โคโระ
นางสาว แววธิดา ดาว เกตุดาว

แบบทดสอบกลางปี(ต่อ)


รวบรวมจากNT

45.         ข้อใด ไม่ใช่ ข้อดีของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

               ก.  ต้นใหม่ที่เกิดขึ้นมีคุณสมบัติเหมือนต้นเดิมทุกประการ

               ข.  มีระบบรากแก้วที่แข็งแรง และมีอายุยืน

               ค.  สามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมากในครั้งเดียว

               ง.   สามารถผลิตลูกผสมซึ่งรวมลักษณะที่ดีของพืช 2 ต้นไว้ด้วยกันได้

   46.      ข้อใดกล่าวถึง “กระบวนการปฏิสนธิ” ในพืชได้อย่างถูกต้องที่สุด

               ก.  การที่ละอองเรณูจากเพศผู้ตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย

               ข.  การที่ละอองเรณูงอกหลอดยาวลงมาตามก้านเกสรเพศเมีย

               ค.  การผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย

               ง.   การที่รังไข่เจริญไปเป็นผลที่สมบูรณ์

     47.            ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

               ก.  สามารถให้กำเนิดต้นใหม่ได้คราวละมากๆ

               ข.  ต้นใหม่ที่เกิดขึ้นมีความต้านทานโรคดีกว่า

               ค.  มีลักษณะเหมือนต้นเดิม

               ง.   ต้นใหม่ที่ได้จะให้ผลผลิตมากขึ้นกว่าต้นเดิม

   48.      หากนักเรียนต้องการลักษณะที่ดีของพืช 2 ต้นไว้ด้วยกัน นักเรียนควรเลือกใช้วิธีการขยายพันธุ์    แบบใด

               ก.  ตอนกิ่ง                                                                        ข.   ติดตา

               ค.  ปักชำ                                                                           ง.    เพาะเมล็ด

   49.      ข้อใดอธิบายความหมายของ “การถ่ายละอองเรณู” ได้ถูกต้องที่สุด

               ก. ละอองเรณูกระจายออกจากอับละอองเรณู

               ข.  ละอองเรณูติดไปกับขาแมลง

               ค.  ละอองเรณูลอยไปสู่ดอกของพืชชนิดอื่น            

               ง.   ละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย

   50.      ข้อใดเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของพืชมากที่สุด

               ก.  ฮอร์โมน                                                                      ข.   น้ำ

               ค.  ลม                                                                                ง.    สารอาหาร

   51.      การเคลื่อนไหวแบบนาสติก มีลักษณะอย่างไร

               ก. เคลื่อนไหวกลับไปกลับมาอย่างอิสระ                                                                  

               ข.  เคลื่อนไหวโดยไม่สัมพันธ์กับสิ่งเร้า

               ค.  เคลื่อนไหวโดยสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า                                                     

               ง.   เคลื่อนไหวโดยไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า

   52.      การเคลื่อนไหวในข้อใด จัดเป็นการเคลื่อนไหวแบบนาสติก

               ก.  การเอนเข้าหาแสงของยอด                                     ข.   การหุบและบานของดอก

               ค.  การแกว่งของใบ                                                        ง.    การชอนไชไปในดินของราก

   53.      เหตุใดต้นไม้ที่ปลูกในที่ร่มจึงมักมีลำต้นโค้งงอกว่าต้นไม้ที่ปลูกในที่โล่งแจ้ง

               ก.  เนื่องจากเป็นลักษณะเฉพาะของต้นไม้               

               ข.  เนื่องจากต้นไม้ในที่ร่มจะโค้งงอเข้าหาที่อุณหภูมิสูงกว่า

               ค.  เนื่องจากต้นไม้ในที่ร่มจะโค้งงอเข้าหาแสง

               ง.   เป็นเพียงความบังเอิญไม่ได้เกิดจากสาเหตุใด

   54.      กระบวนการในข้อใดที่มีผลให้ปากใบเปิด

               ก.  การแพร่ของน้ำเข้าสู่เซลล์คุม                                 ข.   การแพร่ของน้ำออกจากเซลล์คุม

               ค.  คาร์บอนไดออกไซด์ผ่านเข้าสู่เซลล์คุม                 ง.    ออกซิเจนผ่านเข้าสู่เซลล์คุม

   55.      เหตุใดพืชจึงต้องมีการเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า

               ก.  เพื่อการหยุดพักกระบวนการภายในต้น

               ข.  เพื่อแสวงหาปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

               ค.  เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย

               ง.   เพื่อปรับตัวให้มีความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม

   56.      ข้อใดเป็นลักษณะของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

               ก.  เป็นการปลูกพืชโดยให้รากของพืชแช่ในธาตุอาหาร

               ข.  เป็นการนำชิ้นส่วนของพืชมาเพาะในดินให้เกิดเป็นต้นใหม่

               ค.  เป็นการนำชิ้นส่วนของพืชมาเลี้ยงบนวุ้นที่ประกอบด้วยอาหารสังเคราะห์

               ง.   เป็นการสกัดสารพันธุกรรมออกจากพืช เพื่อนำไปสร้างเป็นต้นพืชใหม่

   57.      ข้อใดคือความหมายของแคลลัส

               ก. กลุ่มเซลล์บริเวณยอดของต้นไม้ที่จะเจริญเติบโตเป็นใบ

               ข.  กลุ่มเซลล์ที่สามารถเจริญได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นต้นหรือราก

               ค.  กลุ่มเซลล์ที่สามารถเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องเพื่อกลายเป็นยอด

               ง.   กลุ่มเซลล์ที่สามารถเจริญได้อย่างต่อเนื่องเพื่อกลายเป็นราก

   58.      ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของพืชที่ได้รับการดัดแปลงพันธุ์

               ก.  ช่วยรักษาระบบนิเวศให้สมดุล

               ข.  สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ดี

               ค.  สามารถสร้างสารพิเศษบางชนิดได้มากขึ้น

               ง.   ให้ผลผลิตมากขึ้น

   59.      ในการปลูกพืชไร้ดิน ต้นพืชจะได้รับแร่ธาตุต่างๆ จากแหล่งใด

               ก. สารอาหารต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำตามธรรมชาติ                                                                  

               ข.  จากอากาศรอบข้าง

               ค.  จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

               ง.   จากแร่ธาตุต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำ เนื่องจากมนุษย์ใส่เพิ่มลงไป

   60.      เพราะเหตุใดพืช GMOs และผลิตภัณฑ์จากพืช GMOs จึงมักถูกต่อต้านโดยองค์การต่างๆ

               ก.  เพราะพืช GMOs ไม่สามารถทำได้จริง

               ข.  เพราะยังไม่ทราบแน่ชัด ว่าจะมีผลเสียต่อสุขภาพและต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

               ค.  เพราะการปลูกพืช GMOs จะทำให้ดินเสื่อมสลาย

               ง.   เพราะพืช GMOs มีรสชาติแย่กว่าพืชปกติ

 

 

 

 

 

 

 

เฉลย

  1.    ตอบ           ง.    มีใจความว่า “เนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์”

  2.    ตอบ           ค.   การดูภาพจากกล้องจุลทรรศน์ต้องเริ่มจากเลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดก่อน                        

  3.    ตอบ           ง.   ถ้าต้องการให้ภาพมีขนาดใหญ่ขึ้นต้องปรับให้เลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยายมากขึ้น         

  4.    ตอบ           ค.   กำลังขยายของกล้อง     = กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา X กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ                                                                      =      (10X) X (40X)

                                                                                = 400 เท่า                                 

  5.    ตอบ           ข.   เนื่องจากสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีเซลล์เป็นหน่วยที่เล็กที่สุด                                        

  6.    ตอบ           ข.   เนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์

  7.    ตอบ           ก.   เพราะภายในนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอ                                        

  8.    ตอบ           ค.   ผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์จะพบเฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น                                           

  9.    ตอบ           ง.    เพราะเป็นส่วนที่อยู่นอกสุด มีหน้าที่ให้ความแข็งแรงและป้องกันเซลล์                         

10.    ตอบ           ข.   เยื่อหุ้มเซลล์จะยอมให้สารบางชนิดผ่านได้ แต่บางชนิดก็ไม่สามารถผ่านได้

11.    ตอบ           ง.    เพรา ออร์แกเนลล์จะอยู่ในส่วนของไซโทพลาซึม               

12.    ตอบ           ข.   เซนทริโอลจะพบเฉพาะในเซลล์สัตว์เท่านั้น ซึ่งใช้ในการแบ่งเซลล์ในสัตว์  

13.               ตอบ                 ข. เพราะคลอโรพลาสต์เป็นออร์แกเนลล์ส่วนคลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุในคลอโรพลาสต์

14.               ตอบ                 ค. ผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์จะพบเฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น                                              

15.                ตอบ                ค. ปากใบมีหน้าที่คายน้ำออกจากเซลล์ และรับน้ำและแก๊สจากบรรยากาศเข้าสู่ใบ               

16.    ตอบ           ก.   สารต่างๆ ในเซลล์ จะมีการเคลื่อนที่ระหว่างเซลล์ โดยจะเคลื่อนที่จากเซลล์ที่มีปริมาณ                                                        สารมากไปยังเซลล์ที่มีปริมาณสารน้อยกว่า

17.    ตอบ           ค.   เซลล์เม็ดเลือดแดงเมื่อเจริญเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส และตรงกลางจะเว้า                         

18.    ตอบ           ง.    ดีเอ็นเอ หรือสารพันธุกรรมอยู่ในนิวเคลียส

19.               ตอบ                 ข. เซลลูโคสเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์                

20.    ตอบ           ก.   เพราะเซนทริโอลเป็นโครงสร้างที่เก็บสะสมสารต่างๆ ไว้ภายในเซลล์

21.    ตอบ    ก.    การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) เป็นกระบวนการสร้างอาหารของพืชโดยใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นวัตถุดิบ มีคลอโรฟิลล์ แสง และแร่ธาตุเป็นตัวกระตุ้นได้ผลิตภัณฑ์คือน้ำตาลกลูโคสและแก๊สออกซิเจน

22.    ตอบ     ข.    บริเวณที่เกิดการสังเคราะห์แสง คือใบพืชซึ่งมีคลอโรฟิลล์

23.    ตอบ     ค.    เซลล์พืชบริเวณที่มีคลอโรพลาสต์มากที่สุดคือใบพืช ส่วนบริเวณที่ไม่มีคลอโรพลาสต์เลยคือราก  

24.    ตอบ     ง.    ดูคำอธิบายจากข้อ 1

25.    ตอบ     ค.    ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชจะดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยแก๊สออกซิเจนออกสู่บรรยากาศ              

26.    ตอบ     ข.    ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ กลูโคสและออกซิเจน

27.    ตอบ     ง.    เนื่องจากแสงเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

2 8.    ตอบ     ก.    เนื่องจากปากใบจะเปิดในเวลากลางวัน ซึ่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะเข้าสู่ใบพืชเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง                                          

29.    ตอบ     ค.    ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงพืชจะเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี                 

30.    ตอบ     ข.    โครงสร้างที่ใช้ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ คือ ไซเล็ม ซึ่งเป็นท่อยาวจากรากขึ้นไปยังลำต้นและส่วนต่าง ๆ ของพืช

31.    ตอบ     ง.    การแพร่เป็นการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อย ซึ่งถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นการแพร่จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กจะแพร่ได้เร็วกว่าสารที่มีโมเลกุลใหญ่              

32.    ตอบ     ง.    ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดน้ำของรากพืช คือ ปริมาณน้ำในดิน ความเข้มข้นของสารละลายในดิน อุณหภูมิของดิน และการถ่ายเทอากาศในดิน

33.               ตอบ                 ข. เนื่องจากโครงสร้างของพืชที่ใช้ลำเลียงอาหาร (โฟลเอ็ม) จะเรียงตัวอยู่บริเวณเปลือกไม้

34.               ตอบ                 ค. ถ้าแรงดึงจากการคายน้ำมาก จะทำให้พืชมีการดูดน้ำเข้าสู่รากมาก และจะมีการลำเลียงน้ำไปสู่ยอดพืชมาก

35.    ตอบ     ข.    เพราะเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทำให้ความเข้มข้นของสารภายในสูงกว่าเซลล์ข้างเคียงเกิดแรงดันส่วนผนังด้านนอกโป่งออก ทำให้ปากใบเปิด            

36.    ตอบ     ค.    โครงสร้างของพืชที่ใช้ในการลำเลียงอาหาร คือ โฟลเอ็ม (phloem)

37.    ตอบ     ง.    ขนรากเป็นโครงสร้างที่ดูดน้ำในดินเข้าสู่รากเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของพืช                     

38.    ตอบ     ข.    เมื่ออุณหภูมิสูง พืชจะคายน้ำมากขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิของใบพืช

39.    ตอบ     ง.    ทั้งท่อลำเลียงน้ำ (xylem) และท่อลำเลียงอาหาร (phloem) เป็นท่อยาวตลอดตั้งแต่รากจนถึงใบไปตามเส้นใบ

40.    ตอบ     ก.    เนื่องจากใบพืชจะมีการคายน้ำตลอดเวลา ซึ่งในขณะขนย้ายต้นไม้จะไม่ได้ดูดน้ำจากดินไปหล่อเลี้ยงลำต้น การตัดใบออกจะช่วยลดการคายน้ำ ทำให้พืชไม่เหี่ยวเฉาเร็ว

 

41. ตอบ      ก.   กลีบเลี้ยงเป็นส่วนประกอบของดอกที่อยู่นอกสุด มักจะมีสีเขียว ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ดอก

42.    ตอบ     ค.    อับละอองเรณูเป็นส่วนประกอบของเกสรตัวผู้ ภายในมีละอองเรณูเล็กๆ อยู่เป็นจำนวนมาก

  3.    ตอบ     ง.    ดอกสมบูรณ์เพศ คือ ดอกที่มีเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ส่วนดอกครบส่วน คือ ดอกที่มีส่วนประกอบของดอกครบ 4 ส่วน ดังนั้น ดอกสมบูรณ์เพศอาจจะเป็นดอกครบส่วนหรือไม่ก็ได้ แต่ดอกไม่สมบูรณ์เพศไม่สามารถเป็นดอกครบส่วนได้                                      

44.    ตอบ     ข.    โครงสร้างที่เป็นอวัยวะสำหรับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช คือ ดอก

45.    ตอบ     ข.    เมื่อเซลล์ไข่ได้รับการผสมแล้วจะเจริญไปเป็นต้นอ่อน ในขณะที่ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด

46.    ตอบ     ค.    กระบวนการปฏิสนธิ คือ กระบวนการที่เกิดขึ้นในอวัยวะสืบพันธุ์ และต้องมีการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย

47.    ตอบ     ค.    ลักษณะเด่นของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ คือ ต้นใหม่ที่ได้จะมีลักษณะเหมือนต้นเดิม ยกเว้นที่จะไม่มีรากแก้ว

48.    ตอบ     ง.    เนื่องจากการเกิดเมล็ดต้องผ่านกระบวนการปฏิสนธิ ซึ่งเป็นกระบวนการรวมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้และเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย ทำให้ต้นลูกที่เกิดขึ้นมีลักษณะของต้นพ่อและต้นแม่ผสมกัน จึงมีโอกาสที่จะได้ทั้งลักษณะที่ดีหรือลักษณะที่ไม่ดีจากต้นพ่อและต้นแม่ก็ได้                            

49.    ตอบ     ง.    การถ่ายละอองเรณู คือ กระบวนการที่ละอองเรณูจากเกสรตัวผู้ตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย

50.    ตอบ     ก.    การเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองของต้นพืชเกิดขึ้นเนื่องจาก สิ่งเร้าจากภายนอกที่พืชได้รับไปกระตุ้นให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตกระจายไปในส่วนต่างๆ ของพืชในปริมาณที่ไม่เท่ากัน

51.    ตอบ     ง.    การเคลื่อนไหวแบบนาสติกเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า             

52.    ตอบ     ข.    การหุบและบานของดอกเป็นการเคลื่อนไหวตอบสนองโดยไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าจึงจัดว่าเป็นการเคลื่อนไหวแบบนาสติก

53.               ตอบ ค.           เนื่องจากต้นไม้ที่ปลูกไว้ในที่ร่มจะมีการเติบโตโค้งงอเข้าหาแสงสว่าง ทำให้ลำต้นไม่ตั้งตรงเหมือนต้นไม้ที่ปลูกในที่โล่งแจ้ง

54.               ตอบ                 ค. การแพร่ของน้ำเข้าสู่เซลล์คุมจะทำให้เซลล์มีแรงเต่ง และผนังเซลล์จะโก่งตัวออกไปด้านข้างทำให้เกิดช่องเปิดระหว่างเซลล์คุม

55.    ตอบ     ง.    การเคลื่อนไหวของพืชเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าเป็นไปเพื่อให้พืชสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่าง เช่น การโค้งงอเข้าหาแสงของพืช หรือการหุบใบในเวลากลางคืน เป็นต้น      

56.    ตอบ     ค.    การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นการนำชิ้นส่วนของพืชมาเลี้ยงบนอาหารที่มีลักษณะเป็นวุ้น เพื่อให้เกิดการเติบโตเป็นต้นใหม่

57.    ตอบ     ข.    แคลลัส เป็นกลุ่มเซลล์ที่สามารถเจริญได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นยอดหรือรากแต่สามารถชักนำให้เกิดเป็นยอดหรือรากได้โดยการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนออกซินและไซโทโคนิน    

58.    ตอบ     ก.    พืชดัดแปลงพันธุ์เป็นพืชที่ถูกปรับแต่งลักษณะบางประการโดยมนุษย์ ทำให้มีลักษณะแตกต่างไปจากลักษณะตามธรรมชาติ และยังไม่มีข้อพิสูจน์เรื่องผลกระทบต่อระบบนิเวศ

59.    ตอบ     ง.    การปลูกพืชไร้ดิน ผู้ปลูกจะให้แร่ธาตุต่างๆ แก่พืชโดยผสมลงในน้ำที่ใช้ปลูกพืช

60.    ตอบ     ข.    พืช GMOs ถูกต่อต้านเนื่องจากยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดว่ามีผลอย่างไรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

 

 

หมายเลขบันทึก: 303811เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2009 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีคร้าาาาาาาาาาาาา^^...........""

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท