(ร่าง) โครงการอบรมนพลักษณ์เพื่อการเข้าใจตนเองและผู้อื่น (มหิดล)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

เนื่องจากการเรียน การสอนทางทันตแพทย์นั้น  ทั้งอาจารย์  นักศึกษา มีความเครียด และมีความไม่เข้าใจกันซึ่งนำไปสู่ความเครียด  ความทุกข์  ความเบื่อหน่าย  ความไม่มีน้ำใจ  ไม่ช่วยเหลือเหลือซึ่งกันและกัน  เป็นผลให้นักศึกษา  อาจารย์  และบุคลากร  เรียน  สอน  ทำงานนั้นอย่างไม่มีความสุข  นพลักษณ์  (Enneagram)  เป็นศาสตร์อย่างหนึ่งของการพัฒนาสุขภาวะ โดยเป็นศาสตร์แห่งการเรียนรู้ทางจิตวิญญาณ ผ่านการพัฒนาประสานกับจิตวิทยาสมัยใหม่เพื่อเป็นแผนที่ศึกษา อธิบาย ทำความเข้าใจบุคลิกของมนุษย์ ระหว่างบุคลิกต่าง ๆ ช่วยให้เราตระหนักถึงบุคลิกและวิธีการจัดการปัญหาของตนเองและผู้อื่น ทำให้เข้าใจเพื่อนร่วมงาน ร่วมเรียน รวมทั้งชีวิตส่วนตัวและครอบครัว ทำให้เรารู้ถึงความโน้มเอียงพัฒนาศักยภาพชั้นสูงของมนุษย์และสัมพันธ์ภาพที่เป็นสุขในชีวิตส่วนตัว การเรียน การสอน และการทำงาน    โดยนพลักษณ์ขั้นต้น  จะเป็นการทำความเข้าใจ ค้นหาลักษณ์ของตนเองผ่านกระบวนการเข้าใจต่อบุคลิกภาพพื้นฐาน และปฏิกิริยาต่อกันของลักษณ์ทั้งเก้า เช่น วิธีคิดนึก หรือการเข้าถึงความรู้สึก และพฤติกรรม การแสดงออก เพื่อนำไปสู่แนวทางเฝ้าสังเกตตนเอง รู้จุดเด่น จุดด้อย การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น เกิดสัมพันธ์ภาพที่ดีในการเรียน การสอน การทำงาน และสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างสมบูรณ์

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ (โดยละเอียด)

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)

ช่วงเวลาดำเนินการ

1. ติดต่อประสานงานกับวิทยากรและเลือกสถานที่ที่จัดกิจกรรม                                 

กรกฏาคม 2552

2. ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัคร

    -  นักศึกษาทันตแพทย์ (32-40 คน)                                     

    -  อาจารย์ และข้าราชการ (32-40 คน)

กรกฏาคม – สิงหาคม 2552

3. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้ประกอบการจัดอบรม                                                          

กันยายน 2522               

4. ดำเนินการจัดอบรมนพลักษณ์ขั้นต้น แบ่งเป็น 2 ระยะ   

    ระยะแรก                 

        ผู้เข้าร่วมโครงการ

จำนวน 32 - 40 คน ประกอบด้วย  นักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 5

        วิทยากรหลัก

คุณชัยยศ จิรพฤกษ์ภิญญโญ และ

คณะกลุ่มเพื่อนนพลักษณ์ กรุงเทพฯ

        ระยะเวลาอบรม 

2 วัน (29 - 30 กย 2552)

        สถานที่   

ห้องประชุม สมพร เรืองผกา

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ระยะที่สอง

       ผู้เข้าร่วมโครงการ

จำนวน 32 - 40 คนประกอบด้วย  อาจารย์  และข้าราชการ      

        วิทยากรหลัก

คุณชัยยศ จิรพฤกษ์ภิญญโญ และคณะกลุ่มเพื่อนนพลักษณ์ กรุงเทพฯ

        ระยะเวลาอบรม 

2 วัน (กุมภาพันธ์ - เมษายน 2553)

        สถานที่

โรงแรมปริมณฑล            

 

กันยายน 2552 - เมษายน  2553               

 

 

เนื้อหาการอบรม

-          มุ่งทำความเข้าใจความหมาย ระบบโครงสร้างนพลักษณ์ (Enneagram)  ฐานปัญหา  3  ฐาน  ได้แก่ ความฉลาดของปัญญา อารมณ์  และร่างกาย  รวมถึงการศึกษา ค้นหาบุคลิกภาพ 9 ลักษณ์ โดยศึกษา  โลกทัศน์  วิธีคิด อารมณ์พื้นฐาน แรงจูงใจ จุดเด่น  จุดด้อยประจำลักษณ์  หาแนวทางการสังเกต และการพัฒนาตนเอง และศึกษาจุดเด่น  จุดด้อยของแต่ละบุคลิกภาพ

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 301836เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

แบบสรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

โครงการอบรมนพลักษณ์เพื่อการเข้าใจตนเองและผู้อื่น

วันที่สรุปผลการประเมิน 18 ต.ค. 52

 

ประเด็นพิจารณา

ผลการพิจารณา

 ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

คำชี้แจง / การแก้ไขของหัวหน้าโครงการ (ในลักษณะข้อต่อข้อ)

  1. หลักการและเหตุผลโครงการ

(สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์  เป็นไปได้ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

1.1 แผนงานฯ ระยะที่สองได้จัดสรรงบสมทบสำหรับกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านสุขภาพองค์รวมเอาไว้แล้ว (ไม่เกินคณะละ 50,000 บาท) แต่หากจะขอรับทุนเป็นโครงการอิสระ จำเป็นต้องมีการให้ผู้เข้าอบรมทดลองนำความรู้จากการอบรมไปใช้ต่ออีกระยะหนึ่ง  (2-3 เดือน) แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนกันอีกครั้ง เหมือนเป็นแบบฝึกหัดที่ผู้เข้าอบรมจะได้มีโอกาสทดลองนำความรู้ไปใช้จริงๆ

1.2 ควรให้ความสำคัญในการนำความเข้าใจเรื่องนพลักษณ์ไปสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตของนศ. หรืออาจารย์ ว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ผู้เข้าร่วมจะมีแนวทางในการไปใช้อย่างไร

 

  1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

(เป็นไปได้  วัดได้  สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

2.1  เพิ่มวัตถุประสงค์ในการให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองนำความรู้ไปใช้กับการทำงานจริง และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

  1. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน

(สมเหตุสมผล  ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

3.1 โปรดปรับเพิ่มเติมตามวัตถุประสงค์ที่เพิ่มขึ้น

 

  1. วิธีการดำเนินโครงการ

(เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

4.1 ในส่วนของนักศึกษา มีแนวทางอย่างไรที่จะเอื้อให้นักศึกษาสนใจ อยากเข้าร่วม

หากเป็นไปได้ ควรเพิ่มการติดตามหรือแลกเปลี่ยนพูดคุยต่อเนื่องจากกิจกรรมที่มีใน workshop

4.2 ไม่แน่ใจว่าลำดับของการจัดกิจกรรม ควรทำให้แก่บุคลากรและอาจารย์ก่อนจะดีหรือไม่ เพราะจะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อนักศึกษา ซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบเชิงบวกได้รวดเร็วขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมไว้เมื่อนักศึกษาได้เรียนรู้ภายหลังจะทำให้นักศึกษาเกิดกำลังใจและมีผู้ให้คำปรึกษาหรือร่วมเรียนรู้ได้มากขึ้น

 

  1. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้

(ใช้วิจัย  KM  ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

5.1 ให้นำผลการแลกเปลี่ยนจากการทำกิจกรรมแบบฝึกหัด ภายหลังการอบรมเพื่อเขียนเล่าใน gotoknow.org/blog/ismile เพื่อเผยแพร่ในวงกว้าง

 

  1. งบประมาณ

(ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

6.1 ในส่วนของสถานที่จัดกิจกรรมสำหรับอาจารย์ หากเป็นไปได้ควรเลือกที่เอื้อต่อการประหยัดค่าห้องพักและค่าอาหารกลางวันมากขึ้น

6.2 ขอให้คณะพิจารณาสนับสนุนสมทบ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท