การเดินทางสู่การเป็นผู้ปฏิบัติการขั้นสูงสาขาการให้ยาระงับความรู้สึก


เรื่องยากๆ ในชีวิต ที่สามารถพิชิตได้ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจ โอกาสก็เป็นของผู้แสวงหา (เสมอ)

หลังจากกลับมาทำงานเป็นวิสัญญีพยาบาล เราได้ประสบการณ์ใหม่สุด ๆ ทั้งสถานที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานที่มีแต่ผู้ทรง (ศีล) วัยวุฒิ การทำงาน การอยู่เวร การหมุนเวียนปฏิบัติงานในการให้ยาระงับความรู้สึกแต่ละแผนกเช่น ศัลกรรมทั่วไป ศัลกรรมเด็ก ศัลกรรมประสาท ศัลกรรมตกแต่ง ศัลกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ ศัลกรรมทรวงอกและหลอดเลือด  ศัลกรรมกระดูกและข้อ  การผ่าตัดทางสูติ-นรีเวช  การผ่าตัดจักษุ การผ่าตัดโสต ศอ นาสิก  บอกได้เลยว่าโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิแห่งนี้เป็นสถานที่ที่สั่งสมความเชี่ยวชาญทางคลีนิค ได้เป็นอย่างดี

แต่เมื่อการทำงานแบบเดิมๆ (routien) ที่ทำมา 5 ปี มันยังทำให้เรารู้สึกว่าเรายังขาดอะไรอีกหรือป่าวในชีวิตซึ่งจำได้ว่าเราจะต้องเรียนต่อปริญญาโท (ถ้ามีโอกาส) และแล้วโอกาสก็เป็นของผู้แสวงหา (เสมอ) เราสอบได้เรียนต่อในหลักสูตรปริญญาโท สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ ภาค (พิศดาร) พิเศษที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียนวัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์  งานเยอะและเรียนหนักเอาการเลย การบ้านเยอะ แต่เชื่อมั้ย.. ด้วยพื้นฐานของการเรียนวิสัญญีทำให้เราได้เปรียบเพื่อนๆ ในบางวิชา เช่น patho & phamacology โดยสามารถทำคะแนนได้ดีและทำให้เรามองคนไข้ได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น  ตอนเรียนไม่รู้หรอกว่าจะเอาไปปรับคุณสมบัติอะไรบ้าง รู้แค่อยากเรียน สิ่งนี้เป็นแรงผลักดันให้เราต้องก้าวไป เรียนไป ถ้าเกิดอาการท้อก็หยุดและหา social support หรือ หาที่ปรึกษาสักคน เช่น รุ่นพี่ ที่เรียนสาขาเดียวกับเราเพราะน่าจะช่วยเราได้ จากประสบการณ์ของเค้าไง ต้องตอบโจทย์นี้ได้แน่นอน และนอกจากนี้ต้องได้อาจารย์ Advisor ที่พูดคุยกันได้ มองเห็นในแบบเดียวกัน ต้องขยันเข้าหาแลกเปลี่ยนพูดคุย ส่งงานตามเวลาอย่าเหลวไหล เพราะ สอนกันแบบ Adult learning จริงๆ   มีกลุ่มเพื่อนที่รู้ใจสัก 3 - 4 คน ช่วยๆกันเรียน ช่วยกันทำงาน รับรอง จบภายใน 2 ปี แน่นอน  เรื่องยากๆ ในชีวิต ที่สามารถพิชิตได้ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจ

         

 

                                               

หลังจากนั้นพักผ่อนสัก 1 - 2 ปี พักสมอง แต่ระหว่างนี้ก็สืบค้นข้อมูลทางอิเล็กโทรนิกมานั่งอ่าน นั่งแปล เล่น ๆ ไม่ได้เก่งหรอกนะ อ่านเรื่อยๆ ทำให้เราเกิดความคิด เปิด โลกทัศน์ ให้ตัวเราเอง  แบบว่านอกจากกะลานี้แล้ว ยังมีโลกที่กว้างใหญ่อีกนะ  แล้วลองคิดดูว่าอยากพัฒนาอะไรในงานที่เราทำอยู่บ้าง เช่น นำดนตรี เพลง มาใช้ในการพยาบาลในระยะผ่าตัด (case SB)  การพัฒนาแนวทางการจัดการความปวดหลังผ่าตัด  การพัฒนานวตกรรมต่างๆ ที่ผลลัพธ์ของงานนั้นๆ ลดค่าใช้จ่าย ลดภาวะแทรกซ้อน ลดระยะเวลาของการนอนโรงพยาบาล ถ้าว่างลองทำดู พัฒนาจากงานประจำไปสู่การทำวิจัยเล็กในหน่วยงาน ทั้งนี้ต้องสร้างสัมพันธภาพ และลดความเป็นตัวตนลงเพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างนัก สร้างการยอมรับในศักยภาพของเราและพัฒนาร่วมกัน เมื่อผลงานดังกล่าวเชิงจะเข้าท่า เหมือนฟังดูดี   จากนั้นก็ลองสมัครสอบเป็นผู้ปฏิบัติการขั้นสูงสาขาการให้ยาระงับความรู้สึก ได้เลย  ผลสอบอยู่ในใจ (แอบลุ้นจนตัวโก่ง) ถ้ามีงานที่ชัดเจน หรือมีความเชี่ยวชาญที่ชัดเจน นั่นหละ 90% เป็นของคุณแล้วหละ อีก 10 % เผื่อไว้สอบใหม่ปีหน้าละกัน  เอาน่า.. ไม่มีใครรู้จักเราดีเท่าตัวเราหรอก มั่นใจได้ สู้ ๆ คนอื่นยังสอบได้ ต้องมีวันของเรามั่งหละ

 

หมายเลขบันทึก: 302824เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2009 01:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท