ความแตกต่างระหว่างการเป็นข้าราชการแบบเก่ากับข้าราชการแบบใหม่


ความแตกต่างระหว่างการเป็นข้าราชการแบบเก่ากับข้าราชการแบบใหม่

                ผู้เขียน จำได้ว่า เมื่อตอนที่ผู้เขียนยังเป็นเด็ก ลุงของผู้เขียนเคยบอกว่า เป็นลูกผู้หญิงให้เรียนสูง ๆ (หมายความว่า  เรียนให้ได้วุฒิ ป.ตรี/โท/เอก) จะได้ไม่ลำบากและก็ไม่ต้องไปพึ่งพาผู้ชาย (สามี) ถ้าเรียนสูงแล้วสอบเข้ารับราชการ แล้วจะได้เป็นเจ้าคนนายคน คำว่าเป็นเจ้าคนนายคนฝังหัวผู้เขียนว่า จะได้ทำงานดี ๆ ทำงานใน Office ไม่ต้องไปลำบากอยู่กลางทุ่งนา ซึ่งพ่อ - แม่ ของผู้เขียนมีอาชีพเป็นชาวนา (มีที่นาประมาณ 100 กว่าไร่) ท่านไม่เคยให้ลูก ๆ ไปทำนา เรียกว่าจนบัดนี้ ผู้เขียนยังดำนา หรือสานภารกิจของบรรพบุรุษไม่ได้เลย (นับว่าเป็นความคิดที่ผิด ถ้าผู้เขียนได้ทดลองทำนาอาจจะได้ประสบการณ์อีกด้านหนึ่งก็ได้ ซึ่งผู้เขียนได้แต่ให้คนอื่นเช่าที่นา โดยไม่ได้ลองทำเองสักที แต่ไม่แน่อีก 13 ปี เกษียณอายุ อาจจะคิดลองไปทำดูไม่รู้ว่าจะไหวหรือเปล่า) ท่านไม่ต้องการให้ลูกสาวไปลำบากเหมือนกับท่าน (ท่านบอกว่าให้ พ่อ - แม่ ลำบากเพียงผู้เดียว) ท่านพยายามส่งผู้เขียนและน้องสาวเรียนจนจบ และมีงานทำจนถึงปัจจุบันสมดังเจตนารมณ์ของท่าน

                สำหรับน้องของผู้เขียนก็ได้งานทำที่บริษัทมีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ส่วนผู้เขียนได้สอบเข้ารับราชการตามที่ลุง, พ่อ - แม่ ของผู้เขียนตั้งใจ ความตั้งใจของท่าน ท่านเข้าใจว่ารับราชการแล้วจะได้เป็นเจ้าคน - นายคน ซึ่งสมัยก่อนเวลาพ่อ - แม่ ไปทำธุระที่อำเภอหรือติดต่อราชการที่ส่วนราชการในอำเภอแทบจะต้องกราบกรานเข้าไปหา ยกมือไหว้ปะหลก ๆ ท่านคงฝังใจว่าผู้ที่ท่านไหว้นั้น เป็นเจ้าเป็นนาย เมื่อผู้เขียนได้รับราชการ บิดาของผู้เขียนยิ้มแก้มแทบปริ ท่านคงดีใจ สมใจ "ที่ลูกของข้าก็ได้เป็นเจ้าคน - นายคน กับเขาบ้างเหมือนกัน"

                แต่อนิจจา...การรับราชการสมัยใหม่มิใช่เป็นเหมือนเช่นแต่ก่อน รัฐได้ปรับเปลี่ยนการปฏิรูประบบราชการ ล้างคำว่า "เจ้าคน - นายคน" โดยใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีสมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน  การบริการที่ดี ความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ จริยธรรมและการทำงานเป็นทีม สำหรับสมรรถนะประจำกลุ่มงานมีอีกหลากหลายสมรรถนะ ซึ่งแต่ละสมรรถนะก็เป็นไปตามตำแหน่งของแต่ละบุคคล จึงทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างการทำงานในสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบันมากขึ้น ในสมัยก่อนการวัดผลงานยังไม่ชัดเจน (ความจริงแล้วผู้เขียนคิดว่าผู้ที่รับราชการในสมัยก่อนเขาก็ทำงาน เพียงแต่วัดผลงานยังไม่เป็นรูปธรรมเท่านั้นเอง  ผู้เขียนขอ comment ว่าเป็นบางคนน่ะบางคนก็เป็นแบบที่เขาว่า ทำงานแบบเช้าชามเย็นชามเลยพลอยทำให้ภาพของข้าราชการคนที่ดี ๆ เขาติดลบไปด้วย) แต่สมัยใหม่ผลงานและหลักฐาน ฯ จะชัดกว่าสมัยก่อน แต่ทั้งนี้ ผลงานก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่จะมีความยุติธรรมมากน้อยแค่ไหนต้องด้วยจิตสำนึกและการยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ที่ผู้บริหารต้องยึดถือปฏิบัติแล้วล่ะ...

                ทำให้เห็นว่าการรับราชการสมัยก่อนกับสมัยใหม่แตกต่างกันมาก โดยที่รัฐมุ่งเน้นว่าระบบราชการไทยในอนาคตต้องสู่สากล...ข้อนี้สิ...ดูมันยิ่งใหญ่มาก ผู้เขียนขอฝากไว้กับเยาวชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐรุ่นใหม่ก็แล้วกันว่า...ฝันให้ไกล  ไปให้ถึง...ก็แล้วกัน เรียนรู้เสริมทักษะ ด้านภาษา คอมพิวเตอร์ ให้มาก ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาต่อตนเอง และประเทศชาติค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 304760เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2009 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตอนนี้หน่วยงานผมมี PMQA ด้วยนะครับ

ขอบคุณค่ะ คุณ small man...

ใช่ค่ะ เพราะเป็นการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ไงค่ะ

ดิฉันว่าดีนะค่ะ วัดผลงานกันจะ จะ... แต่อยู่ที่ผู้บริหารด้วยนะค่ะ

ต้องเร่งฝีมือเต็มที่เลยค่ะ ถ้าผู้บริหารไม่เล่นด้วย องค์กรไปได้ยากค่ะ

หมวดแรก ผู้นำ ไงค่ะ

เรียนท่าน ผอ.บุษ

ใช่แล้วครับท่าน ผอ.บุษ ข้าราชการยุคใหม่ต้องทันสมัย หูตากว้างไกล การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและการReportถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น และการบริการที่ดีถือว่าเป็นเสน่ห์ของการทำงาน ความเชี่ยวชาญในงานอาชีพเป็นสิ่งจำเป็นมีหน้าที่อะไรต้องเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ รวมทั้งความมีจริยธรรมและคุณธรรมถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งประเทศเราที่มีความวุ่นวายอยู่ในขณะนี้เพราะคนขาดคุณธรรม เห็นแก่ตัวและพวกพ้อง ตลอดจนการทำงานเป็นทีมก็มีความจำเป็นงานถ้าประสบผลสำเร็จแต่ทำคนเดียวแล้วมันจะสู้ "'งานนี้สำเร็จได้เพราะพวกเราโว้ย" ใช่ไหมครับ ขอขอบคุณท่าน ผอ.มากครับที่ขยันเขียนผลงานวิชาการมาให้อ่านป็นประจำ.............

จาก nayniranam

สวัสดีค่ะ...คุณ nayniranam...

ขอบคุณค่ะ...เป็นสมรรถนะหลักในการทำงานของข้าราชการไทยไงค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท