียนเสมือนบ้านของตนเอง

 

ต่อให้คุณครูเหนื่อยแสนเหนื่อยแค่ไหนกับการเปลี่ยนหัวโขนหลายหัวในวันหนึ่ง ๆ ก็ไม่รู้สึกหวั่นไหว เพียงเพราะกำลังใจจากคำเดียวสั้น ๆ

                                       “ทำเพื่อเด็ก” 

               

การที่เรามีสติรู้ตัวกำหนดเป้าหมาย อุทิศกาย อุทิศใจให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างแน่วแน่ ทำให้เราทำได้ทุกอย่างเพื่อสิ่งนั้น

 

๒.๑ การเปิดประเด็น เห็นแล้วว่าสำคัญสุด ๆ

 

                                          ชื่นชมความดี  

                                

ศิลาเปิดประเด็นด้วยการให้ทุกท่านเล่าถึงความประทับใจในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ผ่านมา   ย้อนเวลากลับไปดึงความทรงจำร่วมเก่า ๆ เมื่อเดือนที่แล้วเพื่อให้ทุกท่านน้อมใจ ระลึกถึงสิ่งดี ๆ ของกันและกัน  สิ่งที่เห็นคือ “ความรู้สึกชื่นชมในความดีของผู้อื่น”  ตามหลักมุทิตาจิต  ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของการเปิดวงที่ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมาแล้ว 

 

หลายท่านแลกเปลี่ยนและเห็นร่วมกันว่า  “ทุกคนดีเหลือเกิน” คำนี้เป็นคำพูดของคุณครูนเรศ เหมนาไลย       แห่งโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย   โดยที่หลายท่านต่างพยักหน้ารับเห็นดีเห็นงามกันไปด้วย 

 

ความดีที่เป็นบทสรุปของคำพูดทั้งหลายนี้มาจากการชื่นชมในกระบวนการ “สร้างคน” ของกันและกัน โดยเห็นมิติของการเป็นคุณครูที่เปรียบเสมือนพ่อแม่ และเป็นผู้นำการขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน และชุมชน 

 

แม้ว่าแต่ละโรงเรียนจะมีบริบทที่แตกต่างกันออกไปบ้าง  มีวิธีการที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการไม่เหมือนกันเสียทีเดียว  แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือความรู้สึกร่วมของการเป็นครอบครัวเดียวกัน  เมื่อเรารู้สึกว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน เชื่อมตัวเองกับธรรมชาติที่อยู่แวดล้อมก็จะมีแต่ความถ้อยทีถ้อยอาศัย เกื้อกูลกัน ซึ่งมาจากพื้นฐานของความเมตตาและความเสียสละที่บ่มเพาะจิตใจ  นำไปสู่การแสวงหาความรู้ใด ๆ ด้วยวิถีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  

 

คำพูดที่ทุกท่านแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ “การนำกระบวนการหรือวิธีคิดของเพื่อนครูไปทดลองปฏิบัติ” และศิลาก็แถมท้ายว่าการปฏิบัติใด ๆ จะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ก็คือการทำให้ต่อเนื่อง  (Continuity)  โดยศิลาเชื่อว่าการทำไป ปรับเปลี่ยนไปให้เข้ากับบริบทตนเองเป็นการต่อยอดการปฏิบัติที่น่าสนใจมาก สำคัญคือมุ่งมั่นทำอย่างต่อเนื่อง

  

.๒ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยและความรู้สึกไว้วางใจ

นำไปสู่การเปิดเผยความรู้สึกนึกคิดที่อยู่เบื้องลึก

 

                                   สายธารชีวิตครู 

                    

หลังจากชื่นชมกันอย่างน่าประทับใจแล้ว  ศิลาได้ให้ทุกท่าน “อยู่กับตัวเอง” สักครู่  เพื่อย้อนรำลึกไปถึงการเรียนรู้ชีวิตที่ผ่านมา บทเรียนที่ได้รับกว่าจะมาเป็นคุณครูที่มีทั้งความรู้และคุณธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดีเช่นนี้…

 

จากเรื่องราวความประทับใจร่วม สู่การเล่าเรื่องเจาะลึกเรื่องส่วนตัว “กว่าจะมาเป็นคุณครู”   

 

อันเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ “สร้างพื้นที่ปลอดภัยและไว้วางใจ” ซึ่งกันและกัน  ศิลาขอฝากความเห็นเล็ก ๆ จากการลงมือปฏิบัติจริงในครั้งนี้ว่า “การเริ่มต้นด้วยการชื่นชมโดยฟังความรู้สึกดี ๆ ของกันและกัน และเขยิบพื้นที่ไปสู่การถ่ายทอดประสบการณ์ในอดีต ซึ่งเป็นความเชื่อ ความรู้สึกของผู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะทำให้แต่ละท่านรู้สึก “กล้า” ที่จะเล่าเรื่องภายใน และ “เคารพ” หรือถึงขั้น “ศรัทธา” ในกันและกัน  จากนั้น ไม่ว่าเราจะนำไปสู่ประเด็นที่เป็นความเห็นซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไป แต่ก็ไม่รู้สึกว่าเป็นความขัดแย้ง กลับกลายเป็นการมองความเห็นที่แตกต่างเป็นการเพิ่มทางเลือกในการตัดสินใจนำวิธีคิดที่ได้ไปปรับใช้ในบริบทของตน 

 

 

                                        หล่อเลี้ยง

ความสำเร็จและความสุขที่ได้จากการนำกระบวนการในแบบข้างต้นนี้ สะท้อนออกจากคำพูดของคุณครูนเรศ ที่กล่าวว่า

  

    

“ทางทีมงาน (ดอกเตอร์ยุวนุช และคุณศิลา)  สร้างบรรยากาศด้วยรอยยิ้มและความเข้าอกเข้าใจ จนทำให้พวกเรากล้าเล่าเรื่องที่ลึก ๆ หรือค่อนข้างส่วนตัวออกมา   ทั้งที่ทีมงานทั้งสองนี้เป็นบุคคลที่อยู่นอกวงการการศึกษาแต่ยังเห็นใจพวกเรามากกว่าคนในวงการเดียวกันเสียอีก  ผมแอบเห็นว่าทั้งคุณศิลา และดอกเตอร์ยุวนุชมีน้ำตาไหลซึมออกมาขณะที่ฟังพวกเราเล่าเรื่อง”

                  

                             

สิ่งที่ศิลาพบในตัวคุณครูนเรศคือ “เมตตาธรรม” ต่อเด็กสูงมาก ท่านกล่าวว่าสอบเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนได้ แต่ขอไม่เป็น สาเหตุที่ท่านสละสิทธิ์  เพราะหากเป็นแล้ว จะไม่ได้สอนเด็ก การสอนเด็กคือ “การสร้างคนให้เก่ง ดี และมีความสุข  เป็นงานหลักของผู้เป็นครู”        

 

นับว่าเป็นคำกล่าวที่ทีมงานอย่างเรา ไม่คาดคิดว่าจะได้ยิน ทำให้ฉุกคิดถึงคำว่า “หล่อเลี้ยง” ที่คุณเอกกล่าวถึงคุณสมบัติของพี่นุช (คุณนายดอกเตอร์) แท้จริงแล้วคือการสร้างบรรยากาศที่หล่อหลอมหัวใจเป็นหนึ่งเดียวกันนั่นเอง

                               

       

การหล่อเลี้ยงของทีมงาน หรือ FA จะนำพาให้ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดื่มด่ำไปกับการฟังอย่างลึกซึ้ง   ดิ่งลงไปในโลกภายในของตนเอง เชื่อมโยงตัวตน    ค้นหาที่มาของความเชื่อ ความรู้สึกแล้วดึงภายในเข้าสู่โลกภายนอกอย่างเป็นองค์รวม                                      

 

                    

สิ่งที่เรามี เราเป็น   เป็นธรรมชาติอย่างมาก   ไม่เร่งรัดดึงความรู้สู่การปฏิบัติมากกว่าการดึงอารมณ์ร่วมออกมา ซึ่งจะทำให้เกิดการเล่าเรื่องที่ทรงพลังได้อย่างมาก… ส่งผลให้ “ทุกคน” หลั่งน้ำตาด้วยความรู้สึกเดียวกันที่ผ่านบทเรียนจากการทำงานหนักหน่วงเกินกว่าคนธรรมดาที่ประกอบอาชีพทั่วไปจะพึงกระทำ

 

เพราะพวกท่านไม่ได้ทำเพื่อทำมาหาเลี้ยงชีพเหมือนคนปกติที่เขาทำกัน  แต่ท่านทำเพื่อความฝันอันยิ่งใหญ่ที่จะให้เด็กไทยมีอนาคต  หลายท่านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ตอนที่เด็กเข้ามากอดในวันแม่ เพราะเด็กไม่มีพ่อแม่ และเห็นว่าคุณครูคือแม่ของเขานั้น  ฉันกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่”  ต้องบอกว่าหลายท่านรู้สึกเช่นนี้ เหมือนกันกับที่คุณครูพิศมัย  เทวาพิทักษ์   แห่งโรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็กและคุณครูฮุสนา  เงินเจริญ แห่งโรงเรียนซำฆ้อพิทยาคมกล่าวออกมา

 

คุณครูฮุสนาเล่าให้ฟังด้วยน้ำตาแห่งความปลาบปลื้มใจว่ามีนักเรียนที่จบไปแล้วเดินเข้ามาหา แนะนำตัวเอง และขอกอดพร้อมบอกว่า “ถ้าผมไม่ได้คุณครูสั่งสอน  ผมคงไม่มีวันนี้”

 

อาจจะดูเหมือนเป็นคำพูดธรรมดา แต่สำหรับคนที่ผ่านประสบการณ์ร่วมกันมาอย่างยาวนานคงอธิบายค่าแห่งความรู้สึกปิติมิได้เลย  คุณครูฮุสนาเน้นย้ำว่า  สิ่งที่เราสอนและทำให้เขาดู  เราอาจจะเคยชินจนไม่รู้หรอกว่ากลายเป็นแบบอย่างที่เขาจะนำไปหล่อหลอมตัวเขาเอง  ที่สำคัญอย่าตัดสินเพียงแค่ภายนอกของนักเรียน  การเยี่ยมบ้านนักเรียนจุดประกายให้คุณครูฮุสนามีความละเอียดรอบคอบในการทำความเข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล  เข้าลักษณะการสอนแบบ Taylormade

 

ยังมีต่อค่ะ เป็นเรื่องแรงบันดาลใจของการเป็นคุณครูเพื่อศิษย์ค่ะ....

 

                           หล่อเลี้ยง

                             

      

หมายเลขบันทึก: 304792เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2009 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีคะตามมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ

อ่านบันทึกของคุณศิลาเมื่อไร หัวใจแช่มชื่น เหมือนรู้ว่าที่นี่มีคลังความรู้ให้เข้ามาเวลาขาดแคลนแรงบันดาลใจค่ะ ขอบคุณค่ะ

เรียน ท่านศิลา มาเรียน ภาคแรก ครับ

เมื่อคนดีมารวมกัน ผมมองเห็นแสงสว่างของระบบการศึกษาไทยที่ดีขึ้น

ถึงไกลก็เหมือนใกล้ ;)

แวะมาแอบดูน้ำตาของคนดีดั่งเช่นอาจารย์นพลักษณ์ ๙ คร้าบพี่น้องชาวไทย ;)

อ่านแล้วหล่อเลี้ยงหัวใจคนเป็นครูได้อย่างดีเลยค่ะ

เป็นกำลังใจให้กับทุกๆท่านที่ทำงานเพื่อเด็กและการศึกษาไทยค่ะ

อ่านแล้วหล่อเลี้ยงหัวใจคนเป็นครูได้อย่างดีเลยค่ะ

เป็นกำลังใจให้กับทุกๆท่านที่ทำงานเพื่อเด็กและการศึกษาไทยค่ะ

  • แวะไปอ่านบันทึกของคุณครู mena มา ...ดีใจไปกับคุณครู  mena ด้วยนะคะ ที่มีลูกศิษย์เขียนเรียงความถึงคุณครูด้วยความประทับใจ อ่านแล้วปลื้มไปด้วยค่ะ
  • มาเรียนรู้..และ
  • มาเป็นกำลังใจ..เพื่อการศึกษาชาติ
  • ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ

มาร่วมเป็นกำลังใจค่ะ

คนที่เป็นครูคือคนที่มีความตั้งใจและความรักที่จะสอนเด็กอย่างแท้จริงค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกของ อ.ศิลาที่บอกกล่าวรายละเอียดทั้ง content ทั้ง อารมณ์ใน กลุ่มครูผู้ปฏิบัติการ นะครับ เอกสารเล่มนี้เสร็จเเล้ว รอทำรูปเล่ม พรุ่งนี้ถึงมือคุณครูทุกคน

สำหรับการ Download เอกสาร ผมจะนำขึ้น web เร็วๆนี้ครับ

 

 

 

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • มาร่วมเป็นกำลังใจค่ะ
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ เนื้อหา + สาระล้วน ๆ
  • คลังความรู้ดี ๆ ควรค่าแก่การจดจำ

สวัสดีครับ

      ขอเข้ามาเรียนรู้ด้วยครับ   ถ้ามีโอกาส  ก็คงจะขออนุญาตเลียนแบบนำรูปแบบและหลักการนำไปประยุกต์ใช้บ้างนะครับ  ประมาณเปิดเทอมเดือน พฤศจิกายน คงมีโอกาสนำไปใช้

                  ขอบคุณครับ

แวะมาส่งกำลังใจให้ค่ะ

ทำงานให้สนุก...อย่าเครียดนะคะ...

เป็นห่วงค่ะ

?? << ทายใจ @ จากไอศกรีม>>??

อ่านเรื่องราวของครูแล้ว ชื่นชมในตัวครูทุกท่าน

ถ้าไม่ครูก็ไม่มีเราจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท