การพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี


ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บรรยากาศงานฯ

สวัสดี ผู้เข้ารับการอบรมและ ชาว Blog ทุกท่าน

วันที่ 5 -6 ตุลาคม 2552  ผมได้มีโอกาสไปทำ หลักสูตร การพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ให้กับ บริษัทไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด โดยมี ดร.สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานกรรมการฯ ให้การสนับสนุน หลังจากที่ผมได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ ดร.สมพร ออกรายการคิดเป็น..ก้าวเป็น ครับ

ก่อนที่ผมจะเข้าไปนั้น เนื่องจากผมได้ไปสอนให้กับนักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา ซึ่งผมได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง และครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 3 แล้ว ครั้งนี้ มีคุณคุณฉัตรแก้ว ฮาตระวัง  ผู้อำนวยการฝ่ายโรงงานฯของ ไทยซัมมิท เรียนในรุ่นดังกล่าวและได้แนะนำให้ผมเข้าไปที่ไทยซัมมิทครับ

ถือเป็นโอกาสเหมาะของผมครับ หลังจากได้สัมภาษณ์ดร.สมพร แล้ว ก็ได้มีการทำพัฒนาบุคลากรระดับผู้จัดการของที่นี่  ดีใจครับที่ ดร.สมพร เล็งเห็นว่าการพัฒนาบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญขององค์กร และให้โอกาสผมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกอบรมครั้งนี้

และผมขอใช้ Blog นี้ เป็นคลังความรู้ของพวกเราและ Share ข้อมูลต่างๆ ในระหว่างที่สัมมนาและโอกาสต่อไปครับ

 

                                                                        จีระ  หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศในการเรียนรู้

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 302952เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2009 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (74)

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

         หนูดีใจที่หนูมีอาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี  ในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

 

                                           Jiraporn

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

         หนูดีใจที่หนูมีอาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี  ในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

 

                                           Jiraporn

เรียน ท่าน ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์

หัวข้อในการอบรมวันนี้ ช่วยขยายความหมายของ หัวใจ การบริหารของ TSG ได้อย่างชัดเจนที่สุด Before we build parts, we build people ซึ่งนั่นหมายถึง ท่านผู้บริหาร ของเรา เข้าใจและทราบดีว่า ทำไม ต้องสร้าง คน ( คนดี คนเก่ง และ รักองค์กร ) ทั้งนี้ ก็เพื่อความคงอยู่ขององค์การอย่างยั่งยืนนั่นเอง และ ไม่ว่า TSG จะขายออกไปใหญ่โตแค่ไหน ถ้าเราสร้างความเชื่อ ของคนในองค์กรได้ ก็ย่อมไม่มีปัญหา และ คนดี คนเก่ง และรักองค์กร เหล่านี้เท่านั้น ที่จะสร้างพลัง สร้างสรรค์ ให้แก่องค์กร ประเทศชาติ

และมนุษยชาติต่อไปอย่างไม่รู้จบค่ะ

หวังว่าพรุ่งนี้ เราจะได้เรียนรู้และแบ่งปัน Knowledge ใหม่ๆ ให้กันอีกนะค่ะ

ด้วยความเคารพ

นิภา อัครจันทโชติ

อาจารย์ มาเปิด ความคิดพวกเรา ใหม่ครับ ผมเชื่อว่า พวกเราชาว TSG ตอบรับการท้าทายที่จะกล้าคิด กล้าฝันเหมือนอาจารย์ครับ

ถึงทุก ๆ คน

เมื่อวานนี้ ผมเห็นศักยภาพของ TSA มากมาย

  • ผ่านวิกฤตมาอย่างโชกโชน และสามารถดำเนินธุรกิจมากว่า 40 ปีได้อย่างไร
  • ปรับตัวเรื่องคุณภาพ
  • เน้นเรื่องคน

ถ้าจะเสนอว่ามี 3 เรื่องใหญ่ที่ขาด

1) วัฒนธรรมการเรียนรู้ส่วนบุคคลยังไม่พอ  แต่ถ้ามีโครงการต่อเนื่องทุกคนจะทำได้ดี

2) Happiness ในการทำงาน และ Balance ระหว่าง งาน/ครอบครัวไม่พอ

3) ยังค้นหาคุณค่าของตัวเองไม่เจอ

      ซึ่งตลอดเวลาเมื่อวานนี้ก็มีเรื่องเหล่านี้ได้พูดกันมากขึ้น

4) สุดท้ายคือสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้ได้ มีผู้นำทาง LO เกิดขึ้นเป็น Role Model สัก 10 คนก็น่าจะพอ

5) ผู้นำที่ดีตั้งแต่ประธาน รองประธาน และ Top Management แต่ต้องกระจายให้ถึงทุกคนให้ได้

6) อย่าง 2 วัน ไม่ควรให้อยู่แค่ 40 คน ทุกคนควรจะได้รับและเรียนรู้ด้วย

                                                                       

จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณนิภา

คุณเป็นลูกศิษย์คนแรกที่ส่ง Blog การสร้าง LO ต้องมี LC (Learning Culture) สิ่งที่คุณส่งมาคือข้อพิสูจน์ว่าคุณนิภามีการหาความรู้ด้วยตัวเอง มี Ideas ใหม่ ๆ เสมอ ความรู้สด คือ การวิเคราะห์ให้เป็นก็คือวิธีการที่ถูกต้องและมาแบ่งปันในองค์กรนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) คือ สิ่งที่ผมต้องการและเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

ซึ่ง 2 วันนี้หวังว่าจะช่วยได้บ้าง และอยู่กับ TSG ต่อไป

จีระ หงส์ลดารมภ์

พิทยารัตน์ ต้นโพธ์

เรียน ท่านอาจารย์จีระ ที่เคารพ

น้อยใจค่ะที่ไม่มีรูปกลุ่มที่ 2 เลยไม่ได้โชว์หน้าตาตัวเองว่าได้รับเกียรติจากอาจารย์อย่างมากที่ให้ประสบการณ์ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมีโอกาสเช่นนี้อีกไหม คืนนี้จะอ่านหนังสือที่อาจารย์มอบให้ให้จบค่ะและจะอ่านซ้ำอีกหลายๆรอบเพื่อเป็นแนวทางในความคิดและการทำงาน

ด้วยความเคารพ

พิทยารัตน์

พิทยารัตน์ ต้นโพธ์

เรียน ท่านอาจารย์จีระ ที่เคารพ

น้อยใจค่ะที่ไม่มีรูปกลุ่มที่ 2 เลยไม่ได้โชว์หน้าตาตัวเองว่าได้รับเกียรติจากอาจารย์อย่างมากที่ให้ประสบการณ์ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมีโอกาสเช่นนี้อีกไหม คืนนี้จะอ่านหนังสือที่อาจารย์มอบให้ให้จบค่ะและจะอ่านซ้ำอีกหลายๆรอบเพื่อเป็นแนวทางในความคิดและการทำงาน

ด้วยความเคารพ

พิทยารัตน์

จากความรู้ (Knowledge) ไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม

(Value Added) หลายองค์กรยังมองภาพไม่ออกจะ

วัดภาพนี้อย่างไร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ขอให้ท่าน

อาจารย์ช่วยแนะนำจุดนี้ให้ด้วยครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ยงยุทธ ธนอัญญาพร

ความคาดหวังของผู้เข้ารับการเรียนรู้ในครั้งนี้ (34 ความคิดเห็น)

  1. มองการทำงานแบบมองเห็น คิดได้ ทำจริง และการคิดร่วมกันและเน้นผลลัพธ์ทางบวกและ Change Management
  2. ทฤษฎี LO และการนำไปใช้
  3. การค้นหาตัวเองและการทำงานอย่างมีความสุข
  4. ได้รับความรู้เชิงลึกของ LO
  5. เป็นคนดี รับผิดชอบและขยัน
  6. กรณีศึกษาและการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของตนเอง
  7. ค้นหาตัวเองและพัฒนาตนเอง
  8. LO วันนี้กับการ Mapping กับ TS เมื่อ 10 ปีที่แล้ว และการมองไปข้างหน้าอีก 5 – 10 ปี และเราควรจะพัฒนาตนเองและองค์กรอย่างไร และอยากได้การขยายความว่าการทำงานอย่างมีความสุขเป็นอย่างไร
  9. อยากทำ LO ให้เป็นรูปธรรมโดยขอเริ่มต้นจาก KM ให้มีประสิทธิภาพก่อน  และอยากเรียนรู้เทคนิคดี ๆ จากอาจารย์ที่จะสร้างพลังในการขับเคลื่อน

อ.จีระ เสริมว่า

  • พลังมาจากอิสรภาพในการเสนอแนวความคิดต่อเพื่อนร่วมงาน
  • เวลาที่เรารู้สึกว่าพลังเราอ่อน เราต้องรู้จักปล่อยวาง
  • Energy ที่นี่ คือ บรรยากาศในการทำงานยังไม่เอื้ออำนวย เราต้อง work smart มากกว่า work hard เราต้องมีเวลาคิดมากขึ้น

10.  แนวคิดและวิธีการที่จะไปกระตุ้นประสิทธิภาพของบุคลากรในองค์กรและอยากได้แนวคิดในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ Share ข้อมูลที่รวดเร็ว ทันเหตุการณ์

11.  แนวคิดและมุมมองใหม่ ๆ จากอาจารย์ และอยากมีความสุขในการเรียนรู้ใน 2 วันนี้

12.  อยากได้แนวทางการปฏิบัติที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง และสิ่งที่จะขัดขวางให้เกิดการเรียนรู้

13.  การประยุกต์และนำไปใช้

14.  รู้จักตัวเองว่ามีความรู้อะไร และจะนำความรู้ไปถ่ายทอดอย่างไร

15.  LO ไปใช้ในองค์กร ถ่ายทอด และพัฒนางาน

16.  แนวคิดและประสบการณ์ของวิทยากร และการนำไปใช้ในการทำงาน

17.  LO มีวิธีการคิดและวิธีการดำเนินการอย่างไร

18.  เปิดใจกว้างเพื่อค้นหาตนเอง และนำไปใช้อย่างไร

19.  คิดอย่างเป็นระบบ และการบริหารคนทำอย่างไร อยากได้เรียนรู้สูตรสำเร็จในการพัฒนาคน

20.  TSG เราเริ่มทำ KM มา 2 ปีแล้ว แต่วันนี้เราอยากเรียนรู้ว่า LO คืออะไร ควรจะเริ่มใช้อย่างไร ตอนนี้มีความรู้เยอะแต่เอาตัวไม่รอด ทำอย่างไร

21.  ความเข้าใจ LO – Network – Reference เพื่อการศึกษา + Change Management เพื่อพัฒนาองค์กร

22.  เริ่มเข้าสู่ตำแหน่งบริหารจึงอยากได้เทคนิคในการบริหารคน

23.  ทำอย่างไร KM – LO จะมีประโยชน์ต่อการทำงานจริง ๆ อยากได้แนวคิดในการบริหารการเปลี่ยนแปลงซึ่งควรจะเริ่มต้นที่ตนเอง

24.  การบริหารให้ LO เกิดขึ้นในองค์กรภายใต้ความสุขของทุกคนทำออย่างไร

25.  การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกและการพัฒนาตนเอง

26.  อาจารย์จะช่วยกระตุ้นให้มีความอยากรู้

27.  เอาสิ่งที่เรียนไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

28.  ความสุขจากการได้ความรู้ มีเพื่อน และทำ LO ได้สำเร็จ โดยใช้หลักของอาจารย์ คือ ตรงประเด็น และตรงความจริง

29.  KM – LO กับการนำไปใช้กังตนเอง ครอบครัว และองค์กร

30.  ระบบความคิด และการนำ LO ไปใช้ให้เหมาะกับงานและครอบครัว

31.  จุดประกายความคิด การพัฒนาตนเองและองค์กร การทำงานอย่างมีความสุข

32.  อยากเห็นหนทางไปสู่ KM – LO ให้สำเร็จ + 40 แรงใจของการร่วมทำ KM ให้สำเร็จ

33.  Change Management และการทำงานอย่างมีความสุข

34.  เราจะปฏิบัติตัวอย่างไรให้เราไปสู่ LO ให้ได้ อะไร คือ weak point ของการพัฒนา LO ในองค์กร และการทำงานอย่างมีความสุข

 

บุญฤทธิ์ สุขโสภณจิต

เรียน อาจารย์ครับ

ผมได้อ่านหนังสือที่อาจารย์ให้อ่าน ในหนังสือบอกรายละเอียดในเรื่องของ KM, LO และจิตสำนึกต่อคนรอบข้าง

องค์กรได้ดีมาก และวันนี้ ทุกท่านก็ถามคำถาม เช่น แรงบันดาลใจ.แรงจูงใจ เป็นอย่างทำไมต้องมี แต่ผมสงสัยว่า จิตสำนึกคืออะไรและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร

นิภา อัครจันทโชติ

สวัสดีค่ะ ท่าน อ. ดร.จิระ

วันนี้ พวกเราไม่ผิดหวังเลย การทำ Panel ในช่วงเช้าดีมากๆ เลยค่ะ โดยเฉพาะ คุณหมอ เฉลิมชัย กับ โพธิ วิชชาลัย สร้าง Inspiration ให้แหม่มมากค่ะ ได้คุยกับคุณหมอสั้นๆ ว่าอยากมีส่วนร่วมในโครงการจิตอาสา สอนสิ่งที่เราชำนาญแก่เด็กนักเรียน

บ้างค่ะ สำหรับ ตอนบ่าย ต้องขอบคุณท่าน อาจารย์ที่จัดให้มี Work Shop และได้มีโอกาสได้ Present ให้ท่านประธานได้รับฟัง

สำหรับทางกลุ่มได้ทำเรื่อง Management Innovation และ ทราบดีว่า ท่านประธาน และ ท่านรองฯประธาน ต้องเดินทางไปประชุมและตรวจงานที่ Oversea Operation ของเราบ่อยๆ ไปทีละหลายวัน ซึ่งเข้าใจดีว่าท่านเหนื่อย และ เสียเวลา และค่าใช้จ่ายมากเพราะต้องมีทีมทำงานเดินทางไปด้วยอีก และเวลาพวกท่านไม่อยู่ งานที่ต้องรออนุมัติบางครั้งก็ลำบาก ถ้าเป็นไปได้อยากให้ท่านๆ

ลดเรื่องการเดินทาง ทำงานที่ไหนก็ได้บนโลกนี้ และ อยากให้ท่านๆมีความสุข พวกเราจะได้รับ Happiness sharing จากท่านไปด้วยค่ะ

เรื่องของ Thai Summit มีมายาวนาน และสนุกๆ ประทับใจ ไม่แพ้ Series เกาหลีเลยค่ะ อาจารย์ลองหาเวลาดูนะค่ะ แนะนำเรื่อง

Love Story in Harvard ค่ะ ดูแล้วเกิดแรงบันดาลใจ และอยากเรียนหนังสือให้เก่ง และ Harvard ก็สร้างคนที่มีคุณภาพ และเป็นคนดีอย่างที่ พูดกันบ่อยๆ คือ ความรู้ คู่ คุณธรรม ค่ะ

วันนี้ เป็นอีกวันที่รู้สึกภูมิใจค่ะ เพราะเป็นวันที่เราทำได้ดี และผ่านไปอีกวัน เป็นบันทึก ( KM ) ของตัวเองค่ะ เพื่อ Sharing ให้คนอื่น

ต่อไปวันข้างหน้าค่ะ

สุดท้าย ทางกลุ่ม ขอส่งงาน Work Shop " Case no. 3 : Management Innovation มาด้วยตามด้านท้ายค่ะ

ขอให้อาจารย์รักษาสุขภาพด้วย และ หากพรหมลิขิตมีจริง เราต้องได้พบกันอีกแน่นอนค่ะ

ด้วยรักและเคารพค่ะ

นิภา อัครจันทโชติ

Work Shop & Methodologies

Thai Summit Group Dated Oct 6, 2009

Team Member : 1) คุณทวี กิจคุณาเสถียร 2) คุณพันธุ์ ช. พหลโยธิน 3) คุณวรพงษ์ เอี้ยวฉาย

4) คุณประดิษฐ์ จันทร์ประทุม 5) คุณวรรณนิภา เพ็ชรวิทูร 6) คุณนิภา อัครจันทโชติ

Case no. 3 : Management Innovation

1) LO ช่วยในการทำ Management Innovation คือ LO ช่วยสร้างให้คนในองค์กรมีความใฝ่รู้ และ ศึกษาอย่างต่อเนื่อง และนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงการบริหารงานให้มีความทันสมัย และ เกิดเป็นนวตกรรม

2) จุดแข็งของ LO คือการสร้างความต่อเนื่องในการสะสมและค้นคว้าความรู้ เพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆ ซึ่งทำให้รองรับในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และเหนือกว่าคุ่แข่ง

3) จุดอ่อนของ LO คือ การที่องค์กรจะรักษา LO ไว้ให้ยั่งยืนและต่อเนื่องในองค์กร

4) การดำเนินการโครงการ LO

4.1 ผู้บริหารกำหนดเป็นนโยบายเรื่องการสร้าง LO ในองค์กรอย่างชัดเจน และ มุ่งมั่น

4.2 สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับของคนในองค์กร

4.3 ให้ความรู้แก่คนในองค์การ ด้วยการ Train & Test

4.4 สร้าง Motivation & Inspiration ให้เกิดในคนทุกระดับ กระต้นให้เกิด LO

4.5 กำหนดระบบการวัดผล และ ตัวชี้วัดที่ชัดเจน และวัดได้ในการทำ LO

5) Project Name : Global Management Conference System

5.1 Objective :

- Any Time & Any Where Management Conference enable.

- Time & Cost Saving

- Happiness Boost Up

5.2 Planning :

- Cross Function Team Setting Up and Kick Off Project by Top Management.

- Tender of Reference ( TOR )

- Qualify & Vendors Selection

- Gap Analysis & Implementation

-Monitoring & Control System

5.3 Time Frame : Jan – Dec 2010

5.4 Budgeting : Est. 2-3 Million Baht

5.5 Cross Function Team : IT, BEX-PUR, Head of BU, Organization Devel., Overseas Dept.

5.6 Break Even Point : 1 Year + Extra Bonus Un-valuable Happiness sharing to Top Management.

เรียน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพยิ่ง

ในวันนี้ซึ่งเป็นวันที่สองของการสร้างไทยซัมมิทสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ นอกจากความรู้และประสบการณ์ต่างๆที่อาจารย์ถ่ายทอดให้แล้ว วันนี้ยังเป็นเวทีที่รวมบุคคลระดับประเทศเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับระดับบริหารในองค์กรไทยซัมมิท (Knowledge Sharing)

ดิฉันดีใจยิ่งขึ้นไปอีกที่มีโอกาสจะได้พบอาจารย์รวมถึง ดร.สุเมท แย้มนุ่น, ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา, ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ที่จะให้ความรู้เพิ่มอีกในหัวข้อสัมนา "ยุทธศาสตร์ประเทศไทย : เพื่อก้าวไปสู่ Creative Economy" ถึงแม้จะได้ร่วมสัมนาแค่ครึ่งวันก็ตาม

ด้วยความเคารพ

พิทยารัตน์

เรียน ศงดร จีร หงส์รดารมภ์

อยากให้อาจารย์พูดถึงองค์กรอัจฉริยะครับ ติดตามอ่านงานเขียนอาจารย์มานานแล้วครับ

ยงยุทธ ธนอัญญาพร 081-816-2003

จุดสรุปของ LO (Learning Organization) ระดับองค์รที่มองไปดึงองค์กรข้างหน้าที่วัดกันด้วยเรื่องนี้ไม่ใช้วัดที่

- การเงินขององค์กร

- เครื่องจักรหรืออื่น ๆ

ทวี กิจคุณาเสถียร 081-629-4833

ทำให้มีความตระหนักถึงเรื่องการมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

การสร้างวัฒนธรรมเรียนรู้ไปยังผู้ใต้บังคังบัญชาหรือผู้ร่วมงานอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามแผนงานหรือนโยบาย

ไพโรจน์ เสววัลลภ 081-364-5081

สิ่งที่ได้รับรู้ LC เป็นความรู้ที่มีอยู่กับบุคคลแต่ละบุคคลนำออกมาเพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และนำสิ่งที่ดี ที่ควรศึกษานำมาเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

พิทยารัตน์ ต้นโพธิ์ 081-860-3856

วันนี้ได้ทราบว่า LO กับ LO มีความเกี่ยวข้องกันโดย ทุกองค์กรที่ต้องการเป็นองค์แห่งความรู้ (LO) ควรมี Learning Culture (LC) ในองค์กรก่อนโดยวัฒนธรรมการเรียนรู้ (LC) ก็มาจากความรู้ที่ทุกคนมีทั้งเป็นแบบ Explicit Knowledge และ Tacit knowledge

พิทยารัตน์ ต้นโพธิ์ 081-860-3856

วันนี้ได้ทราบว่า LO กับ LO มีความเกี่ยวข้องกันโดย ทุกองค์กรที่ต้องการเป็นองค์แห่งความรู้ (LO) ควรมี Learning Culture (LC) ในองค์กรก่อนโดยวัฒนธรรมการเรียนรู้ (LC) ก็มาจากความรู้ที่ทุกคนมีทั้งเป็นแบบ Explicit Knowledge และ Tacit knowledge

สิ่งที่ได้รับรู้

ความรู้มีอยู่มากในองค์กร แต่ยังไม่ได้ จัดนำมาเรียบเรียงให้เป็นรูปแบบให้ศึกษาแต่ละคน นำออกมา เรียนรู้ซึ่งกัน

เทวฤทธิ์ ประเศรษฐสูต

LC-LO วันนี้ได้อะไรบ้าง

ในการพัฒนาองค์กรจะต้องมองย้อนกลับไปดูในอดีตเราได้มีการเรียนรู้อะไรบ้าง ถ้าเรามีการย้อนมองซึ่งเท่ากับว่าเราก็มีความเป็น Learning Culture

ได้มีการเรียนรู้เพื่อนร่วมงาน การรับทราบถึงวัฒนธรรมของผู้บริหารไทยซัมมิท เพื่อจะรู้ว่าจะพัฒนาองค์กรได้อย่างไร

นิภา อัครอินทโชติ 089-506-4911

วันนี้ได้อะไรเกี่ยวกับ LO,LC จากการอบรม

การที่องค์กรจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนและเหมาะสมความสำเร็จได้นั้นต้องสร้างคนที่มีคุณภาพและเก็บ Knowledge นั้นๆมาถ่ายทอดสืบสาน ส่งต่อกันให้มากและทั่วถึงที่สุดโดยผ่านเครื่องมือต่างๆ

เอกสิทธิ์ สกุลเรืองศรี 089-890-7329

สิ่งที่ได้รับคือทฤษฎี 4L's

1 Learning Methology

2. Learning Environment

3. Learning Opportunitis

4. Learning Communites

ธรรมนูญ ยิ้มละมัย 081723-7874

แนวทางการดำเนินการ LO

โดยการที่องค์กรได้ดำเนินการ เราไม่รู้เลยว่าสิ่งที่เรา ได้ทำมาอย่างยาวนานนั่น หากนำมาเรียงเป็นขั้นตอนที่เรามีการพัฒนา LO มาอย่างต่อเนื่อง หาก อ.จีระ หงส์ลดารมภ์ ไม่เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ สิ่งเหล่านั้นก็จะไม่เกิดเป็นองค์ความรู้อย่างนี้

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน

1 Learning Organization องค์กรแห่งการเรียนรู้นอกจากใน ห้องเรียนแล้ว ส่วนที่มุ่งสู่ความสำเร็จ อีกประการหนึ่ง คือ การเรียนรู้ในทุกสถานที่กับกลุ่มบุคคลทุกสาขาอาชีพ

2 Learning Culture องกรได้มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งมีระบบทำให้องค์กรนั้นก้าวสู่ความเป็นเลิศและมีความยั่งยืน

จักริน หงษ์สิงห์ทอง 085-328-0202

วันนี้ได้อะไรบ้างจากการอบรมกับดร.จีระ

1มุมมองด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเห็นคุณค่าของคน

2 หลักวิเคราะห์ทิศทางของเศรษฐกิจในอดีตและในปัจจุบัน

3 รู้ถึงสภาวะขององค์กรต้วเองว่าณปัจจุบันเรายืนอยุ่ ณ จุดใดของการแข่งขัน (เที่ยบกับองค์กรอื่นๆ)

4 รู้แนวคิดขององค์กรอื่นๆ ที่มีการแข่งขันสูงและประสบความสำเร็จได้อย่างไร

ประสิทธิ์ อินทองดี

-ความสำคัญในการแบ่งปันความรู้เฉพาะทาง ให้กับคนในองค์กร เพราะมีส่วนสำคัญมากในการที่จะทำองค์กรไปสู่การแข่งขันระดับโลก

-ประสบการณ์ของตัวเรามีความสำคัญมากต่อองค์กร

ชาตรี ณ สงขลา 081-172-5006

ตัวฉันได้อะไร

จุดประกายในเรื่องการแชร์ความรู้ในองค์กรความรู้หลากหลายของแต่ละคน อาจมีหลายๆ เรื่องนำไปพัฒนาองค์กรได้

มงคลชัย มีชู 081-422-3282

1 Learning Culture พัฒนาต่อยอดจาก KM (tsa ดำเนินการอยู่) เพื่อนำความรู้ในองค์กร Show & Share ในองค์กรให้ครอบคลุมไปในทุกระดับ

วรรณนิภา เพ็ชรวิฑูร 081-648-5131

สิ่งที่ได้ คือ ประโยชน์ของการใฝ่เรียนรู้ และสามารถมองภาพจากสิ่งที่เราได้สัมผัสอยู่ทุก ๆ น ในที่ทำงาน สามารถนำมาเป็นความรู้ให้กับตนเอง และควรถ่ายทอดให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา การเปิดโอกาสให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็น เพื่อประโยชน์ในภาพรวม

วรรณนิภา เพ็ชรวิฑูร 081-648-5131

สิ่งที่ได้ คือ ประโยชน์ของการใฝ่เรียนรู้ และสามารถมองภาพจากสิ่งที่เราได้สัมผัสอยู่ทุก ๆ น ในที่ทำงาน สามารถนำมาเป็นความรู้ให้กับตนเอง และควรถ่ายทอดให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา การเปิดโอกาสให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็น เพื่อประโยชน์ในภาพรวม

ชาตรี ละออไขย์ 089-454-5042

สิ่งที่ได้รับในวันนี้คือ ส่งที่ปูนซิเมนต์ไทยได้ดำเนินการ (วิสัยทัศน์,ภารกิจ,สิ่งที่ทำ) เป็นภาระหน้าที่ที่ได้ผลเกี่ยวกับ LO ทำให้มีความเข้าใจและเห็นผลงานอย่างเป็นรูปธรรม

บุญฤทธิ์ สุขโสภณจิต

1 ได้หลักการคิดเป็นขั้นตอนโดยเริ่ม

1 การควบคุมตัวเอง

2 วิธีการมองให้กว้าง

3 การค้นหาสิ่งใหม่ ๆ

4 การพัฒนาเป็นทีมในการเรียนรู้

5 การนำประยุกต์ไปใช้ได้อย่างต่อเนื่อง

พันธุ์ ช. พหลโยธิน 081-402-2469

ได้รับความรู้เกี่ยวกับความสุขในการทำงานให้การทำงานและเวลา balance กัน

ได้รับความรู้กับประโยชน์ในการเรียนรู้ตลอดเวลาหรือความยั่งยืนของธุรกิจเพระต้องตามทันความผันแปรใน Global

ละเอียด จิตต์จนะ 081-556-3411

ตัวฉันได้อะไร 1 เรื่อง

แต่ก่อนทราบว่า KM มาจากความรู้ Explicit และ tacit แต่หลังจากเรียนแล้ว พอทราบได้ว่ามี KM แล้ว แต่ถ้าไม่มี Learning Culture ก็จะไม่มี Learning Organization ซึ่งการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ จะต้องเกิดจากการใฝ่รู้และการแบ่งปันความรู้

บุญสม เธียรทิพยนันท์ 081-820-1941

ตัวเราได้

Lo ความชัดเจนในการที่จะนำองค์กรไปสู่ Lo อย่างถูกต้องและอยู่กับองค์กรอย่างยั่งยืน

LC ต้องทำให้เกิด LC ก่อนในองค์กรเพื่อนำไปสู่ LO อย่างยั่งยืนในอนาคต

ประสิทธิ์ สีชัง 081-782-3061

เรียนกับอ.จีระ แล้ว สิ่งที่ได้รับคือ การทำให้เรารู้จักตนเอง และจะต้องไปค้นหาตนเองให้มาก ๆ และจะต้องนำเอาไปปฏิบัติเพื่อให้องค์กรมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่ได้ในวันนี้ LC คือการเรียนรู้โดยตัวเองก่อนแต่ให้รู้เรื่องนี้ อย่างจริงจัง แล้วขยายไปหาเพื่อนๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนร่วมงานได้

สิ่งที่ได้เกี่ยวกับ LO คือ การส่งเสริมให้องค์กรแห่งการเรียนรู้ นี้จะต้องเริ่มที่ตัวเองก่อนและสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ไปยังลูกน้องเพื่อนร่วมงาน ให้เกิดการใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ให้ไม่มีที่สิ้นสุด

คุณนิภา

คุณเป็นตัวอย่างที่ดี การมี LC คือใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา นอกจากใฝ่รู้แล้วยังพึ่งตัวเองเป็นหลัก ซึ่งจำเป็นมาก ที่ TSG เพราะวิศวะท่านอื่นๆใช้ได้ แต่ยังไม่มีพลังที่จะเสนอแนะ โดยไม่มี Coach อย่าง ศ.ดร.จีระ มาควบคุม อาจจะไม่มีอารมณ์ใฝ่รู้ คือต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้มากขึ้น ดูตัวอย่าง จากท่านประธานสมพร และคุณฉัตรแก้ว

และหวังว่า 1 วัน/สัปดาห์ จะได้แต่งตัวสบายๆ เชิ้ตตัวเดียว น่าจะดู Relax หน่อย

 

จีระ  หงส์ลดารมภ์

คำแดง พวงจินดา 081-779-4238

ตัวฉันได้อะไร 7 เรื่อง

ปัญญา ปะทะกับปัญหาเกิดปัญหายกกำลัง 5 คือ

การแลกเปลี่ยนความรู้ Show and share ฉะนั้นองค์กรที่ยั่งยืนจะต้องเป็นองค์ที่มีนวัตกรรมเท่านั้น

สุรเนตร เนาว์สุข 081-866-3469

LC ได้เริ่มความเข้าใจที่ดีขึ้นอีกระดับหนึ่ง ในเรื่องวัฒนธรรมการเรียนรู้ เริ่มมีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

LO เริ่มเข้าใจเรื่องผู้สอนต้องเรียนรู้จากผู้ฟังเป็นเรื่องที่ไม่เคยคิดมาก่อน เคยนึกเสมอว่า เราสอนต้องสอนอย่างทิศทางเดียว

ไพฑูรย์ แจ้งเสนาะ 081-934-9677

LC ขั้นต้อนการนำความรู้ KM มาขยายผลเข้ามาในองค์กรโดยผ่านขบวนการ LC เพื่อนำไปปรับใช้

ไพฑูรย์ แจ้งเสนาะ 081-934-9677

LO การแสดงความคิดเห็นจากระดับปฏิบัติการ

การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

การแบ่งปันข้อมูล

ให้โอกาสทุกคนได้เรียนรู้

ธนัฎฐ์ พิมลภัทรกุล 081-914-9431

ได้ความรู้ เรื่อง Value Added เพราะ ผมไม่เคยมอง Value Added ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะข้ามจากความรู้ไปสู่ปัญญา

ประดิษฐ์ จัทร์ประทุม 089-456-9983

สิ่งได้ในวันนี้

LO การจัดการองค์ความรู้ ในรูปแบบ Expisit เพื่อให้ ทุกคนในองค์กร Sharing ความรู้ที่ต้องการ

LC การกำหนดทิศทางให้ชัดเจนในการนำองค์กรไปในทิศทางที่พัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืน

ประดิษฐ์ จัทร์ประทุม 089-456-9983

สิ่งได้ในวันนี้

LO การจัดการองค์ความรู้ ในรูปแบบ Expisit เพื่อให้ ทุกคนในองค์กร Sharing ความรู้ที่ต้องการ

LC การกำหนดทิศทางให้ชัดเจนในการนำองค์กรไปในทิศทางที่พัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืน

ธานินทร์ ประเสริฐ 089-506-3082

สิ่งที่ได้รับในการอบรม LO

สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ไม่เบื่อมีการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ

สามารถจะไปกระตุ้นทีมผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีการขยายผลต่อไป

นายไพโรจน์ เสรีวัลลภ

“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”

1. ทางชีวิตสองแชมป์

กล่าวถึงประวัติของ อ.พารน กับ อ.จีระ และทั้งสองท่านก็ให้ความคิดที่ว่า “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร” และที่มาของชื่อ “สถาบันทรัพยากรมนุษย์” ก็เกิดขึ้นโดย อ.จีระ และจุดแข็งที่ อ.จีระ มีมาตลอดคือ ความริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความกล้าที่จะทำงานเพื่อเดินไปสู่เป้าหมาย

2. คัมภีร์คนพันธุ์แท้

กล่าวถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กลยุทธ์ต่างๆรวมถึง กลยุทธ์บันไดแห่งความเป็นเลิศ 4 ขั้น คือ (1) ลองทำอะไรที่เริ่มจาก GOOD IDEAS ACION สู่ผลสำเร็จ (2) อย่าทำอะไรโดยไม่มี PRIORIY (ต้องมี FOCUS (3) ทำโดยให้มี PARTICIPATION ของทุกคน ทุกระดับ (4) ทุกโครงการต้องมีผู้เป็นเจ้าของ และได้ข้อคิดที่ว่า องค์กรเต็มไปด้วยคนเก่ง แต่คนเก่งเหล่านั้นกลับมีปัญหาในการทำงานเป็นทีม ย่อมไม่เกิดประโยชน์หากปราศจากความเป็นคนดี ด้วย

3. จักรวาลแห่งการเรียนรู้

กล่าวถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประชาชน

4. สู่การเพิ่มผลผลิต

กล่าวถึงแนวคิดเรื่องการเพิ่มผลผลิต PRODUCTIVITY ให้กับประเทศโดยการให้การสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อการแข่งขันระดับประเทศ

สมชัย เหลืองวารี

คนนับเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลกอันได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำขยายไปยังทั่วโลก และปัจจัยเรื่องน้ำมันเป็นตัวเร่งที่ทำให้องค์กรต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ในปัจจุบันและในอนาคตความต้องการของคนจะเลย Want Need ดังนั้นองค์กรที่จะอยู่รอดได้ต้องรักษาบุคลากรไว้เพื่อสร้างกลยุทธ์ให้กับองค์กร

ประโยชน์ที่ได้รับในการรักษาทรัพยากรมนุษย์

การลงทุนไปกับการสร้างทรัพยากรมนุษย์ นับได้ว่าเป็นสิ่งที่องค์กรที่จะอยู่รอดได้ใน ปัจจุบันและอนาคต องค์กรจะต้องสร้างคนตั้งแต่รับเข้ามาจนกระทั่งขึ้นจุดสูงสุด โดยการสร้างกลยุทธ์ในแต่ระดับ สิ่งที่ตามมาคือ ความอยู่รอดขององค์กรในปัจจุบันและในอนาคต

นายเอกสิทธิ์ สกุลเรืองศรี

สมัยเมื่อ 20 ปีที่แล้วการพัฒนาบุคลากร แตกต่างกับสมัยปัจจุบันเป็นอย่างมาก

สมัยก่อน คนคือ ต้นทุนการผลิต

สมัยปัจจุบัน คนคือ ผลกำไร

การพัฒนาบุคลากร เป็นเรื่องที่ตื่นตัวกันมากหลายๆองค์กรมีการลงทุนเรื่องนี้อย่างจริงจังมาถึงปัจจุบันต้องยอมรับว่าองค์กรใหญ่ๆที่ลงทุนกับ “คน” แล้วธุรกิจประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับของหลายๆองค์กร คือ “เครือซิเมนต์ไทย”

“คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร” เพราะฉะนั้นเรื่องคุณภาพของคนกับเรื่องของการเพิ่มผลผลิต เป็นของคู่กัน และเป็นความสมพันธ์ที่สำคัญที่สุดที่จะนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและเกิดความยั่งยืน

การพัฒนาบุคลากร มันยังสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมองค์กรที่มีความมุ่งมั่น ทำให้คนมีศักยภาพ มีการให้โอกาสในการทำงาน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโส คนที่สามารถนำพาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จไต้องเป็นคนประเภท “คนเก่ง - คนดี”

วรรณนิภา เพ็ชรวิฑูร

• อยู่ดีๆมาตั้งให้ผมเป็นผู้อำนวยการ ท่านว่าผมทำได้ ผมก็เลยจำเป็นต้องทำผู้ดูแลนโยบายเรื่องคนของ ปูนซิเมนต์ไทย ตั้งแต่เขาเดินเข้ามาทำงานกับบริษัทเรา เขาจะได้รับการอบรมเอาใจใส่ดูแลจนกระทั่งวันที่เขาเกษียณอายุออกไป เพราะผมเชื่อว่าองค์กรจะดีเพราะมีคนเก่ง องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่ง และคนไม่ดี นั้นคือที่มาของความคิดที่ว่า “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร”

• และเมื่อเขาก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทยในปี 2528 การเพิ่มผลผลิตถูกกำหนดเป็นเป้าหมายที่สำคัญขององค์กร ในปี 2534

พารนฯ ได้นำระบบ TQM Total Quality Management มาใช้เป็นนโยบายหลักของทุกบริษัทในเครือ ซิเมนต์ไทย กล่าวได้อย่างเต็มปากว่า ภายในการนำของ พารน อิศรเสนา ณ อยุธยา ทำให้ปูนซิเมนต์ไทยกลายเป็นบริษัทคนไทยแห่งแรกที่เริ่มลงมือ ปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิต และคุณภาพควบคู่ไปกับการพัฒนาคนอย่างจริงจัง

• บริษัทข้ามชาติอย่าง เชลล์ เอสโซ่ ไอบีเอ็ม ลีเวอร์บราเทอร์ จะมีการจัดระเบียบองค์กรเป็นระบบทุกอย่างเช่น มี Personnel Manual Accounting Manual และAuthority Manuel ต่างๆ เป็นต้น เหนือสิ่งอื่นใด คือ การดูแล “คน” อย่างดี เพราะมีแนวคิดว่าคนเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กรงานจะสำเร็จได้ด้วยคน จึงมีแผนพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

• ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำให้การเพิ่มผลผลิต ประสบความสำเร็จก็คือ ความ จงรักภักดี และความมีวินัยของคนในองค์กร ซึ่งก็โชคดีที่วัฒนธรรมองค์กรของเครือซิเมนต์ไทย คือ ความเป็นผู้มีวินัย มีความเข้าใจร่วมกัน และเห็นพ้องกัน แล้วก็ทำกันอย่างพร้อมเพียงให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว

• ทั้งจะลืมเสียมิได้ว่า “คนจริง” อย่างเขาได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการริเริ่มก่อตั้ง “สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ” ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 18 มกราคม 2537 ก่อนจะได้รับรางวัล APO National Award ประจำปี 2543 ขององค์กรเพิ่มผลผลิตของเอเชีย หรือ APO - Asian Productivity เป็นกำลังใจ ค่าที่เขาได้ทุ่มเทสร้าง ความรู้ความข้าใจให้ภาครัฐ และเอกชน ว่าการเพิ่มผลผลิตคือ กุญแจสำคัญในการยกระดับ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ของทุกกิจการในเมืองไทย

นางสาวพิทยารัตน์ ต้นโพธิ์

เมื่ออ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” แล้วมองกลับมาตัวเองคิดอย่างไร

ทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อองค์กร เหมือนตัวเรา คือ เครื่องจักร เป็นต้นทุน ทุกปีมีการใช้งานมีค่าเสื่อม ทำงานตามคำสั่งของมนุษย์ที่เขียนโปรแกรม แต่ตัวเราเป็นสิ่งที่มีคุณค่าไม่ใช่ “ต้นทุน” ยิ่งนาน คุณค่า ความรู้ ประสบการณ์ ยิ่งมากขึ้นโดยรับรู้ได้จากเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตั้งแต่เข้าไทยซัมมิทมา และองค์กรให้ความสำคัญแก่บุคลากร ที่ถึงแม้จะมีอายุน้อย ก็ส่งเสริมให้ก้าวสู่ระดับบริหาร เป็นตัวอย่างเช่นเดียวกับวัฒนธรรมองค์กรของธรรมศาสตร์ที่เปิดโอกาสให้คนที่มีศักยภาพ และให้โอกาสในการทำงานโดยไม่ได้ดูเรื่องอาวุโส นอกจากนั้นที่คำนึงถึงคือ คุณสมบัติ 3 ประการ ที่ตัวเองควรมีก่อน แต่ปัจจุบันยังทำไม่สำเร็จ คือ

• ความคล่องแคล่วในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันผ่านแต่ภาษาไทย ภาษาอังกฤษยังไม่ถึงดวงดาวเลย

• เทคโนโลยี ไปมาหลายประเทศ แต่คิดว่ายังไม่กว้างพอ

คุณธรรม ซึ่งสร้างไม่ได้ง่ายๆ เป้าหมายดังกล่าวจะสำเร็จไปไม่ได้ ถ้าไม่มีความตั้งใจ

ประดิษฐ์ จันทร์ประทุม

1. การที่จะกระตือรือร้นในการเรียนรู้ เพื่อที่จะทำให้ตัวเรามีโอกาสในการได้รับสิ่งใหม่ๆ เข้ามา ในชีวิต โดยเฉพาะแนวคิดที่ท่านทั้ง 2 ได้แนะนำว่า บริษัทจะก้าวไปสู่ระดับโลกได้ มี 3 ประการ

- ความรู้ในด้านภาษาอังกฤษ ยอมรับว่าเด็กมีความชำนาญในภาษาอังกฤษน้อยมาก

- ต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ให้ทันสมัย

- ต้องมีคุณธรรม ทั้งตัวเอง และผู้ใต้บังคับบัญชา

2. สิ่งที่ชอบมาก คือ การมี Mediation ในองค์กรที่เป็นทำ เพื่อให้บุคลากรทำงานอย่างมี ความสุข มีรูปแบบการประเมินที่ชัดเจน

3. จากที่ได้อ่านเจอพบว่า คนที่ไม่ค่อยพอ แต่ทำงาน เราจะทำอย่างไรกับคนประเภทนี้ ซึ่งในส่วนตังเจอมามาก เราจะต้องเข้าไปพูคุยทำความเข้าใจว่าเขาเองก็ไม่เดียวดาย องค์กรยังมองคนที่มีความสามารถ

3. การเรียนรู้จะไม่ทำให้ชีวิตตกต่ำ มีแต่ทำให้ไปอยู่ในที่ ที่ดีเสมอ รวมถึงการกระจายความรู้ให้มากที่สุดจะทำให้องค์กร มีความมั่นคง และยั่งยืน

ประพัฒน์ เจริญนิชชการ

HR Human หรือทรัพยากรมนุษย์ ของทั้งสองท่านไม่ได้คิดอยู่กับแนวความคิดเดิมๆแบบแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาความขดแย้งด้านแรงงาน แต่กลับระลึกในแนวการสร้างมูลค่าเพิ่ม มุ่งมั่นกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กบทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร “ให้การศึกษา บริหารจัดการ และพัฒนาคนให้มีความสามารถสู้กับโลกได้”

“คน” คือ ผลกำไรที่แท้จริงขององค์กร ที่ต้องรับการดูแลเอาใจใส่เพิ่มศักยภาพ โดยการพัฒนาอย่างจริงจังสม่ำเสมอและเป็นระบบ

เก่ง 4 ดี 4

เก่ง 4 - เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน

ดี 4 - ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม

อุดมการณ์ 4 ประการในการทำธุรกิจ

• ตั่งมั่นในความเป็นธรรม

• มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ

• เชื่อมั่นในคุณค่าของคน

• ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม

• Human Capital

• Intellectual Capital

• Edificial Capital

• Happiness Capital

• Social Capital

• Sustainer Capital

• Digital Capital

• Filner Capital

นายบุญฤทธิ์ สุขโสภณจิต

ได้แนวคิดการปรับปรุงในเรื่อง ของการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร โดยนำหลักการคิดอย่างเป็นระบบ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มกำหนดตั้งแต่รับ Top จนไปถึงระดับล่าง ให้มีส่วนร่วมออกความเห็น และแนะนำเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงภายในองค์กร โดยกำหนดหัวข้อให้มีการอบรมแก่พนักงาน หัวหน้างานระดับจัดการ ในส่วนที่นำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่ม TSA ก็มีในเรื่องของการอบรม โดยกำหนดหัวข้อให้สอคล้องกับการทำงาน และกำหนดหัวข้อการสร้างผู้นำในองค์กร และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคนโดยการหมุนเวียนตั้งแต่ระดับหัวหน้า จนไปถึงระดับจัดการในการทำงานในแต่ละแผนกเพื่อให้เกิดความหลากหลาย และรู้ระบบในการทำงานภายในองค์กรเพื่อนำไปปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในบางจุดเนื่องจาก พนักงาน หรือ ระดับจัดการ ซึ่งมีอายุงาน 10-20 ปี ซึ่งบางส่วนไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการหมุนหน้าที่การทำงาน ซึ่งต้องกำหนดหัวข้อการอบรมให้กับกลุ่มพวกนี้ให้มีการพัฒนาปรับปรุง และสอนงานให้แก่พนักงานรุ่นหลังให้ตระหนัก และที่สำคัญเพื่อให้มีจิตสำนึกในการรกองค์กร

นายธรรมนูญ ปื้มละมัย

จากการที่กระผมได้อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ซึ่งเป็นบทสนทนากับบุคคลสำคัญ นักคิด และ นักปฏิบัติแห่งยุค ได้ใจความที่เป็นประโยชน์ต่อ บริษัทไทยซัมมิท ดังจะกล่าวต่อไปนี้ ผมขออ้างอิงบันไดแห่งความเป็นเลิศ องค์กรเอกชนขนาดใหญ่ ได้ให้ความสำคัญ HRเป็นยุทธศาสตร์ Strategies ในกลยุทธ์ต้องดำเนินการ ซึ่งจะขอเปรียบเทียบ กับบริษัทไทยซัมมิท ไปพร้อมกัน

ยุทธศาสตร์ HR

• องค์กรและผู้นำจะต้องมีปรัชญาในการบริหารคนเป็นสำคัญ

• การเตรียมบุคลากร สอดคล้องกับ อนาคตธุรกิจ

• การลงทุนในการสร้างศักยภาพของคน Learning Organization

• การเพิ่ม Productivity ในองค์กร

• การนำ Infuriation AND Corium Negation Technology มาสนับสนุนการทำงาน

• เรื่องของคุณภาพชีวิต จะต้องให้คนมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี

• ตองสร้างบุคลากรให้เข้าไปสู่สังคม โลกาภิวัตน์ Global Knowledge

ยุทธศาสตร์ TSA

• ผู้นำได้ดำเนินการโดยมี Before We Built Pares We Duct People

• มีแนวคิด แต่แนวปฏิบัติไม่ชัดเจน HI. POT

• มีแนวคิดและมีวิธีที่จะปฏิบัติ แต่ยังไม่เป็นผล

• เป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญมาก

• มีการนำเทคโนโลยี Mail Internet SAP

• การพัฒนา ภาษา เพื่อธุรกิจ การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ

หนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์ เป็นมุมมองที่โรงงานจะต้องหันมามองบุคลากร ดังสโลแกน “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร” ธุรกิจจะเจริญก้าวหน้าไม่ได้ถ้าไม่พัฒนาคน หนังสือเล่มนี้ให้ทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติซึ่งจะก่อประโยชน์เป็นอย่างมากเมื่อไทยซัมมิท ศึกษาวิเคราะห์แล้วนำไปใช้

นาย ธนัฏฐ์ พิมลภัทรกุล

ประโยชน์ในการอ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ต่อตัวเอง

• อ่านแล้วทำให้กล้าฝัน เชื่อในฝัน กล้าออกนอกกรอบ

• กลับมาทบทวน การดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ทำให้ลูกน้องทำงานได้อุ่นใจ

• ให้เปิดรับความรู้ทั้งฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก สร้างสมดุลของความรู้สะสมทั้งความรู้ด้านเทคนิค และด้านบริการ

• การพัฒนาตนเองต้องมองทั้ง Capability ควบคู่กับ Acceptability

• เป็นผู้นำแบบที่ Count ให้ทีมงานดู จุดอ่อน จุดแข็ง

ประโยชน์ในการอ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ต่อ TSA

• บริษัทควรมีมุมมองด้านการพัฒนาพนักงาน ให้มองว่าการลงทุนให้ความรู้ คือการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้มากขึ้น

• การตอบแทนด้วยเงิน ไม่ใช่คำตอบทุกอย่าง ลองพิจารณาการตอบแทนด้วยใจ หรือบรรยากาศในการทำงานที่ดีก็สามารถสร้างแรงจูงใจในการพัฒนางานได้

• พัฒนาเครือข่ายทั้งลูกค้า Supplied พนักงาน ครอบครัว และเครือข่ายธุรกิจอื่นๆ ให้ความรู้กับเครือข่าย

• การฝึกอบรมให้มองเป็นหน้าที่ขององค์กร ผู้บริหาร และพนักงานเอง

• สร้าง Loyally จาก Trust

• การ Reengineering ทำทุก 5 ปี การผ่าน Job Rotation บ่อย คือ สัญลักษณ์การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ชอบ ชอบที่กลุ่มปูนส่งคนเข้าไปร่วมก่อตั้ง SKI Siam Kubota Industry ร่วมทุนกับต่างชาติเป็นบริษัทแรก (นั้นคือ SKIกำลังจะล้ม) กลุ่มปูนเข้าไปทำให้การตลาดแข็งแกร่งขึ้นมา (ตัวแทนจำหน่าย)

• ต้องทำให้สำเร็จ

• ต้องมีบารมี

• ต้องยั่งยืน และ เติบโต

บุคคลเจริญได้ด้วยจริยธรรมในการดำเนินชีวิต บริษัทก็เจริญได้ด้วยการดำเนินธุรกิจที่มีจริยธรรมสร้างองค์กรให้มีบรรยากาศของครอบครัว

• มีความพึงพอใจในงานที่ทำในที่ทำงาน

• มีงานที่ท้าทายมีโอกาสก้าวหน้า

ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ในอคติเรามีทรัพยากรธรรมชาติมาก เราจึงอย่าประมาท เราอาศัยทรัพยากรให้เศรษฐกิจเติบโตได้ (เราขาด Productivity ของคน)

นายจักริน หงษ์สิงห์ทอง

(1) ทราบที่มาของสถาบันทรัพยากรมนุษย์ เกิดมาจากจุดแข็งของ ศ.ดร.จีระ ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความกล้าที่จะทำงาน เพื่อสู่เป้าหมาย และต้องมองว่า “คนเป็นสมบัติที่มีค่าขององค์กร”

(2) กลยุทธ์ บันได แห่งความเป็นเลิศ 4 ขั้น

• เริ่มทำอะไรจาก Good IDESA

• อย่าทำอะไรโดยไม่มี Priority

• ทำให้มี Participation ทุกระดับ

• ทุกโครงการต้องมีเจ้าของหรือผู้รับผิดชอบ

(3) ทราบถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สู่ ประชาชน

(4) การเพิ่มผลผลิต Productivity ให้กับประเทศโดยการให้การสนับสนุน จากภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อไปสู่การแข่งขันระดับประเทศ

นายชนินทร์ ประเสริฐ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คนส่วนมากจะนึกถึง อ.จีระ เป็นอันดับแรก คงเป็นเพราะคนเป็นเพราะการให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง และทำมาอย่างต่อเนื่อง ท่านมีความพยายามทำให้สำเร็จเป็นคนที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์กว้างและเป็นคนที่จุดยืนในตัวเอง

การที่จะทำอะไรให้สำเร็จเราต้องมีความเชื่อในสิ่งนั้นเสียก่อน ถ้ามีความเชื่อหรือความศรัทธาว่าสิ่งที่เราจะทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี และเป็นประโยชน์มันก็จะทำให้เราเกิดความมุ่งมั่น และกำลังใจ และนำพาเราไปสู่ความสำเสร็จ

คนเราอาศัยความรู้อย่างเดียวไม่ได้ต้องมี SKILL หรือ ทักษะต้องมีความสามารถจึงจะทำให้คนที่มีศักยภาพ

ปรัชญาในการพัฒนาบุคคลที่สำคัญมีอยู่ 3 ประการคือ

• ความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน

• ความรู้สึกในว่าพนัก คือ คนในครอบครัว

• ความรับผิดชอบที่จะทำให้ทรัพยากรบุคคลของบริษัทมีทั้งราคา และคุณค่าสอดคล้องกัน

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร ให้การศึกษา บริหารจัดการ และพัฒนาคนให้มีความสามารถสู้ได้ในโลก

องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและคนดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งไม่ดีนั้นคือที่มาของความคิดที่ว่า “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร”

การเพิ่มผลผลิต Productivity Improvement นั้นเป็นส่วนหนึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งกันและกันอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด มีประโยชน์มหาศาลต่อองค์กร

การลงทุนเพื่อพัฒนาสมอง หรือ สร้าง Knowledge สะท้อนบุคลิกความเป็นผู้ใฝ่รู้ หรือ Learner

นิภา อัครจันทโชติ

บทสนทนา กล่าวถึง มนุษย์ คือ ทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร ดังนั้น การสร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (องค์กรแห่งการเรียนรู้) จึงเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญในการสร้างให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กรนั้น ทั้งนี้ในการสร้างคน โดยให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ท่านผู้รู้ทั้งสองท่านได้กล่าวถึงเครื่องมือต่างๆได้แก่

• ทฤษฏี 3 วงกลม ซึ่งเป็นสูตรสำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลง Changing Management ได้แก่ Context แรงจูงใจให้คน

• มนุษย์เป็นต้นทุนขององค์กรซึ่งเป็นต้นทุนที่จำเป็นต้องมีการลงทุนโดยกล่าว 8K Human Capital, Intellectual Capital, Ethical Capital, Happiness Capital, Social Capital, Sustainable Capital, Digital Capital, และ Talented Capital

• ต้นทุนข้างต้นนำมาสู่แนวคิดเชิงความชื่อ และศรัทธา ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก คือ คุณภาพของคน ความเชื่อของผู้บริหารระดับสูง ทัศนคติของฝ่ายจัดการ และ ปลูกฝังให้พนักงานพัฒนาตนเอง

• บันไดแห่งความเป็นเลิศ 4 ขั้น คือ (1) ลองทำอะไรที่เริ่มจาก Plan Do Check Action (2) ต้องจัดลำดับ และมีความมุ่งมั่น Priority & Focus (3) ทุกคนมีส่วนร่วม Participation (4) ความเป็นเจ้าของOwnership

• คุณสมบัติ 3 ประการของคนไทยการก้าวไปสู่ระดับโลก Global คือ (1) คล่องแคล่วภาษาไทย ภาษาอังกฤษ (2) เทคโนโลยี และ (3) คุณธรรม

• คน ไม่ได้หมายถึง คนในองค์กรเท่านั้น ในโลกแห่งการแข่งขันปัจจุบัน ต้องมอง คน ภายนอกด้วย ได้แก่ลูกค้า Supplier

หลังจากที่ได้อ่านหนังสือเรื่อง “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” และกระผมได้รับดังนี้

ในด้านส่วนตัว

• ได้ทราบแนวความคิด และวิธีการทำงานของ คุณพารนฯ เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสะท้อนออกมาในคำพูดที่ว่า “จักรยานนานไปก็เสื่อม แต่คนถ้าทำนุบำรุง พัฒนา ยิ่งนานยิ่งเก่งกล้า แต่ทำนองเดียวกัน คนถ้าไม่ดูแลก็เสื่อม หรือเสื่อมเร็วกว่าวัตถุด้วย”

• ได้ทราบแนวคิดของ อ.จีระ ที่พยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ KR. ว่ามีความสำคัญในระดับเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ

ในด้นที่บริษัทฯ

• ถ้าบริษัทฯ สามารถที่จะดำเนินการในสิ่งที่หนังสือนี้พยายามที่จะสื่อให้เห็นแล้วในเรื่องของการพัฒนาคน บริษัทฯ ก็จะสามารถมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับโลกได้อย่างยั่งยืน

จากการอ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” สรุปได้ว่าทรัพยากรมนุษย์มีคุณค่ายิ่ง และมีความสำคัญสูงสุดขององค์กร การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุนโดยไม่ควรคิดเป็นต้นทุน และจะต้องหมั่นดูแลพัฒนาให้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะประสบผลสำเร็จได้ ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ คือ การคัดเลือกคนดี คนเก่ง เข้ามาทำงานในองค์กร โดยไม่มีระบบเด็กเส้นเด็กฝาก ผู้บริหารของบริษัทต้องลงมือทำอย่างจริงจังและเป็นธรรม เปิดโอกาสให้พนักงานอย่างเท่าเทียม มีทัศนคติที่ดีในการบริหารจัดการ คือให้ความสำคัญกับพนักงานทุกระดับชั้นในองค์กร และปลูกฝังให้พนักงานรู้จักพัฒนาตนเอง ให้การศึกษา จัดฝึกอบรมเพื่อจูงใจให้ทุกคนมุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้ทันยุคสมัย สำหรับแนวคิดเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยนั้น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ คุณพารน อิศรเสนา ณ อยุธยา ถือเป็นนักวิชาการชั้นแนวหน้าที่ริเริ่มสร้างแนวคิดให้กับสังคมจนเป็นที่ยอมรับ ทั้งยังเป็นพลังช่วยผลกดันเรื่องกฎหมายแรงงานตางๆ อาทิ กฎหมายประกันสังคม มีส่วนผลักดันในการก่อตั้งกระทรวงแรงงาน อันสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับคนไทยทั้งชาติ และเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ

เป็นหลักการบริหารที่เน้นความสำคัญของ “คน” ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร โดยเน้นความมีส่วนร่วมของพนักงาน ให้เกิดความผูกพันกับบริษัท ซึ่งจะได้ทราบหน้าที่ของหัวหน้าที่พึงมีต่อลูกน้อง เพื่อให้ลูกน้องเกิดความสุข ความอบอุ่น โดยพื้นฐานของคน เมื่อมีสิ่งนี้แล้วต้องมีฐานรากที่มั่นคงในการสร้าง ผลงานที่ดี และเป็นที่ภูมิใจของชีวิต.. โดยเริ่มจากการปลูกฝังผู้บริหารให้เข้าใจว่า “การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุน Investment ของบริษัทที่ไม่ใช่ต้นทุน Cost และ สร้างบุคลิกภาพให้เป็นผู้ใฝ่รู้”

คุณสมบัติที่ผู้บริหารควรมี มิใช่แต่จะเป็น คนเก่ง และดี เท่านั้น แต่จะต้องเป็นผู้ใหญ่ที่ให้ความอบอุ่นด้วย ซึ่งสิ่งนี้จะสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน หรือลูกน้อง ให้ทำงานอย่างมีความสุข และนำมาซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และจะสามารถสร้างองค์กรให้ยั่งยืน ซึ่งเราสามารถสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมขององค์กรได้ ด้วยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ คือการแสดงความชื่นชม แสดงความกระตือรือร้น เมื่อเราเห็นผลงานของลูกน้อง สิ่งนี้จะทำให้พวกเขาเกิดความภูมิใจ และมีความสุขที่จะสร้างผลงานชิ้นต่อๆไป

จากการอ่านได้เข้าใจว่า ต้นแบบที่ดีของผู้นำต่อลูกน้อง และสร้างผลสัมฤทธิ์ในการบริหารอย่างงดงาม คือ

• ใช้ระบบความสัมพันธ์อย่างพี่น้อง สร้างความอบอุ่นอย่างคนในครอบครัว

• มีความเชื่อในคุณค่าของคน

• ให้การดูแลทุกข์สุขอย่างคนใกล้ชิด เช่นร่วมทานอาหารด้วยกัน เพื่อที่จะรับฟัง ความรู้สึก ปัญหา หรือข้อเสนอแนะโดยตรงจากพนักงาน

• การทำงานเป็นทีม

• เดินสู่สนามของคนสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ ดร.จีระ ไม่ได้จบการศึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์โดยตรง เพียงแต่เคยทำวิทยานิพนธ์ หัวข้อที่สืบเนื่องกับประชากร จึงมีโอกาสเข้ามาสร้างทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทำได้สำเร็จ

• ดร.จีระ เป็นคนไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค์ ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ทำอะไรทำจริง และทำอย่างต่อเนื่อง

• เป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม หลังเกษียณก่อนกำหนดท่านได้ทำสื่อมากขึ้น วิพากษ์ วิจารณ์ การเมือง

• มีบุคลิกลักษณะแบบ Global วงจรชีวิตที่ปฏิสัมพันธ์กับชนต่างชาติ และหลากหลาย เป็นส่วนช่วยเสริม

• ความเป็นผู้ใหญ่

ซึ่งจาก 5 ประเด็นข้างต้นสามารถนำไปพัฒนาองค์กรได้ นอกจากนี้จากการอ่านพอสรุปได้ การให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ อย่างเอาจริงเอาจัง สามารถที่จะเปลี่ยนองค์กรไปในทิศทางที่จะพัฒนาขึ้น

พันธุ์ ช. พหลโยธิน

จากหนังสือจะบรรยายถึงความเห็น และข้อคิดต่างๆของ คุณพารน ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร ซึ่งทั้งหมดนี้หากได้นำมาใช้กับบริษัทฯ ในเครือ TSG จะได้ภาพขององค์กรที่ยั่งยืน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นให้องค์กรยั่งยืนในสภาพโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีการผันแปรอยู่ตลอดเวลา คุณพารน จะเน้นคนเก่ง คนดี เน้นปรัชญาและความเชื่อ ความสำเร็จที่ใช้เวลามีการพัฒนาทั้งระบบ Hardwareและ Software มี Benchmark ในการลงทุนจาก Pay Roll ส่วน ศ.ดร.จีระ จะมองถึงการทำอย่างต่อเนื่อง และต่อเนื่องโดยมองให้กว้าง และไกล ใช้จังหวะที่เหมาะสม และรวดเร็ว ติดตาม และให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ บริหารแบบ Shift Paradigm

การอบรมถ้าเน้น General Training มากเกินไป อาจมีปัญหาทางสมองไหลได้ แต่การบริหารที่ดีจะทำให้พนักงานรักองค์กร โดยมีส่วนร่วมเสมือนเป็นเจ้าของ คุณภาพการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ การสร้างวัฒนาธรรมแห่งการเรียนรู้จะช่วยได้ การวัดผลจากการศึกษาอบรมอย่างเดียว ไม่ได้ต้องดูจากความสามารถในการสร้างการผลิตด้วย

ในท้ายเล่มมีเรื่องแนวคิดการปรับองค์กรแบบ Re Engineering ที่สัมภาษณ์ Dr. Michael Hammer โดยเน้นการเข้าใจ Concept ที่ว่า วิธีการต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะอยู่น่าโลกที่ต้องการแข่งขัน องค์กรได้ ถ้าอยากจะปรับปรุงต้องมีผู้นำที่เข้มแข็ง แลต้องศึกษากระบวนการที่เป็นสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องวัดความเปลี่ยนแปลงนั้นได้ และลูกค้าต้องพอใจฉะนั้นต้องทำความเข้าใจกับพนักงานเป็นอย่างดี ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น Re Engineering มีสองเรื่องสำคัญ คือการจัดการเทคโนโลยีกับการจัดการคน

ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นองค์กรที่สำคัญที่สุดขององค์กร มีความเชื่ออย่างมากว่าหากมีการพัฒนาเป็นอย่างดี องค์กรจะอยู่ได้ต้องลงทุนเรื่องคนซึ่งจะมีมูลค่าเพิ่มในระยะยาว องค์กรนั้นๆจะรับประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตเพิ่มขึ้น มีจิตสำนึกก้านการบริการที่ดี สถานที่ทำงานน่าอยู่ปลอดภัย หากมองภาพใหญ่ในการแข่งขันระดับประเทศแล้วต้องได้รับความร่วมมือจาก 4 องค์กร คือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคนักวิชาการ และภาคแรงงาน ซึ่งทำให้ประเทศแข่งขันกับระดับประเทศได้ วิชาที่ต้องได้รับการส่งเสริม คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการผลิต หรือ การใช้เทคโนโลยีช่วย เช่นคอมพิวเตอร์

“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”

ความเชื่อ และความศรัทธา คนเป็นทรัพย์สิน Asset ที่องค์กรจะต้องมีนโยบายการบริหารด้านนี้ Dsts

• Information

• Knowledge

• Value added จุดนี้ที่องค์กรทั่วไปยังมีข้อข้องใจกับการเพิ่มคุณค่าของคน วัดผลอย่างไร

• Wisdom

• Intellectual Capital ความสามารถในการคิด

• Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม คุณภาพของคน

คุณทวี กิจคุณาเสถึยร

ขอแสดงความนับถือ

คุณทวี  กิจคุณาเสถียร

คุณคำแดง พวงจินดา

ขอแสดงความนับถือ

คุณคำแดง  พวงจินดา

คุณธรรมนูญ ยิ้มละมัย

ขอแสดงความนับถือ

คุณธรรมนูญ  ยิ้มละมัย

คุณยงยุทธ ธนอัญญาพร

ขอแสดงความนับถือ

คุณยงยุทธ  ธนอัญญาพร

คุณธนัฎฐ์ พิมลภัทรกุล

ขอแสดงความนับถือ

คุณธนัฎฐ์  พิมลภัทรกุล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท