ลักษณะทั่วของสัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ


1. ลักษณะทั่วไปของสัญญาเช่าทรัพย์

          มาตรา 537  อันว่าเช่าทรัพย์สินนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น

1.1      สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาที่มีทรัพย์สินเป็นวัตถุแห่งสัญญา

          คำว่า “ทรัพย์สิน” ตามมาตรา 138 หมายความทั้งทรัพย์ คือวัตถุที่มีรูปร่างและรวมทั้งวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ฉะนั้นการเช่าทรัพย์สินตามมาตรา 537 จึงหมายถึงการเช่าทรัพย์สินที่มีรูปร่าง อันได้แห่ อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ รวมตลอดถึงสิทธิต่าง ๆที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น

1.2      เป็นสัญญาที่ตกลงชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด

ผู้เช่าได้ใช้หรือรับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันจำกัด  ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่จะเช่ากันตลอดไปจะต้องมีการตกลงกันว่าชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด เช่ากันนานเท่าใด เช่น รายวัน รายเดือน รายปี แต่เช่ากันโดยไม่มีเวลาสิ้นสุดนั้นไม่ได้

1.3      เป็นสัญญาที่มิได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

เห็นได้ชัดว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่าเท่านั้น มิได้มีข้อตกลงให้โอนกรรมสิทธ์ที่เช่าแต่อย่างใด แม้ผู้เช่าจะได้ครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่า ก็เป็นการครอบครองเพื่อใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า

1.4      เป็นสัญญาซึ่งก่อให้เกิดเพียงบุคคลสิทธิ์ ไม่ใช่ทรัพย์สิทธิ

เมื่อการเช่ามิได้เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ การเช่าทรัพย์ก็ย่อมไม่ก่อให้เกิดทรัพย์สิน เป็นเพื่อแต่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิขึ้นเท่านั้น

2. ลักษณะทั่วไปของสัญญาเช่าซื้อ

          มาตรา 572  อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว

          สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ

2.1      สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า

ผู้ที่จะให้เช่าซื้อต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของจะเข้าทำสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นยังเป็นของเจ้าของทรัพย์สินอยู่ แต่ผู้เช่ามีสิทธิครอบครองทรัพย์สินที่เช่า ซึ่งแตกต่างจากสัญญาเช่าธรรม ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

2.2      เจ้าทรัพย์สินให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สิน หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า

เจ้าของเป็นผู้ให้คำมั่น คำมั่นจึงผูกพันผู้ให้เช่าซื้อฝ่ายเดียวเท่านั้น ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินนั้นหรือไม่ก็ได้ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติว่าผู้เช่าซื้อให้คำมั่นว่าจะซื้อทรัพย์สินนั้น การที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่าเช่นนี้จะเป็นสัญญาเช่าซื้อได้ จะต้องมีคำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้เช่าซื้อในเมื่อชำระราคาครบถ้วนตามงวดที่ได้กำหนดไว้แล้ว

2.3      โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว

สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญามีเงื่อนไขบังคับกันไว้ด้วยว่า กรรมสิทธิ์หรือสิทธิในทรัพย์สินที่เช่าจะตกไปยังผู้เช่าซื้อก็ต่อเมื่อผู้เช่าซื้อได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวครบถ้วนแล้ว ตราบใดที่ผู้เช่าซื้อยังชำระเงินไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ ทรัพย์สินก็ยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิของผู้เช่าซื้อ

2.4      สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ

กฎหมายบังคับให้ต้องทำตามแบบ ถ้าไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ย่อมตกเป็นโมฆะ และแบบตามมาตรา 572 วรรคสอง คู่สัญญาต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น ไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด

 

หมายเลขบันทึก: 301996เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผ่อนเงินดาวน์ โดยจ่ายเงินดาวน์ส่วนนึง ณ วันทำสัญญา แล้วเงินดาวน์ที่ระบุในสัญญาต้องระบุเงินดาวน์เต็มจำนวน แล้วอ้างอิงการจ่ายเงินจากบิลเงินสด หรือว่าระบุเงินดาวน์เท่าที่จ่าย ณ วันทำสัญญา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท