(ร่าง) โครงการ สุขภาพทางเลือก เพื่อสุขภาวะ (ม.เชียงใหม่)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

           จากสถานการณ์ด้านสุขภาพในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคจากการระบาดของเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งมีการระบาดที่รวดเร็วและรุนแรง  หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสมก็ตาม ล้วนทำให้เป็นโรคที่มีการรักษาที่ยากมากขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็งต่างๆ หรือแม้แต่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ต้องมีเครื่องมือ ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษา ซึ่งนั้นก็หมายถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาที่แพงมากขึ้น ในผู้ที่มีเศรษฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี โอกาสทางเลือกในการรักษาในทางแพทย์แผนปัจจุบันจึงเป็นไปด้วยความลำบาก ยากที่จะเข้าถึง ทำให้คุณภาพชีวิตในการรักษาแย่ลง

         การแพทย์ทางเลือกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการรักษาในอีกรูปแบบหนึ่ง หรือมีแนวคิดความเชื่ออีกแบบหนึ่งในการดูแลสุขภาพ ซึ่งแม้อาจจะไม่สามารถรักษาโรคได้อย่างรวดเร็วเหมือนแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ก็เชื่อได้ว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจจะสามารถที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย มีคุณภาพชีวิตที่ไม่แย่ลงไปกว่าเดิมหรือผู้ที่ต้องการดูแลตนเองให้มีสุขภาวะที่ดี ก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งก็ได้

      ดังนั้นในการเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติตนเองเพื่อให้มีสุขภาวะที่ดีและเหมาะสมแก่ตนเองนั้น ก็ต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้และความสามารถของผู้รู้ต่างๆ มาคัดสรรให้เหมาะสมกับจริตของตนเอง หรือกลุ่มของตนเอง เพื่อเพิ่มและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ตั้งแต่ผู้ที่ยังมีสุขภาพที่สมบูรณ์ หรือแม้แต่ผู้ที่เจ็บป่วยก็ตาม ซึ่งควรที่จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์อันมีคุณค่าซึ่งกันและกัน นั้นก็ย่อมหมายถึงการสร้างเสริมให้ตนเองมีสุขภาวะที่ดีนั้นเอง   

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ หรือระเบียบวิธีวิจัย (โดยละเอียด)

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)

ช่วงเวลาดำเนินการ

1. ประชุมระดมสมองเพื่อร่างโครงการในกลุ่มบุคลากรของคณะและผู้สนใจ

ในสุขภาวะ  เพื่อขออนุมัติโครงการ

สิงหาคม 2552

2.  เสนอขออนุมัติจัดทำโครงการ  สุขภาพทางเลือก เพื่อสุขภาวะ

สิงหาคม 2552

3. จัดตั้งคณะผู้ดำเนินงานที่ประกอบด้วยบุคลากรของคณะและผู้สนใจใน

สุขภาวะต่างๆ จากกลุ่มอื่นๆ

กันยายน  2552

4. ประชุมระดมสมองวางแผนการดำเนินงานในกลุ่มบุคลากรของคณะและ

ผู้สนใจในสุขภาวะ

กันยายน  2552

5. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างกระแสการส่งเสริมสุขภาพทางเลือก/สุขภาวะ

ตุลาคม  2552

6. ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ร่วมกัน

ตุลาคม  2552

7. แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้ร่วมกันในเรื่อง สุขภาพทางเลือก

เพื่อสุขภาวะกับผู้รู้ต่างๆ จำนวน  12  ครั้ง

ตุลาคม 2552 –

ตุลาคม 2553

8. สรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 1

เมษายน  2553

9. ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ร่วมกันต่อ

เมษายน  -  ตุลาคม   

2553

10. สรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 2

กันยายน   2553

11.  สรุปผลการเรียนรู้ส่ง  สสส.  ปิดโครงการ

ตุลาคม  2553

12.  โครงการดำเนินต่อไปโดยคณะกรรมการผู้ดำเนินงาน

ตุลาคม  2553

 

หมายเลขบันทึก: 301829เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

แบบสรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

 

ประเด็นพิจารณา

ผลการพิจารณา

 ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

คำชี้แจง / การแก้ไขของหัวหน้าโครงการ (ในลักษณะข้อต่อข้อ)

  1. หลักการและเหตุผลโครงการ

(สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์  เป็นไปได้ ฯลฯ)

ดีแล้ว

 

 

  1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

(เป็นไปได้  วัดได้  สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

2.1 ยังมีความสับสน/ความไม่ชัดเจนระหว่าง การเขียนวัตถุประสงค์และการเขียน “ผลที่คาดว่าจะได้รับ”  จะเห็นได้ว่า ข้อ 2 และ 4 เป็นการเขียนในลักษณะ “ผลที่คาดว่าจะได้รับ” ควรปรับคำที่ใช้ (wording) เพื่อให้เกิดความชัดเจน และ มีลักษณะที่เป็นวัตถุประสงค์ (โปรดดูรายละเอียดในข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ด้านล่าง)

 

  1. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน

(สมเหตุสมผล  ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

3.1 ยังมีความไม่ชัดเจนในการวัด ว่าจะวัดอย่างไร ยังมีความสับสนในระหว่าง ตัวชี้วัดความสำเร็จและวิธีการวัด  พบว่า ในช่องที่เขียนด้านบนว่า ตัวชี้วัดความสำเร็จ และ วิธีการประเมินตัวชี้วัด นั้น เมื่อพิจารณาเนื้อหาที่เขียนไว้ทั้งสองช่อง พบว่า สามารถนำเนื้อหามารวมกันได้ หรือ จัดให้อยู่ภายใต้หัวข้อที่ 2 คือ ตัวชี้วัดความสำเร็จ สำหรับช่องที่เขียนว่า วิธีการประเมินตัวชี้วัดนั้น ควรระบุว่า จะใช้วิธีการอะไรในการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัดที่ระบุไว้ในช่องที่ 2 เช่น การใช้แบบสอบถาม การสังเกต การจัดประชุมกลุ่มย่อย  การสนทนาแบบไม่เป็นทางการ ฯลฯ ควรพยายามประเมินทั้งแบบเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ  (ดูรายละเอียดด้านล่าง)

 

  1. วิธีการดำเนินโครงการ

(เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

4.1 กิจกรรม ยังไม่ค่อยชัดเจน ยังมองไม่ค่อยเห็นว่า จะทำอะไร อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมข้อที่ 6 และ 7 ควรระบุด้วยว่า จะทำอะไร การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับสุขภาพทางเลือก ทั้งหมด 12 ครั้งนั้น ควรมีการระบุรูปธรรมว่าใช้วิธีใดในการแลกเปลี่ยน  อาจจะ ยกตัวอย่างให้เห็นประมาณ 2-3 ตัวอย่าง/2-3 ครั้ง

4.2 ควรมอบหมายแบบฝึกหัดให้ผู้เข้าฟัง ไปลองคิดดูว่าตัวเองจะนำเอาแนวคิดสุขภาพทางเลือกที่หลากหลายไปใช้อย่างไร  ให้ลองนำไปใช้ดู แล้วสัก 2-3 เดือน กลับมาแลกเปลี่ยนกันอีกครั้ง (สามารถตั้งงบประมาณในส่วนนี้เพิ่มเติมได้)

 

  1. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้

(ใช้วิจัย  KM  ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

5.1 ควรเล่าเรื่องแนวคิด  วิธีการดำเนินงาน และประสบการณ์ที่ได้รับ ไว้ในบล็อก gotoknow.org/blog/ismile

 

  1. งบประมาณ

(ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

เหมาะสม

6.1

6.2

6.3

6.4

 

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  1. วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ควรปรับเป็น....เพื่อส่งเสริมและสร้างบรรยากาศให้บุคลากรในคณะและผู้สนใจทั่วไปมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเอง
  2. วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 ควรปรับเป็น.....เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในคณะและผู้สนใจทั่วไปเกิดการเรียนรู้ในการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง
  3. การวัดสุขภาวะ รวมทั้ง การวัดการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การวัดการเรียนรู้ด้านสุขภาพทางเลือก นั้น ถ้าต้องการวัดในเชิงปริมาณ ควรทำเป็นดัชนีองค์ประกอบ (composite index) ว่าจะดูจากอะไรได้บ้าง (1,2,3, 4) ยกตัวอย่างเช่น การวัดสุขภาวะ จะดูจากอะไรได้บ้างว่าคน ๆ หนึ่งมีสุขภาวะมากน้อยแค่ไหน หรือจะใช้วิธีถามจากผู้รับประโยชน์จากโครงการนี้เอง ซึ่งจะเป็น การวัดสุขภาวะ จากมุมมองของผู้รับประโยชน์เอง อันที่จริง เราสามารถดำเนินการได้ทั้ง 2 วิธีไปพร้อม ๆ กัน (ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ และจากทั้งมุมมองของผู้ดำเนินการ และมุมมองของผู้เข้าร่วม-ผู้รับประโยชน์)  แต่ผู้ดำเนินโครงการ ฯ จำเป็นจะต้องคุยกันก่อนด้วยว่า จะวัดผลลัพธ์แต่ละด้านดังกล่าวข้างต้นอย่างไร ดูจากอะไร  กล่าวคือ จำเป็นจะต้องมีการทำสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรม สำหรับการประเมินเชิงคุณภาพ ก็อาจจะให้ทางผู้รับประโยชน์-ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สะท้อนว่า เขามีสุขภาวะไหม ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง รวมทั้ง การดูแลสุขภาพที่เหมาะสมก็เช่นกัน เขาคิดว่า เขามีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมแล้วหรือยัง เพราะอะไร อย่างไร ทำไม และเขาจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ฯลฯ
  4. ควรมีการจัดกลุ่มพูดคุยกันระหว่างผู้ดำเนินโครงการ กับกลุ่มผู้รับประโยชน์ต่าง ๆ ว่า สถานะสุขภาพของแต่ละคน แต่ละกลุ่มตอนนี้เป็นอย่างไร และถ้าจะดำเนินการตามแนวคิดหลัก หรือ ข้อเสนอของโครงการนี้ จะดีหรือไม่ สนใจไหม เพราะอะไร และจะทำอะไรร่วมกันได้บ้าง ทำอย่างไร วัดอย่างไร ฯลฯ 
  5. การเตรียมการและการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องนี้กับกลุ่มผู้รับประโยชน์ หรือ กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้การดำเนินงานร่วมกันราบรื่น เนื่องจากคนจำนวนมากมีส่วนร่วมในการกำหนดตั้งแต่ต้น ถ้าทำตรงนี้ได้ และมีการบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ เท่ากับสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง ผู้ดำเนินโครงการ จะต้องเชื่อในพลังและศักยภาพของผู้รับประโยชน์ เปิดให้เกิดการคิดร่วมกัน ทำร่วมกัน ประเมินผลร่วมกัน หรือทำให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเกี่ยวกับเรื่องที่จะดำเนินการร่วมกัน โดยการสื่อสารเกี่ยวกับแนวคิดหลักของโครงการให้ชัดเจน และรับฟังทุกเสียง จะทำให้เกิดความสำเร็จได้ง่าย ทำแล้วสนุก ได้ผลดี ไม่เหนื่อย ทุกคนอยากเข้าร่วม และสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือมีพลังขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่องต่อไปในระยะยาว
  6. อันที่จริง โครงการนี้น่าสนใจ และ คำหลัก-แนวคิดหลักต่าง ๆ ที่ใช้ในโครงการ (key words and key concepts) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ  ถ้ามีการดำเนินการด้วยความระมัดระวัง มีความเป็นระบบ มีความชัดเจนในด้านต่าง ๆ ทุกขั้นตอน ดังที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น โดยเฉพาะ การปรับวิธีการวัดผลแบบมีส่วนร่วม จะเป็นโครงการที่ดีมาก แต่ถ้าไม่มีการปรับตามข้อเสนอแนะ คิดว่าจะเป็นโครงการที่เกิดขึ้น มีการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง แล้วอาจหายไป หรือ มองไม่ค่อยเห็นผลในระยะยาว จึงควรปรับโครงการให้มีความชัดเจน เพื่อให้เกิดผลที่แท้จริง ที่ทุกคนภูมิใจและขอเป็นกำลังใจให้ด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท