ชวนกันสร้างสุขในองค์กร


ความสุขที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เกิดจากการแลกเปลียนเรียนรู้

   หลังจากกลับจากการศึกษาดูงานที่โรงเรียนเพลินพัฒนาร่วมกับคณะทำงานพัฒนาบุคลากร พอช และกลับมาสรุปบทเรียนร่วมกันแล้ว ตัวเองได้แรงบันดาลใจกลับมาอีกครั้งหลังจากที่ห่างหายจากการบันทึกไปนาน การเรียนรู้ที่เพลินพัฒนา (มีรายละเอียดที่พี่สุเทพ  ไชยขันธ์ได้บันทึกไว้แล้ว ในblogชุมชนกับการเรียนรู้) จะไม่ลงรายละเอียดแต่ที่จะบันทึกในครั้งนี้เป็นความประทับใจหลังจากที่ได้นำการเรียนรู้ดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมงานในสำนักงานภาคใต้                                                   

                            เมื่อวันที่25-27 กันยายน ที่ผ้านมาได้มีการสัมมนาเจ้าหน้าที่สนง. ภาคใต้ขี้น ที่ปากเมงรีสอรท์ อ.สิเกา  จ. ตรัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปทบทวนการทำงานในปีที่ผ่านมาและวางแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2553 ซึงในการสัมมนาครั้งนี้มีเจ้าหน้าทีเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียงกว่า 30 คน  ในวันแรกได้มีการสรุปผลการทำงาน การบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด กพร.ซึ่งผลงานอยู่ในเกณฑ์ดี มีบางตัวชี้วัดที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อให้ดีขึ้น  ดังนั้นเพื่อเป้นการวางแผนรับมือกับกับภาระกิจขององค์กรตามวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ขององค์กร จึงได้มีการทำความเข้าใจเป้าหมายทิศทางการทำงานร่วมกันภายใต้ยุทธศาสตรสำคัญทั้ง 6 ด้าน อย่างละเอียดและทุกคนมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น และร่วมวางแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางใว้                        ภาคกลางคืนเพื่อให้ทุกคนได้ผ่อนคลายจึงได้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เป้นกันเองกันมากขึ้น (ประกอบกับมีเจ้าหน่าที่ใหม่ จากโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินโดยชุมชนเป็นหลัก หรือโครงการไทยเข้มแข็ง 5จังหวัด ชายแดนใต้)ซึ่งเพิ่งมาทำงานที่สนง.ภาคได้ประมาณ 1 เดือนมีน้องใหม่5-6คนที่เพิ่งจะร่วมงานกันเป้นครังแรก ได้มีโอกาสทำความรู้จักพี่ ๆในบทบาทที่แตกต่างออกไปไม่เป็นทางการ   จึงได้จัดกิจกรรมกิน +เล่า  ความสุขในปีที่ผ่านมา และความสุขที่อยากให้เกิดขึ้นในองค์กร   โดยใช้กระบวนการสุนทรีย์สนทนา พูดบอกเล่าสิ่งที่เป้นความสุข ฟังอย่างตั้งใจ จะใข้อุปกรณ์คือ ก้อนหิน 1 กอ้นให้คนที่พูดถือใว้ในมือจนกว่าจะพูดจบ คนฟังก็ต้องตังใจฟังจนกว่าเพื่อนจะวางก้อนหินลง เวียนไปจนครบทุกคน   และนี่คือส่วนหนึ่งของความสุขที่เพือนๆบอกเล่ากันมา   เป็นความสุขระหว่างทางจริง ๆ                                                  สุขที่ได้ทำงานกับพอช            สุขที่เรียนจบ   ได้เห็นรอยยิ้มของพ่อกับแม่  สุขที่ได้ชื่นชมธรรมชาติ สุขที่ได้กินอาหารอร่อย สุขที่ได้พบพี่น้อง สุขที่ได้ทำงานที่ท้าทาย สุขที่ได้กลับมาทำงานที่บ้าน    สุขที่ได้พยายามแล้ว สุขที่ได้กอดแม่ สุขที่ได้ยิ้ม สุขที่ได้นอนหลับ สุขที่ได้รัก  ฯลฯ  จากบางส่วนที่เพื่อน ๆบอกเล่าทำให้ได้เห็นมุมมองที่แตกต่าง  มองเห้นเพื่อนที่มีจิตใจออ่นโยน ผู้บริหารที่มีหัวใจศิลปิน เห็นนักประพันธ์ที่ยอดเยี่ยม (พี่หรั่ง สมชาติ บอกเล่าความสุขผ่านบทกลอนที่น่าประทับใจ วันหลังจะขอนำบทกลอนดังกล่าวมาบอกเล่าผ่านบันทึกนี้)   หลังจากนั้นในรอบที่ 2 ให้แต่ละคนบอกเล่าความสุขที่ต้องการให้เกิดในองค์กร   และนี่คือส่วนหนึ่งของความสุขที่ต้องการให้เกิดขึ้นในองค์กร          เปิดใจเพื่อส่งรอยยิ้มให้กัน (มีคนนำเอาโฆษณาชิ้นหนึ่งที่ศิลปินคาราบาวร้องเพลงแง้มใจ) มายกเป็นตัวอย่างได้อย่าน่าประทับใจ ลดความเป้นอัตตา หาจุดร่วม สงวนจุดต่าง ตั้งสติและบอกว่า เราจะทำดีทุกวัน ตั้งใจทำงาน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ยิ้มมากขึ้นเริ่มจากตัวเอง มีสภากาแฟตอนเช้า บอกเล่าความสุข     และมีน้องคนหนึ่งฝากมาเป็นคำกลอนดังนี้    จริงใจกันและกัน   แบ่งปันที่เทียมเท่า ก้าวย่างโดยพร้อมเพรียง  เดินเคียงด้วยกำลังใจ   และทั้งหมดนี่คือความสุขที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 302059เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ยินดีด้วยครับ กลับจากเดินทางไปเยี่ยมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การสร้างองค์กรแห่งความสุขและการจัดการความรู้” ที่โรงเรียน “เพลินพัฒนา” ทำให้น้อง“พัชนี” เกิด "แรงบันดาลใจ"

แน่นอนครับ ความสุขของพี่น้องคนทำงานร่วมกับ น้อง“พัชนี” ที่สำนักงานภาคใต้ ได้เกิดขึ้นอย่างทันที่ทันใดแล้ว เป็นประสบการณ์ตรงของการสร้าง “ความสุข” ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในลักษณะการพุดคุยกันแบบสุนทรียสนทนา(Dialogue) เช่นเดียวกับที่กลุ่มครูของ “เพลินพัฒนา”ที่กำลังเดินก้าวไปด้วยกันอย่างมีความสุข

ยินดีกับน้องพัชนีและเพื่อนร่วมงานครับ น้องพัชนีได้นำคำแนะนำของคุณครูใหม่ที่ได้กล่าวไว้กับทีมงานที่ไป ลปรร.ก่อนการอำลาในครั้งนั้น มาใช้เลย “แว่นตาสร้างความสุขแบบนี้เริ่มต้นสร้างขึ้นได้ด้วยสุนทรียสนทนาหรือที่เรียกกันว่า "Dialogue” ค่ะ" คุณครูใหม่ได้ให้คำแนะนำ ในท้ายที่สุด

ครับ ผมได้เคยบันทึกการ ลปรร. กับครูใหม่ในครั้งนั้น ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/suthepkm/298859

มาเยี่ยมครับ วันหลังจะพยายามเขียนมาแลกเปลี่ยนครับ

สวัสดีค่ะ

ขอร่วมแชร์ความรู้ด้วยน่ะค่ะ ขอให้มีความสุขกับการทำงานค่ะ

"หอยมุกสร้างไข่มุกมาจากเม็ดทราย ในจุดเริ่มต้น เป็นทรายที่หลุดเข้าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่น่ารำคาญ เป็นความททรมานืมันจึงสร้างเคลือบมันวาวออกมาห่อหุ้มเม็ดทราย เพื่อลดความระคายเคือง จนในที่สุดเม็ดทรายนั้นกลายเป็นไข่มุกน้ำงาม อัญมณีล้ำค่าจากท้องทะเล"

ขอให้มีแรงบันดาลใจแบบนี้ตลอดไปน่ะค่ะ เพื่อจะได้หาวิธีใหม่ ๆ ในการทำงาน เพื่อให้ผู้อ่านค้นพบวิธีการเปลี่ยนเม็ดทรายในชีวิตให้เป็นไข่มุกที่งดงาม น้องเชื่อว่าพฤติกรรมและมุมมองใหม่ ๆ จากการแลกเปลี่ยนความรู้ที่นำมาฝากให้อ่านกัน จะนำความสุขให้เราในการทำงานอย่างแน่นอน

ขอบุคุณสำหรับความคิดเห็นและกำลังใจ เป้นพิเศษสำหรับน้องสะใภ้ที่ต่างแดน มีคำเปรียบเทียบที่งดงามและโรแมนติกจัง หวังว่าคงจะสบายดีนะคะ

ในการประชุมปรึกษาหารือเพื่อการสร้างโมเดลการพัฒนา พอช.ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดย “การอบรมนักจัดการความรู้โดยชุมชนปฏิบัติ”ในวันที่27 พ.ย.ที่ผ่านมากับคุณเอกวิทยากรเพื่อเตรียมการ Workshopในวันที่ 14-15 ธันวาคม ที่จะถึงนี้

Workshopครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่จุดประกาย KMกับคนทำงานจากทุกส่วนหน่วยในพอช. จึงมีความสำคัญมากครับ ผมเห็นด้วยกับแนวคิด กับข้อเสนอคุณเอกครับ.......... “เราต้องจัดการความรู้สึกและการจัดการความรักก่อนการจัดการความรู้

กับการจัดการความรู้สึก.....ทำอย่างไรคน พอช.จึงจะรู้สึกว่า KMเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ ทำแล้วรู้สึกดีด้วย

การจัดการความรัก....... ทำอย่างไรคน พอช.จึงจะเกิดประสบการณ์ตรง จากการได้ชื่นชมยินดีกับเรื่องราวที่ดีๆของเพื่อนๆใน พอช.และเกิดความรู้สึกอยากให้เรื่องเหล่านั้นต้องเกิดการขยายผลสื่อสารต่อๆกัน

การจัดการความรู้....... ทำอย่างไรคน พอช.เมื่อมีจุดเริ่มต้นจากการถอดความรู้ครั้งนี้ให้เป็นจุดเริ่มต้นการเกิดชุมชนนักปฏิบัติตามความสนใจและสมัครใจ”

รวมทั้งเห็นด้วยกับความเห็นของดร.ยุวนุช ทีมวิทยากรร่วมของคุณเอก “ในเรื่องของ COP และเครื่องมือ KM ต่างๆที่จะใช้ควรให้เป็นธรรมชาติ ไม่ให้รู้สึกว่าถูกยัดเยียดให้ต้องทำ KM”

สำหรับสถานที่จัดยืนยันเป็น"ภูเขางามรีสอร์ท" นครนายก สวยงามมากครับ บรรยากาศน่าจะเหมาะสำหรับการทำ Workshopครับและน่าจะเหมาะสำหรับการบ่มเพาะสิ่งดีๆให้ผลุดบังเกิดขึ้น

พัชนีชวนเพื่อนๆมาเข้าWorkshopครั้งนี้กันนะครับ มาร่วมกันสร้างทั้งการจัดการความรู้สึกที่ดี การจัดการความรักและการจัดการความรู้ครับ Workshopครั้งนี้รับ40 คนครับ มีสมัครมาแล้ว 25 คน เหลืออีก15 คนเป็นจนท.ปก.ภาคละ3 คนครับ

ยังไม่ได้เขียนบล็อกเลยครับ

แต่ลองเอาบทความข่าวที่เกี่ยวข้องกับชุมชนมาลิ้งค์

ไปดูได้ที่ http://gotoknow.org/blog/samartcodi/318474

สวัสดีค่ะพี่สุเทพ ต้องขอโทษด้วยค่ะที่เข้ามาตอบช้าไปหน่อย เห็นด้วยกับความตั้งใจเรื่องนี้มากเลย โดยเฉพาะ คำว่าการจัดการความรู้สึก และการจัดการความรัก ก่อนการจัดการความรู้ ซึ่งน่าจะตรงกับสถานการณ์คน พอช มากเลย ที่สำนักงานภาคใต้พวกเราอยู่ในระหว่างการกระตุ้น การเรียนรู้เพื่อสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ค่อยเป็นค่อยไปอย่างน้อยในช่วงการประชุมสรุปงานประจำเดือน เดือนละ ครั้ง เพือ่นๆก็ให้การตอบรับค่อนข้างดี คราวนี้ลงชื่อเข้าร่วมการอบรม 7 คน หวังว่ากลับไปคราวนี้คงได้ทีมช่วยกันมากชึ้น ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

สวัสดีครับ หนุ่มใต้กลาง   ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆที่ลิ้งไว้ ต่อไปจะแวะชมได้โดยตรงเลยที่blog gotoknow ใช่มั้ยครับ

สวัสดีครับพัชนี

พบวันวันที่ 14-15 ธ.ค.ที่"ภูเขางามรีสอร์ท" นครนายก

กับโครงการพัฒนา พอช.ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดย “การอบรมนักจัดการความรู้โดยชุมชนปฏิบัติ”

ไปช่วยกันสร้าง "การจัดการความรู้สึก การจัดการความรักและการจัดการความรู้"ครับ

ขอบคุณครับที่แวะไปชม จะพยายามเขียนและแต่งสีสันให้มากขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท