เครื่องทำความสะอาดน้ำมัน (OIL PURIFIER)


เครื่องทำความสะอาดน้ำมัน (OIL PURIFIER)

เครื่องทำความสะอาดน้ำมัน  (OIL PURIFIER)

1.หลักการทำงาน

            จะใช้หลักการแยกสารที่มีความถ่วงจำเพาะต่างกันซึ่งรวมตัวกันอยู่ด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์(Centrifugal Force) ทำให้เกิดการตกตะกอนเป็นชั้น ๆ ตามชนิดของสารแต่ละประเภท

            ในกรณีของการตกตะกอนจากแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง โดยให้มีแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางกระทำอยู่หลาย ๆ พันครั้งจนทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงที่มาก มันจะทำให้เกิดผลและอัตราการแยก,การทำให้บริสุทธิ์ดีกว่าทิ้งไว้ให้ตกตะกอนตามแรงโน้มถ่วงของโลกเพียงอย่างเดียว

1.1.กลไกการแยก(สิ่งสกปรกออกจากน้ำมัน)และทฤษฎี

ชุดของ Disc(รูปร่างกรวยตัดยอด)ซ้อนกันอยู่ภายใน Bowl โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแยกสิ่งสกปรก

*ชุดของ discs จะทำให้เกิดผลดังนี้ น้ำมันที่จะทำความสะอาดจะไหลผ่านช่องจ่าย(Distributor) เข้าไปยังช่องว่างระหว่าง Discs ทิศทางตามลูกศรในภาพ และเศษวัตถุแข็งจะถูกจับและแยกในช่องว่างระหว่าง Disc นี้ น้ำมันบริสุทธิ์จะถูกส่งออกด้านนอกทางช่อง Purified  liquid  outlet

1.2.รายละเอียดการแยกสิ่งสกปรกในช่องว่างระหว่าง Disc

อนุภาคของแข็งที่ปนอยู่ในน้ำมันจะขึ้นอยู่กับทั้งแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางและแรงที่เกิดจากการไหลของน้ำมัน ที่จุด a ดังที่กล่าวในทิศทาง x ของอนุภาคจะมีความเร็วของความแตกต่างระหว่างความเร็วในการไหล และส่วนประกอบแกน x ของความเร็วในการตกตะกอนอันเนื่องมาจากแรงเหวี่ยงหนีศูนย์,ขณะที่ทิศทางของ y ความเร็วของส่วนประกอบแกน y ของความเร็วในการตกตะกอน,ดังนั้นอนุภาคจะเคลื่อนตัวไปตามเส้นไข่ปลาที่แสดงในภาพ 1.2จนถึงจุด a’ บนด้านผิวหลังของ disc ดังกฎที่ว่าความเร็วของของเหลวจะเท่ากับศูนย์ ที่ด้านผิวหลังของ disc ในทิศทางแนวแกน x เนื่องจากเป็นการไหลแบบ laminar-flow ระหว่าง disc ผลก็คือ อนุภาคสิ่งสกปรก จะขึ้นอยู่กับแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางเท่านั้นและเคลื่อนเข้าไปในช่อง sludge ใน bowl เหมือนกับการลื่นไถลไปตามผิวด้านหลังของ disc  ถึงตอนนี้การแยกน้ำและอนุภาคสิ่งสกปรกออกจากน้ำมันได้เกิดขึ้นแล้ว อีกอย่างหนึ่งคือ ช่องว่างระหว่าง disc 2แผ่น ของเครื่องทำความสะอาดน้ำมันรุ่นนี้ (Mitsubishi Selfjector)เท่ากับ 0.6 mm ในทิศทางของแกน y นี่คือเหตุผลที่เครื่องทำความสะอาดน้ำมันชนิดแผ่นช่วยแยกจึงทำให้เกิดการแยกสิ่งสกปรกออกจากน้ำมันในอัตราที่สูง

 2.การเตรียมการก่อนการเดินเครื่อง

          -หลังจากมีการถอดซ่อมทำ,ทำความสะอาด ต้องแน่ใจว่า bowl ได้ประกอบกลับอย่างถูกต้อง

            -เปิดวาล์ว Operating water ทั้ง high p. และ low p. เพื่อทดสอบว่ามีน้ำออกมาหรือไม่

            -ตรวจสอบชุดยึดฝาครอบได้ขันแน่นแล้ว

            -เบรกไม่อยู่ในตำแหน่ง lock

            -เช็คปริมาณน้ำมันหล่อลื่นในห้องเกียร์

            -เช็คตำแหน่ง ปิด-เปิด ของวาล์วต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-Low p. operating water tank มีระดับน้ำที่เพียงพอและน้ำ High p. operating water มีความดันที่เพียงพอ ประมาณ 3 kg/cm2

3.การเดินเครื่อง

           3.1.ทำการ Start เครื่องตามขั้นตอนต่อไปนี้

                        -กดปุ่มเดินเครื่องที่กล่องควบคุม

                        -รอจนเข็มของแอมมิเตอร์ ตกลงมาอยู่ที่ประมาณ 10.7 A (ประมาณ 5-10 นาที)

                        -เปิด สตีมเข้าอุ่นน้ำมันที่ Oil heater (สำหรับ LO. Purifier และ HFO purifier)

-ปิด Bowl (หมายถึงปิดชุด Cylinder valve ภายใน) โดยเปิดวาล์ว Low p. operating water ไว้ตลอดเวลาขณะเครื่องเดิน

-หลังจากเติมน้ำจืดจนถึงเส้นระดับของกรวยดังภาพแล้วให้ปิดวาล์วเติมน้ำเข้าไปใน bowl

-หลังจากแน่ใจว่า อุณหภูมิของน้ำมันที่ผ่าน heater ได้เหมาะสมตามชนิดของน้ำมันแล้ว (LO=>74 °c, HFO= 85-100 °c) จึงเปิดวาล์วจ่ายน้ำมันเข้าเครื่อง

-จากนั้นเปิด feed valve จนสุดและตั้งอัตราการจ่ายน้ำมันเข้าเครื่องโดย by-pass valve ให้ความดันทางเข้าประมาณ 0.45 kg/cm2

  

3.2.ข้อควรระวังขณะเริ่มเดินเครื่อง

-ในกรณีมีเสียงผิดปกติเกิดขึ้นให้หยุดเครื่องทันทีเพื่อหาสาเหตุที่มา หลังจากทำการแก้ไขแล้วจึงเริ่มเดินเครื่องใหม่

-ชุด Bowl จะมีการสั่นมากเมื่อผ่านช่วง Critical speed ก่อนที่จะได้รอบ นี่ไม่ใช่อาการผิดปกติแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากมีความไม่สมดุลในการหมุนเนื่องมาจากข้อบกพร่องของชุด Bowl หรือชุดเพลาขับแนวตั้ง ความสั่นสะเทือนจะเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นอาการที่ผิดปกติ ในกรณีนี้ให้หยุดเครื่องโดยทันทีแล้วหาสาเหตุรวมถึงการวิธีการแก้ไขโดยวิธีที่ถูกต้อง

-กรณีไม่ได้รอบเมื่อผ่านไปแล้ว 10 นาทีให้หยุดเครื่องและหาสาเหตุ

-ขณะจ่ายน้ำมันเข้าเครื่อง เช็คความดันและกระแส ดูว่าไม่มีน้ำมันรั่วออกมาทางช่อง Sludge (เนื่องจาก bowl ปิดไม่สนิท)

 

4. การเลิกเครื่อง

          -ปิดวาล์วจ่ายน้ำมันเข้าเครื่อง

            -เลิก Oil heater

-เติมน้ำ Sealing Water เพื่อไล่น้ำมัน (ป้องกันการสูญเสียน้ำมัน เรียกวิธีนี้ว่า “Replacement”)

-เปิดน้ำ Hi. Pressure เพื่อทำการ De-sludge จะได้ยินเสียงหรือดูที่ Amp meter (เปิดค้างไว้อย่างน้อย 5 วินาที)

            -เติมน้ำเข้า Bowl แล้ว de-sludge อีกครั้งหนึ่ง

            -ปิดน้ำ Low pressure

            -หยุดเครื่อง โดยกดที่ปุ่มที่กล่องควบคุม

-ใส่เบรกได้ถ้าต้องการ(ใส่เบรกจะหยุดภายใน 11 นาที ถ้าไม่ใส่จะใช้เวลา 24 นาทีหรือมากกว่า)

5.ช่วงเวลาสำหรับการ De-sludge

            เป็นการยากที่จะตัดสินใจได้อย่างถูต้องว่าจะ de-sludge เมื่อใดเนื่องจากขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ในเรือสุมานา นารีจะใช้ช่วงเวลาตามมาตรฐานของเครื่องทำความสะอาดน้ำมันรุ่นนี้คือ

                                    HFO.Purifier และ LO.Purifier จะ De-sludge ทุก 4 ชั่วโมง(ผลัดละ 1 ครั้ง)

DO.Purifier จะ De-sludge เฉพาะเวลาเลิกเครื่องเท่านั้น (เดินเพียงวันละ 2 ชั่วโมง 0800-1000)

6.อุณหภูมิสำหรับน้ำมันที่จะจ่ายเข้าเครื่องเพื่อทำความสะอาด

            สำหรับ Mitsubishi selfjector แนะนำให้น้ำมันที่จะเข้าเครื่องมีความหนืด 24 cst ดังนั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับน้ำมันชนิดต่าง ๆ มีค่าดังนี้

 

MGO.,MDO.

40-50 °c

HFO.,IFO.(180cst@50°c) 

80-95 °c

LO.

75-80 °c

 
7.การบำรุงรักษาเครื่อง

          สำหรับ LO.Purifier และ HFO. Purifier จะถอดทำความสะอาดทุก 3 เดือนและ DO.purifier ทุกเดือน โดยถอดชุด Bowl ออกมาทั้งชุดแล้วเปิดทำความสะอาดทุกส่วนด้วยน้ำมันดีเซล clear ช่องทางผ่านของ Operating water โดยใช้เส้นลวดและลมอัดช่วย เช็ค Nozzle plug ว่าตันหรือไม่ เปลี่ยน O-ring ต่าง ๆ ที่หมดสภาพ  ถอดส่วนของ Water chamber มาทำความสะอาดด้วยซึ่งจะมีคราบตะกรันอยู่เป็นจำนวนมาก อาจใช้สารเคมีช่วยในการทำความสะอาด เคลียร์ช่องทางเดรนน้ำออกจากเครื่องเพราะถ้าหากตัน น้ำจะขังภายในและลงไปปนกับน้ำมันในห้องเฟืองได้ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยจึงประกอบกลับสังเกตมาร์คต่าง ๆ ให้ดี เช็คตำแหน่งของ Water chamber’s O-ring ให้สัมผัสกับด้านล่างของชุด Bowl ในตำแหน่งที่เหมาะสม หากกันน้ำไม่อยู่ จะทำให้ De-sludge ไม่ได้ หรือปิด Bowl ไม่สนิท

            ในส่วนประกอบอื่น ๆ ของเครื่องก็เช่นกันที่จะต้องเช็คสภาพหรือเปลี่ยน ตามชั่วโมงการใช้งานโดยประมาณได้แก่

                        1.เช็ค friction pad ทุก 6 เดือน

                        2.เปลี่ยนน้ำมันห้องเกียร์ทุก 1 ปี

                        3.เช็คชุดเพลาขับ ทั้งเพลาตั้งและเพลานอน ,เปลี่ยนลูกปืน เช็คเกียร์ปั๊มทุก 2.5ปี

 

หมายเลขบันทึก: 301835เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รบกวนถ้ามี คู่มือการใช้งานของ purifier mitsubishi sj 2000 เป็นแบบ ภาษาอังกฤษ ก็ได้ หรือ ไทยก็ได้ ถ้ามี ช่วยรบกวนส่งมาให้หน่อยได้ไหมครับ พบดีที่เรือ มีแต่ภาษา ญี่ปุ่น อ่านไม่ออก หรือมีวิธีแนะนำ รบกวน ช่วยแนะนำด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท