จุฑามาศ + วิไลรัตน์


Class Crusacea ผู้น่ารัก


ชื่อไทย กุ้งก้ามกราม, นาง, หลวง
ชื่อสามัญ GIANT FRESHWATER PRAWN
ชื่อวิทยาศาสตร์  Macrobrachium rosenbergii
ถิ่นอาศัย        ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ แถบภาคกลางของประเทศไทย เช่น สุพรรณบุรี นครปฐมฉะเชิงเทรา ฯลฯ แต่โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย
อาหาร    ชอบกินไส้เดือน ตัวอ่อนของลูกน้ำ ลูกไร ซากของสัตว์และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง
ขนาด   ความยาวประมาณ 13-31 เซนติเมตร
ประโยชน์   เนื้อมีรสอร่อย ไม่ว่าจะนำไปต้มยำ ทอด หรือเผา ก็มีรสชาติถูกปาก มันกุ้งคือตับ และตับอ่อน ส่วนแก้วกุ้งก็คือรังไข่ ซึ่งมีไข่อ่อนอยู่เต็ม


ชื่อไทย ปูม้า
ชื่อสามัญ BLUE SWIMMING CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Portunus pelagicus
ถิ่นอาศัย อยู่ตามปากแม่น้ำ หรือบริเวณชายฝั่งทะเล
อาหาร กินซากพืชและซากสัตว์ที่ตายแล้ว
ขนาด ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
ประโยชน์ นำมาเป็นอาหารได้

ชื่อไทย ปูแสม
ชื่อสามัญ MEDER'S MANGROVE CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesarma mederi
ถิ่นอาศัย ดยทั่วไปจะขุดรูอยู่ แต่บางครั้งอาจอาศัยอยู่ในรูร้างของปูทะเล แพร่กระจายในประเทศไทย พบทุกจังหวัดริมอ่าวไทยตั้งแต่ตราดถึงนราธิวาส
อาหาร กินใบไม้ซากสัตว์ที่ผุเปื่อย
ขนาด ความยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร
ประโยชน์ ใช้ทำเป็นปูดองเค็ม

ชื่อไทย ปูก้ามดาบ, ผู้แทน
ชื่อสามัญ FIDDLER CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Uca vocans
ถิ่นอาศัย พบตามป่าไม้ชายเลน ป่าไม้โกงกาง ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร กินสาหร่ายขนาดเล็กและซากสัตว์
ขนาด ความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร
ประโยชน์ นำมาเลี้ยงดูเล่น

ชื่อไทย ปูทะเล
ชื่อสามัญ SERRATED MUD CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scylla serrata
ถิ่นอาศัย จะขุดรูอยู่ตามชายทะเลที่เป็นโคลนหรือบริเวณป่าแสม โกงกาง ป่าจากและสามารถอยู่ในรูได้นาน ๆ ในบริเวณที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึง พบทั่วไปในบริเวณชายฝั่งทะเลทางฝั่งตะวันออกและตะวันตกของอ่าวไทย
อาหาร กินซากพืชและซากสัตว์
ขนาด ความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร
ประโยชน์ เนื้อมีรสอร่อยเลิศเป็นที่นิยมแพร่หลาย


ชื่อไทย กั้งกระดาน
ชื่อสามัญ ORIENTAL FLATHEAD LOBSTER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Thenus orientalis
ถิ่นอาศัย ส่วนมากอยู่บริเวณพื้นหน้าดิน ท้องทะเลที่มีกรวดปนโคลน
อาหาร พวกปลาหมึก
ขนาด พบตั้งแต่ 12-25 เซนติเมตร
ประโยชน์ เนื้อมีรสชาติดีเหมือนกุ้งแต่ว่าเหนียวกว่า เป็นที่นิยมกันต่างประเทศ ส่งออกในสภาพเนื้อแช่แข็ง

ชื่อไทย กุ้งกุลาดำ, กุลา, กะลาดำ, แขกดำ
ชื่อสามัญ GIANT TIGER PRAWN
ชื่อวิทยาศาสตร์
Penaeus monodon
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปในทวีปเอเซีย ในประเทศไทยพบแพร่กระจายทั่วไปในอ่าวไทย แต่จะพบมากบริเวณเกาะช้าง บริเวณนอกฝั่งของจังหวัดภูเก็ต ระนอง ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีพื้นดินเป็นทรายปนโคลนหรือทรายปนเปลือกหอยและหินปะการัง กุ้งชนิดนี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถปรับตัวอยู่อาศัยในแหล่งน้ำกร่อยได้
อาหาร ชอบกินแพลงค์ตอน หนอน และแมลงน้ำ
ขนาด ความยาวประมาณ 18-25 เซนติเมตร
ประโยชน์ ใช้บริโภคในประเทศ และส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ


ชื่อไทย กุ้งฝอย
ชื่อสามัญ LANCHESTER'S FRESHWATER PRAWN
ชื่อวิทยาศาสตร์
Macrobrachium lanchesteri
ถิ่นอาศัย ชอบอยูบริเวณผิวน้ำตามชายริมตลิ่งซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่งที่มีรากหญ้าและรากพันธุ์ไม้น้ำ จะรวมกลุ่มอยู่กันชุกชุมในหนอง บ่อ บึง หรือตามบริเวณแหล่งน้ำซึ่งมีกระแสน้ำขึ้นลงไหลเอื่อย ๆ
อาหาร กินจุลินทรีย์และตัวอ่อนของสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด ความยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นอาหารที่มีรสอร่อย นักบริโภคบางจำพวกนิยมหยิบกุ้งฝอยที่ยังมีชีวิตอยู่เข้าปากเคี้ยวกิน นัยว่าได้รสชาติเอร็ดอร่อยสมอยากยิ่งนัก

ชื่อไทย กุ้งมังกรประขาว, หัวโขนประขาว
ชื่อสามัญ PURPLISH BROWN SPINY LOBSTER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Panulirus longipes
ถิ่นอาศัย
พบบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งกุ้งชนิดนี้จะอยู่ที่พื้นหน้าดินเป็นโคลน หรือโคลนปนเปลือกหอย มักจะชอบฝังตัว
อาหาร กินอาหารพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ ซึ่งเกาะอยู่ตามตะไคร่น้ำ
ขนาด ความยาวประมาณ 18-30 เซนติเมตร
ประโยชน์ เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร และนำเปลือกของลำตัวมาเป็นเครื่องประดับ


ชื่อไทย ปูชะนี, แมงมุม
ชื่อสามัญ SPIDER CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dorippe dorsipes
ถิ่นอาศัย ตามชายฝั่งทะเลเป็นโขดหิน
อาหาร กินซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว
ขนาด ความยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร
ประโยชน์ ใช้ทำเป็นอาหาร

ชื่อไทย กุ้งเหลืองหางฟ้า
ชื่อสามัญ BLUE TAIL YELLOW SHRIMP
ชื่อวิทยาศาสตร์ Penaeus latisulcatus
ถิ่นอาศัย ป็นกุ้งที่ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นทรายหรือทรายปนโคลน และตามโขดหิน ชุกชุมทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย
อาหาร กินสัตว์น้ำและจุลินทรีย์ซึ่งอยู่ตามโขดหินปะการัง
ขนาด ตัวโตเต็มวัยมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
ประโยชน์
นอกจากใช้บริโภคในประเทศแล้วยังส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย


ชื่อไทย ปูโบราณ, จักจั่นยักษ์
ชื่อสามัญ RED FORG CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ranina ranina
ถิ่นอาศัย พบตามชายฝั่งที่เป็นโขดหิน
อาหาร ซากสัตว์และซากพืชที่เน่าเปื่อย
ขนาด ความยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร
ประโยชน์ เป็นอาหารสัตว์


ชื่อไทย ปูฤาษี, หน้าหลบ
ชื่อสามัญ BRICK-RED BOX CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Calappa philargius
ถิ่นอาศัย พบทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร กินซากพืชและซากสัตว์
ขนาด ความยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร
ประโยชน์ นิยมสะสมโดยใช้นำมาดองเพื่อรักษาทรวดทรงไว้ ใช้ในการศึกษา เป็นปูที่หาได้ยาก

ชื่อไทย ปูหนุมาน
ชื่อสามัญ PAINTED STONE CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Graspsus albiliniatus
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามชายหาดพื้นท้องทะเลเป็นทรายมากกว่าอย่างอื่น ชอบอาศัยอยู่ในระดับที่น้ำทะเลขึ้นลงตามหาดทราย พบมากที่เกาะไผ่ เกาะคราม เกาะเสม็ด หาดสุรินทร์ สงขลา อ่าวไทยตอนนอกและแหลมญวน
อาหาร กินซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว
ขนาด ความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
ประโยชน์ นำมาปรุงเป็นอาหารได้


ชื่อไทย ปูหิน
ชื่อสามัญ SPINY ROCK CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Thalamita crenata
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปตามบริเวณสถานที่รกเรื้อตามชายฝั่งทะเล เช่น โพรงหิน ซากโป๊ะ ตามพื้นท้องทะเลเป็นทราย โคลนปนทราย พบมากแถบเกาะสีชัง ชลบุรี ระยอง
อาหาร ซากพืชและซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย
ขนาด ความยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร
ประโยชน์ นำมาประกอบเป็นอาหารได้

ชื่อไทย แมงดาหางเหลี่ยม, แมงดาจาน
ชื่อสามัญ GIANT KING CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tachypleus gigas
ถิ่นอาศัย หมกตัวอยู่ในพื้นโคลนและทรายตามชายฝั่งน้ำตื้น ๆ ในบริเวณคุ้งอ่าวและปากน้ำ
อาหาร กินหนอนและไส้เดือน เช่น ตัวสงกรานต์
ขนาด กระดองมีความยาวประมาณ 38-40 เซนติเมตร
ประโยชน์ ไข่ปรุงเป็นอาหารได้ดี


ชื่อไทย ปูนาดำ
ชื่อสามัญ BLACK RICE CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Somanniathelpusa sp.
ถิ่นอาศัย ขุดรูอยู่ตามท้องนาหรือในที่น้ำขังชื้นแฉะ และออกมาเดินเพ่นพ่านตอนต้นฤดูฝน
อาหาร กินพืชโดยเฉพาะต้นข้าว ซากสัตว์และซากพืช
ขนาด กระดองมีความยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร
ประโยชน์
ประชาชนในภาคอีสานนำมาเป็นอาหาร เช่น เผาใส่ในส้มตำ แกงหรือดองน้ำปลาเป็นต้น ปูนาเป็นพาหะของพยาธิใบไม้ในปอด การบริโภคจึงต้องทำให้สุกเสียก่อนเพื่อความปลอดภัยจากพยาธิดังกล่าว


ชื่อไทย ปูดาว, สามจุด
ชื่อสามัญ HREE-SPOT SWIMMING CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Portunus sanguinolentus
ถิ่นอาศัย
บริเวณพื้นทะเลในอ่าวไทย พบทั้งบริเวณด้านตะวันออกและตะวันตก จังหวัดสุราษฏร์ธานี ถึงจังหวัดปัตตานี
อาหาร กินซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว
ขนาด ความยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร ประโยชน์ ใช้ทำเป็นอาหาร


Miyakea nepa (Latreille, 1828), กั้งตั๊กแตนเขียว กั้งตั๊กแตนสามแถบ, three banded mantis shrimp, Squillidae. อยู่ใน order Stomatopoda ลักษณะทั่วไปมีส่วนหัวเล็ก ขาคู่ที่สองมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายตั๊กแตนตำข้าว ส่วนท้องมีขนาดใหญ่ มีขาว่ายน้ำ เปลือกใสค่อนข้างแข็ง ส่วนหางตรงกลางเป็นแผ่นใหญ่ มีหนามแหลม แพนหางแยกเป็น 2 คู่ อาศัยตามปากแม่น้ำ ลำคลอง และริมชายทะเลที่มีพื้นทรายปนเลน เนื้อมีรสชาติดี มีราคาแพง เป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกกลุ่มหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3026เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2005 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท