เหตุผลการมี พรบ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาและขยายสาขาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมถึงวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่

สรุปความเป็นมาและสาระสำคัญ พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 ขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติ-แห่งชาติเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติดังกล่าวได้รับการประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 125 ตอนที่ 31 ก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จึงทำให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ทั้งนี้ หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัตินี้ ได้ระบุถึงเหตุผลในการประกาศใช้ความว่า “เนื่องจากปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาและขยายสาขาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมถึงวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ สมควรจัดตั้งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้นเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและควบคุมการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติดังกล่าว นอกจากจะอำนวยประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการส่งเสริมและควบคุมการประกอบวิชาชีพโดยสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว ยังเกิดประโยชน์แก่สังคม โดยมีสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ทำหน้าที่ควบคุมจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนควบคุมมิให้ผู้ที่ขาดความรู้ความสามารถเข้ามาประกอบอาชีพในสาขาวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม ซึ่งหากไม่มีการควบคุมบุคคลเหล่านั้นอาจทำให้เกิดความผิดพลาดที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนและสังคมโดยรวมได้

อย่างไรก็ตาม บริบทในเรื่องของการควบคุมในพระราชบัญญัติฉบับนี้ มิได้เป็นการควบคุมนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีให้ขาดอิสรภาพทางด้านวิชาการในการทำงานแต่อย่างใด และการที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแต่ละสาขามารวมตัวกันเป็นสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น ทุก ๆ สาขาวิชาชีพก็จะได้ร่วมกันกำหนดทิศทางในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก่อให้เกิดพลังที่เข้มแข็งเพื่อที่จะผลักดันให้เกิดพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศในแบบก้าวกระโดดต่อไป

หมายเลขบันทึก: 302056เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท