การพัฒนาคุณภาพตามโครงการ SHA (2)


ตามรอยในชุมชน เมื่อเรือล่มในหนองทองจะไปไหน การทำงานในชุมชนจึงเป็นไปแบบไร้รอยต่อ

      เมื่อทีมเดินทางถึงบริษัทฟูรูกาวา  ซึ่งประกอบด้วย  นพ.ประสิทธิ์ชัย  มั่งจิต  ผู้อำนวยการโรงพยาบาล  แม่ต้อย (อ.ดวงสมร)  อ. Marion  อ.วรรณรวี (พี่หน่อย)  ทีมพวกเราได้รับการเชื้อเชิญเข้าไปยังห้องประชุม  ที่เสมือนว่าได้ต้อนรับผู้คนมาหลายครั้ง  ภายในห้องสี่เหลี่ยมจัดอย่างเรียบง่าย  สะอาด  เนื่องจากเวลาได้ล่วงเลยมานาน  คุณชัยมงคล  ผู้รับผิดชอบดูแลเรื่องโรงงานสีขาวหลังกล่าวต้อนรับ  ได้นำเสนออย่างคล่องแคล่ว  ถึงที่มาที่ไป  และการดำรงคงอยู่ของกิจกรรม  เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเกาะป้องกันให้กับพนักงานในสถานประกอบการแห่งนี้  โดยเน้นที่กิจกรรมตามโครงการ To be No 1  หลังจบบรรยาย  อ. Marion ได้ถามว่า 

     “To be No 1 ในคำจำกัดความของคุณคืออะไร  หมายถึง  ยาเสพติด (ออกสำเนียงฝรั่งพูดภาษาไทยไม่แข็งแรงด้วยนะคะ)  หรือ Safety”  ฮามั๊ยคะ  แต่ท่านก็ยังถามต่อหรือหมายถึงการสร้างภูมิคุ้มกัน  เมื่อคุยกันสักพักคำถามที่ตามมาหลังจากฮาเรื่อง   เสพติดหรือ Safety แล้ว  ก็ทำให้พนักงานคนอื่นๆออกอาการแบบเอ๋อๆอีก กับคำถามที่ว่า 

     “ทำ OM มานานหรือยัง”   เพราะเขาไม่รู้ ว่า OM คืออะไร  เขารู้แต่เพียงว่าเขาต้องทำอย่างไรให้ได้ผลผลิตให้กับบริษัท 

สำหรับกิจกรรมของชมรม To be No 1 ที่นี่น่าสนใจ เช่น  การถักเสื้อคอกระเช้า  พวงหรีด  ช้อนส้อม  กีฬาสันทนาการ  ที่นาสนใจมากคือ  กิจกรรมให้คำปรึกษาของพนักงาน  จากการได้ไปอบรมให้คำปรึกษาหลักสูตร 1 วันที่จัดขึ้นโดย สสจ.สระบุรี  แล้วกลับมาให้คำปรึกษาใน Friend  Conner  ซึ่งจะมีพนักงานมาใช้บริการเยอะ  พนักงานหลายคนที่มีปัญหาปัญหาครอบครัว ยังไม่พร้อมจะมีบุตร, มีกิ๊ก, ทะเลาะในครอบครัว ,ลูกวัยรุ่น,ลูกเลี้ยงวัยรุ่นนอนห้องเดียวกับแม่และพ่อเลี้ยง ทำให้มีกิจกรรมยาก  เขาก้อแนะนำให้แม่บอกลูกตรงๆ เพราะโตแล้ว ว่าพ่อกับแม่ต้องการความเป็นส่วนตัวในห้องสวีทเป็นต้น  เวลาช่างผ่านไปรวดเร็ว  ยังเหลือชุมชนที่รอรับอาจารย์ไปเยี่ยมอยู่  พวกเราและทีมต้องจากไปอย่างเสียดาย

       พอไปถึงชุมชนเขาก็มีรถสายตรวจชุมชนนำทางไป  เมื่อเดินทางเข้าถึงหมู่บ้านเป้าหมายท่านณัฎฐ์รองนายกเทศมนตรี  คนนี้มีเรื่องเล่าเมื่อครั้ง สรพ.มา HA-Reaccredit  ท่านณัฏฐ์ได้บรรยายเป็นฉาก ว่า พื้นที่ทับกวางเป็นอย่างไร ปัญหามากมายแค่ไหน โยงมาที่กิจกรรมเริ่มแรกที่เริ่มดำเนินการในทับกวาง จนถึงปัจจุบัน เป็นขั้นเป็นตอน เล่าได้เมามันส์มาก เล่ายาว แต่น่าติดตาม จนผู้เขียนบันทึกไม่ทัน

      แม่ต้อยก้อชอบมากเหมือนกัน เพราะเห็นภาพชัด ตั้งแต่ท่านณัฎฐ์เป็น ชาวบ้าน แล้วรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน  เลื่อนเป็นกำนัน ทำให้ทำกิจกรรมคล่องขึ้น มีทีมเวอร์ค คือทีม จ.ส.อ.ราเชนทร์ ซึ่งเป็นอสม.มาก่อนแล้วมาเป็นประธานชุมชนบ้านโป่งพัฒนา ของ ต.ทับกวาง และที่สำคัญเมื่อ ชาตัวพ่อ (ผอ.ประสิทธิ์ชัย  มั่งจิตร) ดึง จ.ส.อ.ราเชนทร์ มาเป็นคณะอนุกรรมการยาเสพติด  พี่จ่าก้อพยายามดึงท่านณัฎฐ์เข้าร่วมประชุม แบบว่าไม่ได้เป็นกรรมการกับเขาหรอกแต่มาสังเกตการณ์เรื่อยๆน่ะ จน ชาตัวพ่อ อดไม่ไหวต้องรับเข้าเป็นกรรมการด้วย  ที่สำคัญไม่รู้วางแผนอะไรมาหรือเปล่า เลยมาซิวเอาพยาบาลสาวสวยโรงพยาบาลเราไปคนนึง 555  ปัจจุบันท่านณัฏฐ์  ก็มีตำแหน่งพ่วงด้วย  ก็คือเขยโรงพยาบาล  แบบว่าเรือล่มในหนองทองจะไปไหน  การทำงานประสานกับชุมชนที่ทับกวางจึงเป็นไปอย่างแนบเนียนและไร้รอยต่อ

      อ. Marion ฟังอย่างตั้งใจแม้จะฟังภาษาไทยได้ไม่แข็งแรง  กิจกรรมที่ชวนให้ประชาชนห่างไกลยาเสพติด  และรักหวงแหนชุมชนของเขา จนกลายเป็นเกราะป้องกันที่แข็งแรง  ก็คือ  กิจกรรมของชมรมอนุรักษ์ป่าของทับกวาง ชมรมจักรยานเสือภูเขา และไฮไลท์เขาคือการฝึกอบรมสายตรวจประจำหมู่บ้าน ที่เข้าเวรตั้งแต่ 18.00 น.-24.00 น. ในจุดเสี่ยง หลังเที่ยงคืนแล้ว เป็นเวรโทรตาม สายตรวจมีประมาณ 20 ชุด ๆ ละ 4-5 คน  ซึ่งสายตรวจชุดนี้จะได้รับการฝึกอบรมจากพี่ๆตำรวจจาก สภอ.แก่งคอย  ที่มาฝึกอบรมให้  และขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆครบทุกตำบล

      ตอนนั้น คุณยายท่านนึงก้อ “ฮ้าวววววววววว” เสียงดังพอประมาณ ทุกคนฮาใหญ่   พี่ๆเขาบอกว่า มารอตั้งแต่เช้าแล้ว  พอดีขณะนั้น เวลาเลยเที่ยงแล้ว อาจารย์ก้อเลยไม่ได้ถาม แต่ อ.แม่ต้อยชอบมาก ฟังแล้วอยากมาถอดบทเรียนอีก เพราะท่านณัฎฐ์บอกว่า ได้มีโอกาสไปเข้าเวทีถอดบทเรียนระดับชาติมา   แล้ว ปปส.ได้ฟังก้อเลยสงสัยอยากมาดูในพื้นที่ว่าทำจริงป่าว  ก้อเลยส่งไส้ศึก เอ้ย ตัวแทนมาอยู่ในพื้นที่ ระยะหนึ่ง   แล้วเขาก้อโอเค คอนเฟิร์ม เลยชวนไปออกรายการของช่อง 9 ได้ค่าตัวคนละ 500 บาท (อันนี้ของแถม)

ไม่รู้อาจารย์หิวหรือเปล่า แต่เราลืมหิว ออกมาจากศูนย์การเรียนรู้ก้อพามาที่บ้าน จ.ส.อ.ราเชนทร์ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้เดิม วันนั้นมีการฝึกปฏิบัตินวดแผนไทยแก่อาสาสมัครประมาณ 10 กว่าคน  เขาก้ออยากนวดให้อาจารย์ อาจารย์ก้ออยากรับบริการ แต่ไม่มีเวลา ได้แต่ถ่ายรูป  แล้วก้อเดินข้ามถนนมาอีกฝั่งหนึ่ง ตรงนั้นมีแม่นั่งไกวเปลลูกชาย เปลือยท่อนล่างด้วยซิ อิอิ   แม่เขาไกวเปลด้วย และประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ ด้วย  . Marion  ชอบใจได้ถ่ายรูปกับดอกไม้จันทน์ และตั้งชื่อให้ว่า  “flowerjun” ตอนขากลับสายตรวจนำทางกลับมาถึงหน้า รพ.เลย ก้อได้ใจอีก กลับมาเราเพิ่งคิดได้ว่าหิว หม่ำใหญ่เลย อิ่มไปถึงกลางคืน  ที่สำคัญอิ่มใจ  ดีใจที่ได้ต้อนรับ แม่ต้อยและคณะค่ะ

         

สถานประกอบการต้นแบบกับรางวัลที่ได้รับ  ระดับภาคและระดับประเทศ

 

            

ตามรอย...ที่สถานประกอบการต้นแบบ  

 

รางวัลชุมชนและโรงเรียนต้นแบบ

 

ตำรวจบ้านหรือสายตรวจประชาชน  มีพี่ตำรวจมาช่วยฝึกให้ เริ่มต้นที่ตำบลทับกวาง  ปัจจุบันมีทุกตำบล

                                                                                                                      

สว.ที่ผ่านเข้ารอบ  อิอิ    เค้าแต่งตัวสวยเพื่อมารับแม่ต้อยและคณะโดยเฉพาะเลยนะคะ

Flowerjun  หรือ  ดอกไม้จันทร์   กับฝีมือของกลุ่มแม่บ้าน

 

  

ฟังอย่างตั้งใจ

 

ศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน

                                                                   

                                      มิลลี่       เล่า 

                                             น้ำชา     เรียบเรียง

                                                                                                                     

คำสำคัญ (Tags): #sha narrative
หมายเลขบันทึก: 303037เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2009 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อาหารสมองยามดึก อ่านแล้ว นึก คิดติดตาม จะทำอย่างไรที่จะให้ได้แกนนำที่มีคุณภาพมาร่วมงาน เหมือนท่านเหมือนท่านประสิทธิ์ชัย

มาเชียร์ชาวพี่น้อง SHA เเก่งคอยค่ะ

จำกันได้หรือเปล่าคะ

ตามมาเชียร์ด้วยคน กับผลงานดีๆ

ชื่นชมและกำลังใจครับ

  • สวัสดีค่ะ พี่ผู้เฒ่า ต้องยอมรับค่ะว่าผู้นำเปรัยบเสมือนผู้คุมบังเหียน คอยบังคับหางเสือไปให้ถูกทิศทาง แบบประคับประคอง ไม่ใช่แบบเผด็จการ เผอิญองค์กรเราโชคดีที่มีผู้นำแบบนี้ ไม่ง่ายนักกับการรวมใจทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียวและเกิดความรุ้สึกร่วม "รักหน่วยงานเหมือนบ้านของเรา" โดยเฉพาะพวกเราที่เป็นคนในพื้นที่เรียกว่าต้องอยู่กันจนเกษียณ การสร้างความสัมพันธ์ การลงพื้นที่ การรู้จังหวะจะโคลน และผลงานที่เป็นที่ยอมรับผลงานที่ตรงใจกับปัญหาในพื้นที่ ที่สำคัญคือความตั้งใจจริง ทำให้การทำงานของโรงพยาบาลแก่งคอยจะเรียกว่า ถูกตาต้องใจทั้งผู้ใหญ่ และเพื่อนร่วมงานในหลายภาคี แต่เหนือสิ่งอื่นใดฟันเฟืองจะขับเคลื่อนไปได้ ก็ต้องอาศัยศักยภาพของน๊อตตัวเล็กตัวน้อยแต่ละตัว นั่นคือ พวกเรามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพียงแต่ว่าพวกเราแบ่งความรับผิดชอบและหน้าที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างสุดฝีมือ
  • เห็นความตั้งใจจริงของพี่ผู้เฒ่าแล้ว น้ำชานับถือจริง แม้จะไม่ได้เห็นด้วยตา แต่สัมผัสได้ด้วยใจ ซาบซึ้งอย่างมากที่เห็นพี่ไม่ขาดหรือลาในวันที่พี่น้องชาวพุทธเขาหยุดเพื่อไปร่วมพิธีทางศาสนา และพบปะครอบครัว
  • ขอบคุณค่ะคุณกุ้งนาง จำได้ค่ะ เราพบกันใน Blog เสมอๆ ชื่อเสียงของศรีนครินทร์ นามนี้ลือเลื่อง โดยเฉพาะ Pallitative Care ขอบคุณนะคะที่มาเชียร์ มาชม และให้กำลังใจ bloger มือใหม่ที่จะเป็นกระบอกเสียงให้กับ รพ.แก่งคอย ที่ให้พี่น้องสา'สุข และ ชาว G2K ได้เห็นการขับเคลื่อนองค์ด้วยพลังใจอันยิ่งใหญ่
  • เห็นด้วยกับ สรพ.ที่หันมามองเชิงคุณภาพบ้าง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า เชิงปริมาณ
  • ขอบคุณ กาแฟดำ มากนะคะ ดื่มแล้วจะขมมั้ยนะ

                                                          

พี่น้ำชาสุดยอดไปเลยอ่ะ

น้องมิลลี่อ่านไปน้ำตาซึม

ไม่รู้ว่าซาบซึ้งหรือขำกลิ้ง

คิดเอาเองแล้วกันนะ

วันประชุมปจด.วันก่อนไม่รู้ว่าปวดท้องป่าว เพราะน้องมิ๊ลฯกับน้องป๊อดนั่งนินทาเจ๊อยู่อ่ะ ถ้าเป็นลูกเสือคงเรียกว่าไรนะ "เยล" ใช่ป่าว

"สุดยอดจริงจริง สุดยอดจริงจริง"

  • หวัดดีจ้า jaja ดีใจไม่ว่าจะซึ้งกินใจหรือขำกลิ้งก็ตาม แสดงว่าคุณน้องยังไม่ตายด้าน 555
  • ถึงว่าวันประชุม ปจด.ท้องอืดมาก เพราะมีคนเสกของเข้าท้องนี่เอง
  • เราขอรับคำชมนั้น ห้ามเอาคืนนะ "เยล"
  • เจ้านายไม่อยู่หลายวันทำตัวเป็นเด็กดีกันหน่อยนะ เด๋วอดของฝาก อิอิ

                                                                                                                         

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาให้กำลังใจทีมงานทุก ๆ คน
  • มองเชิงคุณภาพ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า มองเชิงปริมาณ ถ้ามองด้วยใจเป็นอะไรที่สำคัญที่สุด

อยากไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลแก่งคอยจังครับ

เคยไปแอบชมแบบชาวบ้านธรรมดาที่โรงพยาบาลเสาไห้ ครับ

ยินดีต้อนรับค่ะอาจารย์ แจ้งล่วงหน้าได้เลยนะคะอาจารย์ หรือว่าแอบมาเยี่ยมชมบ้างแล้วคะ ด้วยความยินดีค่ะอาจารย์

เห็นความมุ่งมั่น ของทีม รพ.แก่งคอยแล้วชื่นใจมากครับ ผมเองเป็นแค่เภสัชกรธรรมดาๆ คนหนึ่ง อย่าเรียกว่า อาจารย์ ของเรียกตนเองว่า เป็น patient care worker ดีกว่าครับ

ข้อเสนอในการพัฒนาตามแนวทาง SHA ก็คือ

  1. ปลุกไฟ และอุดมการณ์ ของตนเองและพวกพ้อง
  2. รวมกลุ่ม คนทำดี ทำงานเพื่อผู้ป่วย รวมตัวกันเป็นพันธมิตร
  3. ศึกษา อยากผู้รู้  หาอาจารย์  ทั้งความรู้ทางวิชาชีพ ความรู้ทางวิชาการ และ ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพ
  4. เรียนรู้ ช่วยกัน ผ่าน blog เรื่องเล่า ภาพถ่าย บันทึกเสียง
  5. หัดอ่านงานวิจัยด้าน patient care ดี จะช่วยให้มีแนวคิดดีๆ ในการดูแลผู้ป่วย
  6. ทำ AAR จนเป็นนิจ เพื่อสกัดขุมความรู้
  7. สร้างความเข้มแข็ง ด้านสุขภาพให้ชุมชน
  8. ใช้สามเหลี่ยม ของ ดร.โกมาตร ในการพัฒนาตนเอง

คือ 1 เจอข้อค้นพบที่น่าสนใจ  2 นำไปเชื่อมโยงแนวคิด ทษฎี กับงานวิจัยอื่นๆ

3 นำมาสร้างคำถามวิจัยใหม่ที่ดี มีประโยชน์ 4 สุดท้ายนำไปสร้าง เป็นผลงานวิชาการ นำเสนอต่อไป

ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์ อุ๊ย! คุณศุภรักษ์ ศุภเอม  เราถือว่าทุกคนคือครู คืออาจารย์ที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอ  เห็นด้วยค่การทำ AAR  เพื่อไม่ให้หลงประเด็น  และการใช้สามเหลี่ยม ของ ดร.โกมาตร ในการพัฒนาตนเอง

ต้องบอกว่าเราได้ใช้ G2K เป็นอาจารย์หลายเรื่องแล้วค่ะ  แล้วก็ได้เห็น  ได้เรียนรู้  และเก็บเกี่ยวหลายๆเรื่อง  หลายๆองค์กร  หลายๆกัลยาณมิตร ไปเป็นต้นแบบ/ตัวอย่างในการพัฒนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท