เวทีนำเสนอโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อหารูปแบบและวิธีการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบลทุ่งมน ตำบลสำโรง จ.สุรินทร์ ตอนที่ 1


โครงการดังกล่าวสืบเนื่องจากการดำเนินงานโครงการวิจัยระบบนำร่องขับเคลื่อนสวัสดิการเชิงพื้นที่ฯ ลำปาง ขอนแก่น จันทบุรี และพัทลุง สนับสนุนโดย สกว. และ พม. ผลการศึกษาครั้งนั้น พ่อชบ ผศ.ทิพวัลย์ สีจันทร์ และคุณภีม ได้นำเข้าหารือกับนายกอภิสิทธิ์ และรับหลักการสมทบ 1 ต่อ 1 ต่อ 1 โดยมอบหมายให้คุณกอร์ปศักดิ์ ดำเนินการและได้แถลงออกมาเป็นนโยบายในวันที่ 2 สิงหาคม

จึงเป็นที่มาของโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมฯ มี  9 ตำบล ใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดลำพูน 4 ตำบล จังหวัดลำปาง 3 ตำบล และจังหวัดสุรินทร์ 2 ตำบล โดยมีตัวอย่างการคำนวณความพอเพียงของตำบลกะหรอ จ.นครศรีธรรมราช ทั้งในกรณีที่คำนวณตามสมาชิกจริง ณ ปัจจุบัน และในกรณีเป็นสมาชิกสวัสดิการทั้งตำบล โดยใช้ระเบียบของกลุ่มพ่อชบเป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นถึงรายรับของกลุ่มที่มาจาก      1)สมาชิกลดรายจ่ายวันละ 1 บาท 2)รัฐสมทบ 2 บาท ตลอด และ 3)ท้องถิ่นสมทบ และรายจ่ายสวัสดิการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามระเบียบของกลุ่ม จะแสดงให้เห็นถึงความไม่พอเพียง ในพื้นที่ของทุ่งมน สำโรง โดยพี่หน่อย อาริยา และพี่เล็กได้ทำการทดลองคำนวณนั้นก็ไม่เพียงพอ ของทุ่งมน โดยการศึกษาของพระมหาวีระ กิตติวณฺโณ ก็ไม่เพียงพอแต่เนื่องจากว่าสมาชิกมากกว่าของตำบลสำโรงทำให้ยืดอายุการบริหาร การจ่ายสวัสดิการไปได้มากกว่า ผลจากการศึกษาของทั้ง 2 ตำบลนั้นทำให้เกิดการระดมความคิดเห็นเป็นข้อเสนอแนะในการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น

ตำบลสำโรง

1)       มีการขยายฐานสมาชิกไปสู่ศูนย์เด็กเล็ก

2)      เสนอให้จัดตั้งสถาบันการเงินชุมชนเพื่อบริหารจัดการอย่างมีระบบและพึ่งตนเองในระยะยาว

3)   ปรับระเบียบเรื่องของบวำนาญ ยืดการรับบำนาญจาก 5 ปี ไปเป็น 10 ปี หรือ 15 ปี โดยเริ่ม 1 มค.53 ส่วนกฎเก่ายังคงดำเนินไปสำหรับสมาชิกเก่า

4)      ยืดอายุการรับสวัสดิการตาย เช่น 6 เดือน 1 ปี รับ 2,500 บาท 2 ปีรับ 5,000 บาท

5)      เปิดรับสมาชิกเป็นวาระ 3 เดือน 6 เดือน

6)      ประชุมประจำปี

7)      ให้มีการรวมเงิน และระดมทุนเพิ่มจากแหล่งทุนในชุมชน

เป็นต้น ในส่วนของตำบลทุ่งมน (สมาชิกกลุ่ม 1,130 คน ประชากรทั้งตำบลมี 6,878 คน )นั้น

1)       ระดมสมาชิกให้มากขึ้น

2)      ระดมทุนเพิ่ม

3)      ยืดอายุการจ่ายบำนาญจาก 5 ปี เป็น  10 ปี

4)      ปรับระเบียบสวัสดิการตายจากเดิม สัจจะ 10 ปี จ่าย 30,000 บาท เป็น สัจจะ 16 ปี จ่าย 30,000 และสัจจะ 32 ปี จ่าย 50,000 บาท

หลังจากมีการนำเสนอทั้งกรณีตัวอย่างจากกะหรอ และกรณีพื้นที่ศึกษาจริงจากทุ่งมน และสำโรง ผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 60 คน ก็ดูท่าทีตกใจ และกลัวถึงปัญหาความไม่พอเพียงในอนาคต จึงได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้วิธีการให้เขียนลงในกระดาษ และเสนอแนะผ่านการพุดคุย ดังสรุปได้

-           ให้ทำงานอย่างต่อเนื่องและปรับกลยุทธ์วีการตามความเหมาะสม

-           ระดมเงินสมทบจากแหล่งอื่น เช่น จัดกิจกรรมทอดผ้าป่า

-           บริหารจัดการเงิน เช่น ฝากรับดอกเบี้ย ลงทุนประกอบอาชีพ

-           ปรับบำนาญจากรายเดือนเป็นรายปี

-           ขยายเวลาจ่ายบำนาญจาก 5 ปี เป็น 10 ปี หรือจ่ายอายุ 70-80 ปี

-           เพิ่มจำนวนสมาชิก

-           ตายจ่ายแค่ 5,000 บาท

-           ลดการจ่ายสวัสดิการและรายจ่ายอื่น ๆ ให้น้อยลง

-           ปรับฐานคิดสมาชิกจากให้ด้วยใจแทนให้ด้วยเงิน

-           สร้างความเข้าใจและความมั่นใจให้สมาชิกด้วยข้อมูล

-           ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

-           จัดตั้งสถาบันการเงินชุมชนตำบล

-           สวัสดิการต้นไม้

-           ไม่ต้องกังวลเรื่องการจ่ายบำนาญแต่ให้เริ่มต้นที่กองบุญฯ เราทำเพื่อดูแลพี่น้องในตำบลเท่านั้น

-           ยกคุณค่าการออมเพื่อให้

นอกจากนี้ในเวทียังมีการพุดคุยประเด็นโครงการศึกษาจัดการองค์ความรู้กองทุนวันละ 1 บาท โดยกองบุญคุณธรรม ต.เมืองลิง อ.จอมพระ สนับสนุนโดย กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดสุรินทร์ และประเด็น “ต้นกล้าคุณธรรมสวัสดิการชุมชน”ติดตามตอนต่อไปค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 302370เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2009 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น้องแหม่ม มาสาระ วิชาการเพียบเลยน่ะ

นอกจากนี้ในเวทียังมีการพุดคุยประเด็นโครงการศึกษาจัดการองค์ความรู้กองทุนวันละ 1 บาท โดยกองบุญคุณธรรม ต.เมืองลิง อ.จอมพระ สนับสนุนโดย กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดสุรินทร์ และประเด็น “ต้นกล้าคุณธรรมสวัสดิการชุมชน”ติดตามตอนต่อไปค่ะ

อยากเรียนรู้ประเด็นนี้ครับแหม่ม

ทันใจจังนะค่ะอดใจรอหน่อยค่ะกำลังเรียบเรียง^_^

รักษาสุขภาพค่ะวันหน้าจะไปทานข้าวที่บ้านอีกค่ะ

ตามมาอ่านคะ น้องแหม่ม เป็นเวที ระดมความคิดเห็นที่หลากหลายมาก แม้ ผู้เข้าร่วม บางส่วนจะหวาดๆ

กับอนาคตกองทุน ( หลังการฟังงานวิจัย )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท