(ร่าง) โครงการเสริมหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ ให้เรียนรู้วิชาเรียนรู้ชีวิต (มหิดล)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร

โครงการเสริมหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ ให้เรียนรู้วิชาเรียนรู้ชีวิต

หลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์เป็นหลักสูตรต่ำกว่าปริญญาตรี มีระยะเวลาศึกษา 1 ปี นักศึกษาที่เข้าศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักเรียนจากต่างจังหวัด หรือผู้ที่ผ่านการทำงานมาแล้ว ในระหว่างการเรียนการสอนควรมีการปรับผู้เรียนให้มีความเข้าใจตรงกันทั้งการเรียน การดำเนินชีวิตในสถานศึกษาเดียวกัน เดิมโรงเรียนไม่มีการปรับผู้เรียนแต่มีกิจกรรมตามปกติ เช่น ปฐมนิเทศน์ กิจกรรมรับน้อง กิจกรรมไหว้ครู งานกีฬา งานปีใหม่ กิจกรรมปัจฉิมนิเทศน์

   ในปีการศึกษานี้จึงมีแนวความคิดที่จะมีกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนเพื่อแนะให้นักศึกษาใหม่ รู้ถึงสิ่งที่จะศึกษา การดำเนินชีวิตในสถาบันใหม่อย่างมีความเข้าใจ มีความสุขทั้งทางกายและใจ ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตตนเองดีขึ้น ผู้คนรอบข้างมีความสุข และเนื่องจากนักศึกษามีความหลากหลาย มีตั้งแต่ผู้ที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากต่างจังหวัด ผู้กำลังศึกษาปริญญาตรี จนถึงผู้จบปริญญาตรีจึงควรมีการสำรวจความคิดความเข้าใจเดิมก่อนโดยทำแบบสอบถาม เมื่อได้ผลแล้วจะได้เลือกกิจกรรมที่จะดำเนินการให้ตรงตามความเหมาะสมและเมื่อจบโครงการนักศึกษาจะได้รับแนวความคิดที่ถูกต้องสามารถดำรงตนเพื่อประโยชน์ของตนของสังคมได้ดี และในการทำกิจกรรมนี้มีครูส่วนหนึ่งเข้าร่วมด้วยเพื่อจะได้เป็นผู้ชี้นำนักศึกษาโดยรู้พื้นฐานของนักศึกษามาแล้วจากโครงการ

   ในหลักสูตร เดิมมีวิชาพื้นฐานวิชาชีพผู้ช่วยทันตแพทย์เป็นวิชาเรียนบรรยาย 1 หน่วยกิต ซึ่งเนื้อหาน่าจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ แต่ไม่เป็นเช่นนั้น

    ในปัจจุบันสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงมาก นักศึกษาจะต้องมีการปรับตนได้และอยู่ในหลักที่ดีซึ่งจะเป็นได้ต้องมีความเข้มแข็งทางอารมณ์และปัญญาทั้งมีความรู้ทันกาลเทศะทั้งนักศึกษาที่จบและทำงานในวิชาชีพนี้จะต้องเป็นผู้บริการจึงควรที่จะได้ฝึกการมีความเห็น มีหลักการคิด มีจิตบริการ ปฏิบัติตนไปในทางที่ถูก การเรียนการสอนภาคบรรยายบางครั้งไม่ตอบสนองการเรียนรู้ของนักศึกษา และการจะปรับปรุงก็ต้องทราบเรื่องเดิม ความต้องการของผู้เรียน ความคาดหวังของสังคม ความรู้ที่ต้องการให้รู้ ทั้งหมดต้องมีการรวบรวมผสมผสานให้เป็นเรื่องเดียวกัน การร่วมทำกิจกรรมระหว่างครูกับนักศึกษา จะเป็นการที่มีเวลาร่วมกันตอบคำถามต่างๆได้ เข้าถึงนักศึกษาได้ง่าย อีกทั้งเพราะหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรระยะสั้น นักศึกษามีความหลากหลายถ้าดำเนินการสอนไปตามตารางจะไม่มีเวลาเฉพาะที่จะเข้าถึงนักศึกษาได้ จึงหวังจะใช้กิจกรรมเป็นการเสริมการเรียนและให้ประโยชน์กับนักศึกษาเพื่อจะมีการเรียนรู้วิชาและเรียนรู้การดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในทางที่ถูกที่ควร โดยคาดหวังว่าสังคมจะได้รับประโยชน์เมื่อนักศึกษาออกไปปฏิบัติงานจะเป็นที่พึ่งของสังคมได้ระดับหนึ่งหรืออย่างน้อยก็เป็นผู้ที่พึ่งตนเองได้ดีไม่เป็นปัญหากับสังคม

        การทำกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักศึกษา ครูผู้ช่วยทันตแพทย์ที่ทำหน้าที่สอนในคลินิกและอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อทั้งครูละนักศึกษาจะได้คิด เข้าใจสิ่งต่างๆในแนวเดียวกัน เข้าใจซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

          ในรายวิชาพื้นฐานวิชาชีพที่ปรับปรุงใหม่มีชั่วโมงฝึกนำเสนองาน ซึ่งมีแผนจะเป็นการให้นำเสนองานหน้าชั้นในหัวข้อที่แสดงความรู้ด้านคุณธรรม จริยาธรรม การอยู่รวมกัน การทำงานเป็นทีม การครองตน ยกเหตุการณ์ตัวอย่างมาอภิปราย

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ (โดยละเอียด)

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)

ช่วงเวลาดำเนินการ

1. สำรวจความเห็นของนักศึกษาเกี่ยวหลักสูตร การเรียน ความเป็นอยู่ ความเข้าใจสังคมในระดับโรงเรียน ระดับคณะโดยใช้แบบสอบถาม

สิงหาคม 2552

2. สัมมนาปรับความรู้พื้นฐานวิชาชีพและหลักการดำรงชีวิตในช่วงการเรียนหลักสูตร(มีโครงการปรับรายวิชาพื้นฐานวิชาชีพผู้ช่วยทันตแพทย์)

กันยายน 2552

3. สัมมนาอบรมธรรมะ จริยธรรม คุณธรรม จิตปัญญา จิตบริการเพื่อการมีชีวิต ทำงานและอยู่อย่างมีความสุข  บำเพ็ญประโยชน์ทำความสะอาดบริเวณวัด

(วัดนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัพระนครศรีอยุธยา)

ตุลาคม 2552 /2วัน1คืน

 

4. ให้นักศึกษาทำโครงงาน กระตุ้นนักศึกษาให้ดำรงชีวิตตามแนวที่สมควร

พฤศจิกายน 2552-มกราคม 2553

5. ประชุมนักศึกษาเสนอผลโครงงาน

กุมภาพันธ์ 2553/1วัน

6. ประเมินผลโครงการและรายงานผล

มีนาคม 2553

 

หมายเลขบันทึก: 301833เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

แบบสรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

 

 

ประเด็นพิจารณา

ผลการพิจารณา

 ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

คำชี้แจง / การแก้ไขของหัวหน้าโครงการ (ในลักษณะข้อต่อข้อ)

  1. หลักการและเหตุผลโครงการ

(สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์  เป็นไปได้ ฯลฯ)

ดีแล้ว

1.1  เป็นแนวคิดริเริ่มที่ดีที่ทางคณะให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้ช่วยทันตแพทย์ให้มีคุณภาพทางจิตและทางสังคมที่ดีขึ้น  นอกเหนือไปจากคุณภาพทางวิชาการ  บุคลากรกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานด้านสร้างเสริมสุขภาพของทันตแพทย์ต่อไป (คล้ายกับที่พยาบาลมีบทบาทสำคัญต่องานสร้างเสริมสุขภาพของแพทย์) จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมให้เขาเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของจิตใจ และสังคมของตนเองและคนอื่นรอบข้าง

 

  1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

(เป็นไปได้  วัดได้  สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

2.1 วัตถุประสงค์ข้อ 3. เมื่อดูจากตัวชี้วัดน่าจะเป็น “นักศึกษาสามารถปฏิบัติตามระเบียบของคณะ” ซึ่งยังไม่ใช่เป้าหมายของโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

 

 

2.2 วัตถุประสงค์ข้อ 4. น่าจะเป็นเพียงความคาดหวังหรือเป็นตัวชี้วัด ไม่ใช่วัตถุประสงค์โดยตัวของมันเอง

 

2.3 วัตถุประสงค์ข้อ 5. ดีแล้ว แต่น่าจะวัดได้ยากว่า นศ. มีแนวคิดที่ถูกต้องหรือยัง  ส่วนการวัดการทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมนั้นน่าจะวัดได้จาก port folio ของนศ.

 

 

2

  1. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน

(สมเหตุสมผล  ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

3.1 ปรับใหม่ตามวัตถุประสงค์ที่แก้ไข

แก้ไขแล้ว

  1. วิธีการดำเนินโครงการ

(เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

4.1 ขั้นตอนการดำเนินโครงการยังขาดความชัดเจนของการ empower ให้นร. ผช. ทพ. เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวของเขาเอง 

4.2 การ Empowerment ควรทำทั้งในช่วงการอบรม (ส.ค.) และภายหลังจากการอบรม เช่น ในช่วงอบรมควรออกแบบกิจกรรมเพื่อให้นร. ได้ฝึกหัดติดตามดูตนเอง  และสามารถรู้ทันตนเองเมื่อเกิดปัญหาทางจริยธรรม คุณธรรม หรือในการทำงาน  จากนั้นมีการประเมินผลระยะสั้นทันทีภายหลังการอบรมว่าเขาทำได้หรือไม่ เพียงใด

4.3 การ empowerment นร. ในระยะยาวภายหลังการอบรม เสนอให้คิดกลไกสนับสนุนให้นร. ผช.รวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่ช่วยดูแลกันเองเพื่อป้องกันปัญหาคุณธรรม และปัญหาในการทำงาน  รวมทั้งให้เขามีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นเสริมจุดที่ยังต้องการพัฒนาเป็นระยะ  การสนับสนุนในลักษณะนี้จะทำให้นร. เกิดความเข้มแข็งในตัวเองในอนาคต  และควรกำหนดวิธีการประเมินการทำงานของเครือข่ายนร. ผช. นี้

4.4 การติดตามผลน่าจะใช้วิธีติดตามอย่างต่อเนื่อง  โดยไม่ต้องมีการจัดสัมมนาอีกครั้งหนึ่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  1. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้

(ใช้วิจัย  KM  ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

5.1 โปรดให้รายละเอียดของ ขั้นตอนกระบวนการจัดการความรู้ หรือการถอดบทเรียนของโครงการนี้

 

 

  1. งบประมาณ

(ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

6.1 โปรดปรับอีกครั้งตามกิจกรรมที่เปลี่ยนไป

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท