ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา : ปัญหาหรือทางออก


นักการเมือง ต้องไม่เข้ามาครอบงำความคิด และแนวทางการปฏิบัติ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

            เมื่อวานนี้ 28  กันยายน  2552  ได้ัมีโอกาสไปร่วมสัมมนา เรื่อง ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา : ปัญหาหรือทางออก  กับคณะกรรมาธิการด้านการศึกษา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ณ  โรงแรมรอยัลริเวอร์  กรุงเทพฯ

            พิธีเปิดโดย พันเอก อภิวัน  วิริยะชัย  รองประธานสภาผู้แทนราษฎร   ข้อคิดเห็นที่ได้รับโดยสรุปจากท่านประธานในพิธีเปิด คือ 

             วันนี้ัการปฏิรูปการศึกษาของไทยยิ่งก้าวกลับยิ่งไม่ทันเพื่อน  และการนำระบบการศึกษาจากต่ีางประเทศเข้ามาเป็นต้นแบบของการศึกษาไทย  เป็นการมองเฉพาะด้าน ไม่ได้มองชีวิตความเป็นจริงของคน ชุมชนและสังคม เพราะวัุฒนธรรมของเราต่างกันกับประเทศในแถบตะวันตก

             นอกจากนั้น ยังพบว่ามาตรฐานในด้านการพัฒนาครุในปัจจุบัน  ขาดในเรื่องของการพัฒนาจิตวิญญานความเป็นครูที่ต้องติดตัวไปตลอดชีวิต  เช่น ครูต้องเสียสละ  ต้องเป็นผู้ให้ ให้ความรู้ ให้ความรักความเมตตา และปราถนาดีที่จะให้ศิษย์มีความรู้มากขึ้น เป็นคนดีขึ้น

             นี่คือมุมมองของ ข้าราชการตำรวจที่เคยเป็นครูมาก่อน (เป็นครูสอนนักเรียนตำรวจ) และปัจจุบันผันตัวเองมาเป็นนักการเมือง

             หลังจากนั้นก็เป็นเวทีเสวนาเรื่อง "ทิศทางข้างหน้ากับการศึกษาไทย"  โดยมีผุ้ร่วมรายการได้แก่ 

รศ.วิทยากร   เชีัยงกูล  คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมมหาวิทยาลัยรังสิต  

นายพารณ  อิศรเสนา ณ  อยุธยา  อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา 

ศ.ยงยุทธ  ยุทธวงศ์ ประธานอนุกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็น 

และนายเกียรติชัย  พงษ์พาณิชย์  ที่ปรึกษา บ.มติชน จำกัด 

ผู้ดำเนินรายการคือ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศึกษา

           สิ่งที่ไ้ด้รับฟังจากการเสวนา ที่พอสรุปได้ คือ 

           1.  วันนี้การศึกษาไทยมีปัญหามาก และยังแก้ไม่้ถูกทาง  การศึกษาไม่สามารถพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพได้  จบไปแล้วไม่มีงานทำ หรือทำได้แต่ไม่เก่งทักษะ  คือ รู้แต่ไม่เป็น

           2.  โครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนไป เนื่องจากมีผุ้สูงอายุมากขึ้น แต่กลุ่มวัยเรียนลดลง  จึงควรที่จะพัฒนาคุณภาพของการศึกษาให้มากขึ้น เพราะปริมาณของผุ้เรียนในขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาลดลง  นอกจากนั้น รัฐควรหันมาจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มากขึ้น  การศึกษาของคนจริง ๆ แล้วต้องเป็นการศึกษาตลอดชีวิต  คือ ตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะคนต้องเรียนรู้ในทุก ๆ เรื่อง เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

          3.  เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการศึกษามากขึ้น ต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น ให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้ทันต่อการเคลื่อนตัวของข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วในปัจจุบัน จึงต้องสร้างหรือพัฒนาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้่เพื่อให้เข้ามาวางแผน จัด และพัฒนาการศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

          4. เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเปิด จึงหนีระบบการแข่งขันกับประเทศอื่นไม่ได้  ดังนั้น จึงควรต้องมีการกำหนดเป้าหมายและทิศทางในการศึกษาว่า

             เมื่่อไร  จะพัฒนาให้คนมีความสามารถในการดูแลตนเองและแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ 

            เมื่อไร จะพัฒนาคนไทยให้สู้ได้ในระดับภูมิภาคเอเซีย

            และเมื่อไร่จะพัฒนาคนไทยให้สู้ได้ในระดับโลก

           แต่สิ่งที่้ต้องทำควบคู่กันไปก็คือ นอกจากเป็นคนเก่งแล้วต้องเป็นคนดีด้วย  และควรเป็นการเรียนรู้กันในลักษณะของทีมมากกว่าเป็นรายบุคคล

           และอีกหลายประเด็น หลายคำพูดที่ล้วนแต่มีความหมาย และก่อให้เกิดการพัฒนาต่อการศึกษาทั้งสิ้น  แต่สุดท้ายประโยคเด็ดของผู้ร่วมรายการ ก็คือ  นักการเมืองต้องไม่เข้ามาครอบงำ ความคิดและแนวทางในการปฏิบัติ เพื่้อผลประโยชน์ของตนเอง  เพราะสุดท้าย ไม่ว่าการปฏิรูปกี่ครั้ง กี่ทศวรรษก็จะสูญเปล่า  การศึกษาก็จะไม่ได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริง

           จบเบรคแรกในช่วงเช้า  เพื่อรอท่านนายกรัฐมนตรี  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ มาปาฐกถาพิเศษเรื่อง ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา ปัญหาและทางออก  ต่อไป

                       สุพรพรรณ  นาคปานเอี่ยม

                          กศน.เขตห้วยขวาง 

คำสำคัญ (Tags): #ครู กศน.
หมายเลขบันทึก: 301825เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

วันนี้ นักศึกษา ป.บัณฑิต มาปรึกษา เรื่องรายงาน  เนื้อหานี้น่ะค่ะ  ปัญหาการศึกษาไทย

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูอ้อย

ขอบคุณมากค่ะที่เข้ามาอ่าน และหากข้อสรุปบางส่วนที่ได้ร่วมสัมมนามา จะเป็นประโยชน์ต่อครูอ้อย และนักศึกษา ป.บัณฑิต บ้าง ก็ยิ่งดีใจ เพราะทำให้การเข้าร่วมสัมมนาไม่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ต่อไปก็จะเป็น ช่วงที่สอง ที่ท่านนายกรัฐมนตรี มาปาฐกถา ค่ะ

สุพรพรรณ นาคปานเอี่ยม

กศน.เขตห้วยขวาง

ยังไงก็ยังไม่เปลี่ยน เพราะการเปลี่ยนแปลงมักจะสร้างความเจ็บปวด เกิดแรงต้านลึก ๆ

ระบบแพ้คัดออกยังมีอยู่ มหาลัยก็ไปอีกทาง การศึกษาพื้นฐานก็ไปทางหนึ่ง ขาดทิศทางพัฒนาคนอย่างแท้จริง

" นักการเมืองต้องไม่เข้ามาครอบงำ ความคิดและแนวทางในการปฏิบัติ เพื่้อผลประโยชน์ของตนเอง เพราะสุดท้าย ไม่ว่าการปฏิรูปกี่ครั้ง กี่ทศวรรษก็จะสูญเปล่า การศึกษาก็จะไม่ได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริง" คือประโยคทองที่สะท้อนความจริง

สุดท้ายอะไรก็ได้ ครูไทยไม่หวั่นกับการเปลี่ยนแปลง เพราะชินเสียแล้ว

สงกรานต์...พี่น้องครับ

..............................................การศึกษา และการพัฒนาการของคนไทยให้เก่งเท่าไรก็ไม่มีทางไปเทียบเท่ากับชาติตะวันตก

.........ได้ ในเรื่องการประกอบอาช๊พ ก็เพราะรัฐบาลไม่นำความรู้ที่เรา"เก่ง" มากๆๆๆๆๆๆในหลายๆด้าน ไปต่อยอดทำอาชีพ

...........นำเม็ดเงินเข้าสู่เมืองไทย เช่น นักศึกษาของไทย ไปประกวดหุ่นยนต์ ได้อันดับ1 มา4-5 ปี แต่รัฐบาลไม่นำมาสร้าง

..........เป็นอุตสาหกรรมของตนเอง กลับปล่อยนักศึกษาเหล่านั้นไปอยู่กับชาติอื่น ทั้งๆที่เรามีศักยภาพที่จะทำได้(และดีเสียด้วย)

..........อันดับหนึ่งของโลก4-5ปี ไงล่ะ ที่เป็นตัวการันตี

..........................................................................9745-5023-0161-6..........................................................

...พูดไปก็เปล่าประโยชน์ ถ้าไม่นำสิ่งที่พูดมาปฏิบัติตาม...

 ธัมมะสวัสดีครับ

ปฎิรูปกันในกระดาษ สู้การปฎิวัติในระดับรากหญ้าไม่ได้หรอกครับ

น่าสงสารประเทศไทย เด็กไทยครับ

ที่เรื่องดีๆเหล่านี้ต้องทำกันแบบแอบๆทำ...

 



 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท