การรายงานผลงานเพื่อขอรับการประเมินเลื่อนวิทยฐานะต้องใช้มาตรฐานตำแหน่ง และ มาตรฐานวิทยฐานะ เป็นฐาน


           ผมมีหลักในการประเมินสมรรถนะ การเขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน (ตามจำนวนหน้าที่ ก.ค.ศ. กำหนด)  และการเขียนผลงานทางวิชาการว่าต้องดูให้สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่ง  และ มาตรฐานวิทยฐานะ   เช่น
                          มาตรฐานตำแหน่งครู   จะกำหนด  เรื่องสำคัญไว้ คือ
                ก. หน้าที่ความรับผิดชอบ     คือ   1)  การจัดการเรียนการสอน   2) การส่งเสริมการเรียนรู้   3) พัฒนาผู้เรียน  4) ปฏิบัติงานวิชาการ   5) พัฒนาตนเองและวิชาชีพ   6) ประสานผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง    7) การบริการสังคม   8) ปฏิบัติหน้าที่อื่น
                ข. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ    ที่ขยายรายละเอียดจากหน้าที่ความรับผิดชอบมีทั้งหมด  8 ข้อ  (ดูได้จากหนังสือ ว. 17  ของ ก.ค.ศ. )
 
                         มาตรฐานวิทยฐานะครู   จะนำหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานตำแหน่ง  มากำหนดคุณภาพการปฏิบัติงานซึ่งต้องครอบคลุม  3 ด้าน คือ  1) ความรู้    2) ทักษะ     และ  3) วินัย คุณธรรม   จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ   โดยแต่ละวิทยฐานะต้องแสดงให้เห็นคุณลักษณะเฉพาะวิทยฐานะนั้นที่ชัดเจน  ได้แก่
                1.  วิทยฐานะชำนาญการ     ต้องมีความรู้ระดับพื้นฐานและดำเนินการตามแนวทางที่หลักสูตรกำหนด (ทำตามแบบ) มีทักษะเหมาะสมกับหน้าที่รับผิดชอบ  และ นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน
                (ดังนั้นวิทยฐานะนี้ เขาจึงกำหนดว่าไม่ต้องส่งผลงานทางวิชาการ)
                2. วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  ต้องมีความรู้ระดับพื้นฐานและแสดงความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีการปรับประยุกต์จากแนวทางที่กำหนด  มีทักษะที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ   เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียน  และ เกิดการพัฒนาผู้เรียน
                (ดังนั้นวิทยฐานะนี้ เขาจึงต้องกำหนดให้ว่าต้องมีผลงานทางวิชาการ  1  เรื่อง )
                3. วิทยฐานะเชี่ยวชาญ  ต้องมีความรู้ในระดับสูง  มีการวิเคราะห์   สังเคราะห์   คิดค้น   วิจัย  และ นำผลไปใช้พัฒนา    มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับธรรมชาติของกลุ่มสาระที่เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียน  และ มีการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้มาตรฐาน
                (ดังนั้นวิทยฐานะนี้  จึงต้องกำหนดให้ว่าต้องมีผลงานทางวิชาการ  2 เรื่อง  โดยบังคับทำวิจัย 1 เรื่อง )
                4. วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ   ต้องมีความรู้ระดับสูง   มีการคิดค้นและพัฒนา   สร้างองค์ความรู้ใหม่   นำไปใช้พัฒนามีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง   มีการถ่ายทอดและได้รับการยอมรับ    มีทักษะที่เหมาะสมกับสาระ  และความแตกต่างของผู้เรียน   มีการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น  และสามารถพัฒนาผู้เรียนได้มาตรฐาน
                (ดังนั้นวิทยฐานะนี้ เขาจึงต้องกำหนดให้ว่าต้องมีผลงานทางวิชาการ  2  เรื่อง   โดยบังคับทำวิจัยและพัฒนา   1  เรื่อง )
 

หมายเลขบันทึก: 30184เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2006 05:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

อยากให้อาจารย์เขียนหลักในการประเมินสมรรถนะ การเขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะ ของผู้บริหาร เพราะยังมีผู้บริหารมือใหม่ที่ยังไม่ผ่านการประเมินต่าง ๆ จะได้ทราบเป็นแนวทาง

    ถ้าจะเขียนให้ละเอียดทั้งหมดคงไม่ไหว เอาเป็นว่า มาเขียนแลกเปลี่ยนความคิดกันไปเรื่อยๆดีกว่านะครับ เพราะคงมีหลายคนที่มีแนวคิดแนวทางที่สร้างสรรค์ดีดี ก็ลองแลกเปลี่ยนกันบ้าง เพื่อสร้างความรู้ร่วมกันครับ...

     ขออภัยที่ไม่ได้ลงบล็อกมาหลายวันเพราะ(23-26 พ.ค.)ไปดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันที่โคราช หนองคาย ลาว กลับมาจะมาแลกเปลี่ยนกันต่อครับ

ชัยวุฒิ สินธุวงศานนท์

บล็อกของ ศน.ธเนศ ดีมากเลยครับ เป็นการนิเทศทางไกลแบบออนไลน์ที่ดีมาก เกิดประโยชน์แก่วงการศึกษามากจริง ๆ

ผมเห็น กคศ. เค้านำเสนอคู่มือการประเมินผลงานเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะทั้งสามด้าน ในเว็บไซต์ของ กคศ. ท่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ครับ ผมเองก็จัดการแล้วครับ ท่านลองอ่านดูแล้วคิดท่านน่าจะได้สาระอะไรหลายอย่างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท