การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

ชื่อเรื่อง                การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา         

                              โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้ประเมิน             ไพฑูรย์  พวงยอด                                                                                              
ปีที่พิมพ์                2552 

 

                   การประเมินครั้งนี้เป็นการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา  โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะของการประเมิน คือ  1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับบุคลากรและทรัพยากรในการดำเนินโครงการ  3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา  4)เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง  และ 5) เพื่อประเมินผลกระทบจากการดำเนินโครงการพัฒนาห้องสมุด ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา  กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)  มีจำนวนทั้งสิ้น 370 คน ประกอบด้วย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 53  คน ซึ่งเป็น คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการสถานศึกษา  และคณะกรรมการห้องสมุดด้วย   นักเรียน จำนวน  302  คน จากตารางจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน  15  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพทั่วไป ของห้องสมุด และสภาพโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ  และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม   สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

                   การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาพบว่า การประเมินโครงการโดยรวม อยู่ในระดับมาก (  = 3.87)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก  ไปน้อยดังนี้ ด้านบริบทของโครงการ (  = 3.90) ด้านกระบวนการ (  = 3.88) ด้านผลผลิต  (  = 3.88) ด้านปัจจัยนำเข้า (  = 3.86)  และด้านผลกระทบ (  = 3.81)   การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าพบว่าโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด และรองลงมา 3 อันดับ คือ คุณสมบัติของครู และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการมีความเหมาะสม (  = 4.02) วัสดุ อุปกรณ์ที่จัดหาให้ เพียงพอในการดำเนินการโครงการ (  = 4.01)  และอาคารห้องสมุด มีสภาพของอาคารเหมาะสมมีพื้นที่เพียงพอต่อการดำเนินการโครงการ (  = 3.95)   การประเมินด้านกระบวนการโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดและรองลงมา 3 อันดับ คือ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินการโครงการอย่างสม่ำเสมอ (  = 4.02) การเสนอโครงการ ได้รับความเห็นชอบดำเนินการจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง(  = 3.97)  และมีการปรับปรุงและพัฒนาโครงการเหมาะสม (  = 3.92)   การประเมินด้านผลผลิตโดยรวม  อยู่ในระดับมาก โดยมีข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดและรองลงมา 3 อันดับ คือ โครงการทำให้นักเรียนรักการอ่านมากขึ้น  (  = 4.12) ห้องสมุดมีการบริการที่เปิดกว้างและยืดหยุ่น (  = 3.94)  และโครงการทำให้เกิดแหล่งสารสนเทศได้อย่างดี(  = 3.93)   การประเมินด้านผลกระทบโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีข้อที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดและรองลงมา 3 อันดับ คือ การจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาห้องสมุด ทำให้มีสถิติผู้มาใช้ห้องสมุดเพิ่มสูงขึ้น  (  = 4.01) โครงการทำให้พึงพอใจในคุณภาพการศึกษา (  = 3.98)  และโครงการตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการศึกษาให้กับนักเรียน บุคลากร และชุมชน (  = 3.88)  โดยด้านที่มีระดับความคิดเห็นปานกลางเพียงรายการเดียว คือ ด้านการจัดกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น (  = 3.49) 

                   ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการประเมินโครงการห้องสมุดของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพการประเมินต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม โดยรวมด้านผลผลิต  และด้านผลกระทบ ไม่แตกต่างกัน  สำหรับรายด้านอีก 3 ด้าน คือ ด้านบริบทของโครงการ  ด้านปัจจัยนำเข้า  และด้านกระบวนการ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                   ผลวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ พัฒนาห้องสมุดตามแนวปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม พบว่าปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ มากไปน้อย คือ เงินงบประมาณที่สนับสนุนโครงการไม่เพียงพอ การดำเนินการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ เท่าที่ควร  เจ้าหน้าที่ห้องสมุดมีภาระงานการสอนมาก  ขาดสื่อประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชนเขตบริการ ขาดเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงเครือข่าย  ผู้เกี่ยวข้องบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ และขาดความสนใจในการดำเนินการโครงการ  และควรมีการส่งเสริมความรู้ในชุมชนเขตบริการอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

หมายเลขบันทึก: 302030เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท