หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

ส่งการบ้าน ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ


ส่วนบทเรียน/ความรู้ นี้เกี่ยวข้องกับโจทย์ที่ผมถาม ดร.บัญชาไว้อย่างไรนั้น ตอนแรกคิดว่าคิดออกแล้ว ย้อนมาดู “เห่ย !!!! มาก” ขอคิดอีกตลบ แล้วจะนำมาแบ่งปันครับ

อันเนื่องมากจากการจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจในศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์ ของ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่เป็นมากกว่านักวิทยาศาสตร์ ในการ

ผมได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง ดร.บัญชา รวมถึงกัลยาณมิตรใน GotoKnow (ดูรายละเอียดที่นี่ครับ) หลังจากกัลยาณมิตรเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนหนึ่งแล้ว ดร.บัญชา ได้กรุณาเขียนบันทึกตอบจดหมายผมเป็นตอนที่ ๑ (ดูรายละเอียดที่นี่ครับ)

และคาดว่าจะมีต่ออีกหลายตอน ในจดหมายนั้น ดร.บัญชา มิได้ตอบคำถามผมโดยตรง แต่ตอบผ่านแบบฝึกหัดข้อนึง ซึ่งบรรดาสมาชิกเข้าไปทำแบบฝึกหัดข้อนั้นอย่างอุ่นหนาฝาคั่งรวมทั้งผม ที่สุดแล้ว ดร.บัญชา มีคำถามให้ไปทำการบ้าน

(๑) ข้อคิดจากปัญหานี้คือ...(เติมเองตามที่เข้าใจ & รู้สึก)...

(๒) ข้อคิดข้างบนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ดังนี้...(เติมเองตามที่เข้าใจ & คิดว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น)...

แม้ว่าผมจะได้รับการจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจในศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์ มาจาก ดร.บัญชา ดังที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น แต่ก่อนหน้านั้นผมกับวิทศาสตร์เป็นไม้เบื่อไม้เมามายาวนาน ตอนเรียน ม.๔ ติดศูนย์ ทั้ง เคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยา

จึงจนด้วยเกล้าที่จะตอบข้อ (๒) ได้ จึงขอทำการบ้านส่งโดยการตอบข้อ (๑) เพียงข้อเดียว

ส่วนว่าจะได้คะแนนเท่าใด ตกหรือผ่านก็สุดแท้แต่ ดร.บัญชา

สำหรับคำตอบต่อคำถามข้อ (๑)

ผมถามตัวเองว่า ผมได้เรียนรู้อะไรจากคำถามข้อนี้

(๑)   ผมคิดว่าคำถามแบบนี้ใช้อ่านความคิด วิธีคิด วิธีมองโลก ของผู้ตอบจากความคิดแว๊ปแรกได้ หากให้ผู้ตอบตอบทันที ผมเชื่อว่าการใช้หรือสร้างเกณฑ์ของคน ๆ หนึ่ง สัมพันธ์เชื่อมโยงกับความคิด วิธีคิด วิธีมองโลก อันเนื่องมาจากประสบการณ์ ความคุ้นเคยในชีวิต

(๒)   คิดไปคิดมายังอาจใช้อ่านและทำความเข้าใจผู้ตอบคำถามกรณีให้ใช้เวลาโดยไม่ใช้ความคิดแว๊ปแรกได้เหมือนกัน คือ อาจประเมินความสามารถทางการคิดของผู้ตอบได้

(๓)   คำตอบจากความวิดแว๊ปแรกของผม ผมเลือกรถยนต์ เนื่องจากทุกอย่างเป็นสัตว์ มาจากการสร้างของธรรมชาติ แต่เมื่อคิดต่อพบว่าคำตอบไม่ถูก... ความวิดแว๊ปแรกของผม ผมได้บทเรียนว่า ความคิดแว๊ปแรกไม่ถูกต้องเสมอไป (นั่นหมายถึงความรู้และประสบการณ์ของเราไม่อาจใช้ในบางสถานการณ์ แม้ว่าจะมั่นใจอย่างแรง)

(๔)  ในการหาความต่างจากพวก ดังเช่นโจทย์คำถามนั้น เราต้องหาเกณฑ์ที่แบ่งออกเป็นสองพวก สิ่งใดที่มีคุณสมบัติตรงกันจับไว้ด้วยกัน ส่วนใครมีสมบัติไม่เข้าพวกสิ่งนั้นคือคำตอบ

(๕)  แท้ที่จริงแล้ว มนุษย์สร้างเกณฑ์ขึ้นมามากมายในการจำแนกแยกแยะ เท่าที่ผมพิจารณาจากคำตอบในแบบฝึกหัดที่กัลยาณมิตรตอบคำถาม ดร.บัญชา ผมประมวลได้ดังนี้ครับ (มิได้เรียงลำดับตามความมากน้อย หรือสำคัญ นะครับ)

      - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์องค์ประกอบภาพ เช่น การเลือก ช้าง เพราะเป็นภาพที่อยู่ในกรอบ

      - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์การสื่อความหมาย เช่น รถยนต์ไมสื่อความหมายถึงสัตว์, หรือ B คำ/ความหมายมาจากการหยิบยืม

      - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์การกำเนิด (จากธรรมชาติ และจากเทคโนโลยี) เช่น การเลือกช้างเนื่องจากธรรมชาติสร้าง

      - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ลักษณะการเคลื่อนที่/เคลื่อนไหว เช่น โดราเอมอน สาสมารถบินได้ขณะที่สิ่งอื่นทำไม่ได้, รถยนต์ที่เคลื่อนที่ได้เพียงเดินหน้าถอยหลัง ขณะที่สิ่งอื่นเคลื่อนที่ได้รอบทิศทาง ฯลฯ

      - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์อากัปกริยา การกระทำ เช่น กิริยาตกใจของหนูในขณะที่อื่น ๆ ยิ้ม-หัวเราะ, ลักษณะการส่งสายตาของ D, การไม่ยิ้มของของ B ฯลฯ

      - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ประโยชน์การใช้งาน เช่น โดราเอมอนมีประโยชน์ที่มากว่ายานพาหนะ และเรื่องพาหนะมิใช่คุณค่าหลัก

      - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ Time เช่น โดราเอมอน มาจากโลกอนาคต นอกนั้นอยู่ในโลกปัจจุบัน

      - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ Space เช่น หนูลอยอยู่บนพื้น, รถยนต์แตะพื้น ๔ จุด

      - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์การดำรงอยู่ เช่น ทุกสิ่งดำรงอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ส่วน โดราเอมอนอยู่ในโลกจินตนาการ

      - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ลักษณะและวิธีการใช้งาน เช่น C ใช้งานคู่กับสิ่งอื่น

     - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์เพศ เช่น ช้างน่าจะเป็นสิ่งเดียวที่มีเพศเมีย/หญิง

     - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ความสามารถ/คุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น รถยนต์มองเห็นข้างหลังได้โดยไม่ต้องเหลียว

     - พิจารณาโดยใช้เกณฑ์จากองค์ประกอบย่อย เช่น มีขนหรือไม่ มีเครื่องแต่งกายหรือไม่

     - ฯลฯ

(๖)   คำถามข้อนี้ใช้เกณฑ์ในการแบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากส่วนใหญ่ ในขณะเดียวกันตัวเลือกเดียวกันนี้อาจตั้งคำถามอื่นได้ เช่น ข้อใดเป็นพวกเดียวกัน ฯลฯ

(๗)  การสร้างเกณฑ์ขึ้นมาแบ่งแยก แน่นอนว่าเป็นประโยชน์ แต่หากไม่มีสติปัญญาอาจจะกลายเป็นการแบ่งแยกด้วย ไม่เป็นผลดีต่อความต้องการสมานฉันท์ในสังคม

(๘) บทเรียนข้อนี้ค่อนข้างสำคัญครับ เกือบทุกคนหาคำตอบโดยใช้เกณฑ์ซึ่งเป็นหลักการทางนามธรรม ทั้งที่สามารถหาคำตอบได้อีกแบบหนึ่งคือ จำแนกแจกแจกคุณสมบัติ/คุณลักษณะรูปธรรมของแต่ละตัวเลือก แล้วมาหาจุดร่วมจุดต่าง ซึ่งผมใช้วิธีนี้ในคราวหลังทำให้ได้คำตอบที่หลากหลายมากมาย 

(๙) ความสามารถในการคิดของคน มีพื้นฐานทางหลักการ/ทฤษฎี ยิ่งมีมาก (หากไม่ยึดติด) ก็จะยิ่งคิดได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น 

(๑๐) ส่วนบทเรียน/ความรู้ นี้เกี่ยวข้องกับโจทย์ที่ผมถาม ดร.บัญชาไว้อย่างไรนั้น ตอนแรกคิดว่าคิดออกแล้ว ย้อนมาดู “เห่ย !!!! มาก” ขอคิดอีกตลบ แล้วจะนำมาแบ่งปันครับ

ผมยังมิได้ตอบคำถามข้อ (๒) ดร.บัญชา แต่ถ้าโจทย์นี้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ผมว่า วิทยาศาสตร์สนุกโคตร ๆ และมีความงามจริง ๆ ครับ

หมายเลขบันทึก: 300962เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2009 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ตามมาอ่าน ทำความเข้าใจอย่างช้าๆครับ

ผมสนับสนุนครับ สำหรับ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สนุก เคยดูงานของ สกว.ชิ้นหนึ่งเรื่อง วิทยาศาสตร์ ที่ครูกับเด็ก เรียนรู้ร่วมกัน ดีมากๆเลย

เอ้า...ผมเป็นกำลังใจให้พี่ ๑ เสียง และ ยกมือ สองมือเลยครับ

 

P

สวัสดีครับ พี่ณัฐรดา

ขอบคุณที่แวะมาดูครับ

จะช่วยตรวจการบ้านคู่กับ ดร.บัญชา ก็ได้นะครับ

  

P

ขอบคุณครับ เอก - จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ผมตั้งใจจะหกลับไปทำเนื่องนี้กับโรงเรียนในชนบทสักสองสามแห่ง ที่ จ.ตาก บ้านเกิด

เนื่องจากในบางพื้นที่น่าจะดึงเอา อบต. เข้ามามีส่วนร่วมได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่รู้จักคุ้นเคยกับ นายก และ ปลัด อบต.

เมื่อวานคุยกับพี่คนนึง แกบอกว่าจะช่วยหาสปอนเซอร์ให้ครับ

แวะมาอ่านทั้งจดหมายเปิดผนึก บันทึกตอบ รวมทั้งการบ้านที่คุณหนานเกียรติส่ง ดร.บัญชา ค่ะ

เป็นวิทยาศาสตร์ที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่การท่องจำอย่างเดียวจริงๆ ด้วย

ขอบคุณค่ะ สำหรับความคิดต่อยอดดีๆ.....

พี่หนาน คะ... จะเอาไปสอนเฌวา หรือคะ พี่

ไปอ่านบันทึกพอลล่าหรือยังคะ ยังไม่เห็นเม้นเลยอ่ะ พี่พลาดได้ไงเนี่ย...

เรียนเก่งนะเนี่ยหนานเกียรติ..น่ะ..

มาเม้นแล้วรอบนึงนะพี่ ...ไม่มีความเห็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เพราะเรียนเก่งอ่ะ อิอิ

เพิ่งมาเข้าใจตัวเองตอนโตว่าชอบศิลปะ แต่เรียนวิทย์มาตลอด เพราะครูเห็นว่าเรียนเก่ง ห้องคิงส์ ต้องวิทย์ คณิต อ่ะสิ อิอิ

คุณหนานเกียรติครับ

        ตอบได้เป็นระบบดีจัง ไว้ผมจะหาโอกาสมาแสดงความคิดเห็นบ้าง (ในฐานะคนแหย่ประเด็น...555)

       แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น มีโจทย์ #2 โผล่มาแล้วครับ ถ้าเคยเห็นแล้ว อยากจะให้ลองคิดในมุมอื่น แต่ถ้าไม่เคยเห็นมาก่อน เชื่อว่าข้อนี้ "เข้มข้น" กว่าข้อแรกแน่ๆ (แกม "พิศวง" ด้วย...)

                    

                002) โจทย์ข้อ 2 สำหรับ คุณหนานเกียรติ & เพื่อนๆ GotoKnow ทุกคน

 

            ชวนเพื่อนๆ ชาว GotoKnow ไปลองเล่นดูนะครับ ^__^ (รวมทั้งคุณ Paula และคุณหมอดาว blue star ด้วย...อิอิ)

 

P สวัสดีครับ คุณ blue_star

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

ดีใจมากครับที่สนใจและชอบ น่าจะมีบันทึกต่อเนื่องอีก ติดตามต่อไปนะครับ

 

P

น้อง ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

เรื่องสอนวิชาการ ผมยกให้แม่ ยาย และโรงเรียน

หน้าที่ผมสอนวิชาชีวิตให้เฌวาครับ

ขอบคุณหลายครับที่แวะมาเยี่ยม

 

P คุณพี่ อ้อยเล็ก

เก่ง เกิ่ง อะไรกันพี่

เรียน ม.๔ ติดศูนย์ ๖ ตัว ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิตทั้งสองและอังกฤษ

ต้องออกไปเรียน ปวช. เรียนปวช.ก็เกือบจะไม่รอด ต้องรีเกรดทั้งมีมีคะแนนช่วยทุกวิชา ๑๐ คะแนน (เป็นนักดนตรีโรงเรียน) เรียน ปวส.ก็ไม่จบ...

มาได้ดิยได้ดีตอนบวชเรียนนี่แหละ จบราชภัฏเชียงใหม่ครับคุณพี่

 

P สวัสดีครับ อ. บัญชา ธนบุญสมบัติ

เข้าไปรับโจทย์ข้อสองมาแล้ว ตอบโพล่งไปเร็ว ๆไปแล้ว (นิสัยไม่ค่อยดีเลยครับ ไม่รอบคอบ น่าจะผิดหลัการทางวิทยาศาสตร์...)

กลับไปอ่านอีกรอบ พบว่าผมคิดตื้นไป ผิวเผินมาก ยิ่งกลับมาอ่าน comment นี้แล้ว ยิ่งเห็นว่าโจทย์นี้ไม่ธรรมดา

ตอบแบบธรรมดา เสียชื่อ "ครู" หมด

พรุ่งนี้ตอบใหม่นะครับ

ช่วยกันตอบอาจารย์บัญชานะสองหัวดีกว่าหัวเดียว..มองไกลเป็นภาพเดิม หญิง ชายแก่ แต่ถอยออกไปไกลๆๆติดผนังห้องโน้นละ จะเห็นภาพแรกเป็นชาย ภาพสองเป็นหญิงสวยมากค่ะ..ถูกมั้ยๆๆ...

 

P คุณครู rinda

"ช่วยกันตอบอาจารย์บัญชานะสองหัวดีกว่าหัวเดียว..มองไกลเป็นภาพเดิม หญิง ชายแก่ แต่ถอยออกไปไกลๆๆติดผนังห้องโน้นละ จะเห็นภาพแรกเป็นชาย ภาพสองเป็นหญิงสวยมากค่ะ..ถูกมั้ยๆๆ..."

ว้า...เห็นช้าไป ไม่งั้นช่วยกันคิดได้เยอะกว่านี้แน่ ๆ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท