(ร่าง) โครงการ “รวมใจเป็นหนึ่งเดียว บัณฑิตหลังปริญญา ทันตฯ มหิดล”


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันชั้นนำสถาบันหนึ่งของประเทศไทย มีความเป็นเลิศทั้งในด้านจัดการศึกษาสาขาทันตแพทยศาสตร์, การวิจัย, การบริการทางวิชาการ, การบริการผู้ป่วย และรับใช้สังคม โดยมีหลักฐานยืนยันในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ว่าคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดอันดับจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ให้เป็นสถาบันอันดับ ๑ ของประเทศไทยที่มีจัดการเรียนการสอนด้านทันตแพทยศาสตร์ และล่าสุดจากการจัดอันดับของ QS Asian University Ranking ๒๐๐๙ มหาวิทยาลัยมหิดลยังได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ ๑ ที่ดีที่สุดของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ ๓๐ ของอาเซียนอีกด้วย

การจัดการศึกษาในระดับหลังปริญญา ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับความนิยมจากทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศสมัครเข้ามาศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก  คณะฯ ได้จัดการศึกษาทั้งหลักสูตรบัณฑิตศึกษา (ทั้งหลักสูตรทั่วไปและหลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน/เฉพาะทาง ในสาขาวิชาต่างๆ รองรับรวมทั้งสิ้น ๒๒ หลักสูตร แต่คณะฯสามารถรับเข้าศึกษาได้ประมาณ ๙๐-๑๐๐ คน/ปีการศึกษา มีนักศึกษาหลังปริญญาศึกษาสะสมในแต่ละปีประมาณ ๒๐๐ คน และสำเร็จการศึกษาปีละประมาณ ๑๐๐ คน แต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน นักศึกษาบัณฑิตหลังปริญญาที่สำเร็จการศึกษาจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังไม่เคยมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และขาดความผูกพันกับคณะฯ ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ซึ่งมีความแตกต่างกับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ยังคงมีการติดต่อ มีความสัมพันธ์ ผูกพันแนบแน่นระหว่างกัน และผูกพันกับสถาบันการศึกษาด้วยแม้ว่าจะสำเร็จการศึกษามานานแค่ไหนแล้วก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องด้วยการจัดการศึกษาในระดับหลังปริญญามุ่งเน้นด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการให้บริการผู้ป่วยอย่างมาก นักศึกษาไม่มีเวลาและขาดโอกาสที่จะเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ

ในโอกาสที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลชุดปัจจุบัน ได้กำหนดวัฒนธรรมองค์กร (Core values) ตามชื่อของมหาวิทยาลัย (MAHIDOL) โดยมีความหมายดังนี้ M = Mastery = ความเป็นมนุษย์ที่ดี, A = Altruism = เอาใจเขามาใส่ใจเรา (อตฺตานํ อุปมํ กเร), H = Harmony = มีความสามัคคี, I = Integrity = มีคุณธรรม, D = Determination = มีความมุ่งมั่น มีเป้าหมาย, O = Originality = ใฝ่รู้ สร้างสรรค์, L = Leadership = ความเป็นผู้นำ เพื่อให้บุคคลากรและนักศึกษายึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ และเป็นคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ดังนั้น ถ้านักศึกษาหลังปริญญาทุกคน ได้รับทราบและปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งมีโอกาสได้ทำกิจกรรมนอกหลักสูตรร่วมกัน จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาหลังปริญญาทุกสาขาวิชา นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ช่วยเหลือ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ในอนาคตต่อไปได้

 

 

 

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ (โดยละเอียด)

กิจกรรม

ช่วงเวลาดำเนินการ

๑.   ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับประธานหลักสูตร และนักศึกษาบัณฑิตหลังปริญญาทุกสาขาวิชา

๑-๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๒

๒.       ระยะที่ ๑

จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก

โดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อ

- สร้างความสัมพันธ์ในหมู่นักศึกษาบัณฑิตหลังปริญญาทุกสาขาวิชา

- ฝึกการทำงานเป็นส่วนรวม และส่งเสริมการติดต่อประสานงาน

- ส่งเสริมการเป็นผู้นำและรู้จักเป็นผู้ตาม

- ส่งเสริมความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองและการตัดสินใจ

 

จัดกิจกรรมวัฒนธรรมองค์กร ณ ชลพฤกษ์ รีสอร์ท จังหวัดนครนายก

โดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อ

- ปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดล และร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว

 

สำรวจแนวความคิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในอนาคต

โดยใช้แบบสอบถาม สำรวจแนวความคิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในอนาคต จากนักศึกษาบัณฑิตหลังปริญญา ทุกสาขาวิชา 

 

๓๑ ตุลาคม – ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

๓.       ระยะที่ ๒

สำรวจกิจกรรมความร่วมมือของนักศึกษาบัณฑิตหลังปริญญา ทุกสาขาวิชา  ภายหลังกิจกรรมระยะที่ ๑ โดยใช้แบบสอบถาม ทำทุกเดือนในภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๒

 

พฤศจิกายน ๒๕๕๒ – มีนาคม ๒๕๕๓

๔.       ระยะที่ ๓

- จัดทำหนังสือทำเนียบนักศึกษาหลังปริญญาที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๒ และมอบให้นักศึกษาในวันรับพระราชทานปริญญาบัตร หรือ วันรับประกาศนียบัตร เพื่อเป็นข้อมูลสร้างเครือข่ายความร่วมมือในอนาคต

- สนับสนุนให้นักศึกษาสมัครเป็นสมาชิกชมรมศิษย์เก่า คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เมษายน - กรกฎาคม ๒๕๕๓

๕.       ระยะที่ ๔

ประเมินผลโครงการ โดยส่งแบบสอบถามสำรวจความร่วมมือของเครือข่ายภายหลังบัณฑิตหลังปริญญา จบการศึกษาแล้ว ๓ เดือน

 

กันยายน ๒๕๕๓

๖.        จัดทำสรุปรายงานผลตลอดโครงการ

ตุลาคม ๒๕๕๓

 

 

หมายเลขบันทึก: 301827เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

แบบสรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

โครงการ ......... .รวมใจเป็นหนึ่งเดียว บัณทิตหลังปริญญา ทันตฯมหิดล...

รหัสโครงการ ..................................  วันที่สรุปผลการประเมิน …31 ต.ค. 52

วันที่ได้รับคำชี้แจงจากหัวหน้าโครงการ .............................................

 

ประเด็นพิจารณา

ผลการพิจารณา

 ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

คำชี้แจง / การแก้ไขของหัวหน้าโครงการ (ในลักษณะข้อต่อข้อ)

  1. หลักการและเหตุผลโครงการ

(สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์  เป็นไปได้ ฯลฯ)

 

1.1 แผนงานฯ ระยะที่สองได้จัดสรรงบสมทบสำหรับกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านสุขภาพองค์รวมเอาไว้แล้ว (ไม่เกินคณะละ 50,000 บาท) แต่หากจะขอรับทุนเป็นโครงการอิสระ จำเป็นต้องมีการให้ผู้เข้าอบรมทดลองนำความรู้จากการอบรมไปใช้ต่ออีกระยะหนึ่ง  (2-3 เดือน) แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนกันอีกครั้ง เหมือนเป็นแบบฝึกหัดที่ผู้เข้าอบรมจะได้มีโอกาสทดลองนำความรู้ไปใช้จริงๆ

1.2 ในหลักการและเหตุผล ยังไม่เห็นความชัดเจนของการนำไปสู่การเรียนรู้ที่เป็นสุขและจะทำอย่างไร  นอกจากนี้กระบวนการควรจะมีการเน้น empowerment และ participation

 

  1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

(เป็นไปได้  วัดได้  สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

2.1  เพิ่มวัตถุประสงค์ในการให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองนำความรู้ไปใช้กับการทำงานจริง และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

  1. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน

(สมเหตุสมผล  ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

3.1 การใช้ตัวชี้วัดที่เป็นการร้อยละของผู้เข้าร่วมและแบบสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาจไม่เพียงพอที่จะประเมิน

 

  1. วิธีการดำเนินโครงการ

(เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

4.1 วิธีการดำเนินงานเป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์และกิจกรรมวัฒนธรรมองค์กร ไม่ได้มีการใช้กระบวนการมีส่วนร่วม การเสริมสร้างพลังอำนาจ รวมทั้งไม่มีการสร้างเครือข่าย  ขอเสนอแนะให้มีการเพิ่มแนวทางการดำเนินงานที่เป็นการสร้างเครือข่ายนักศึกษาหลังปริญญาให้ชัดเจน

4.2 กิจกรรมระยะที่ 2 ที่เป็นการสำรวจกิจกรรมความร่วมมือระหว่างนักศึกษาหลังปริญญานั้น ไม่ได้ระบุว่า กิจกรรมความร่วมมือของนักศึกษาหลังปริญญานั้นคืออะไร  ควรออกแบบกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองนำความรู้ไปใช้กับการทำงานจริง และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

  1. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้

(ใช้วิจัย  KM  ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

5.1 รายละเอียดแนวทางการดำเนินการไม่ได้มีการใช้กระบวนการจัดการความรู้ตามที่ระบุไว้ในวิธีการสังเคราะห์ความรู้

5.2 ให้นำผลการแลกเปลี่ยนจากการทำกิจกรรมแบบฝึกหัด ภายหลังการอบรมเพื่อเขียนเล่าใน gotoknow.org/blog/ismile เพื่อเผยแพร่ในวงกว้าง

 

  1. งบประมาณ

(ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

6.1 งบประมาณเกือบทั้งหมดเป็นการใช้จ่ายในการทำกิจกรรมกลุ่มสองวันหนึงคืน ซึ่งแสดงว่า เป็นการให้ความสำคัญต่อกิจกรรมในระยะที่ 1 มากที่สุด ทั้งที่กิจกรรมระยะที่ 1 น่าจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท