การจัดการความรู้ของคณะสาธารณสุขศาสตร์


เจ้าหน้าที่ของคณะฯ จะเข้าใจ KM มากยิ่งขึ้น และนำเทคนิค เครื่องมือ วิธีการต่างๆ มาพัฒนางานประจำต่อไป ซึ่งก็คือการได้ทำ KM โดยไม่รู้ตัว

               สวัสดีค่ะ นี่เป็นครั้งแรกของดิฉันที่เข้ามาเขียนบล็อก ทั้งๆ ที่สมัครมาตั้งนานแล้วค่ะ (เฮ้อ...ทำไมเราล้าหลังอย่างนี้นะ  -_-'') ยังไงก็ขอฝากตัวเป็นน้องใหม่ด้วยคนนะคะ การเขียนครั้งแรกนี้ ก็เลยถือโอกาสนำเรื่องการทำ KM ของคณะฯ มาเล่าต่อๆ กันค่ะ 

               คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้นำการจัดการความรู้มาประยุกต์ในการจัดโครงการสัมมนาการปฏิบัติงานของคณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อพัฒนางานของคณะฯ โดยเราเดินทางไปที่ จ.ระยอง ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ของคณะฯ ทุกคน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ คณบดีได้แจ้งให้หัวหน้างานจัดประชุม พูดคุยกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับงานของตน ว่าการทำงานเป็นอย่างไร และมีปัญหาอุปสรรคขัดข้องอะไรบ้าง ที่เป็นข้อจำกัด จะแก้ไขได้อย่างไร และมีเป้าหมายของการพัฒนางานอย่างไร หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มแยกกันพูดคุยตามงาน และส่งผู้แทนนำเสนอ สรุปท้ายด้วยการเล่าเรื่องที่แต่ละงานภูมิใจ และคิดว่าตนเองทำได้ดี ซึ่งก็คือ ใช้วิธีการเล่าเรื่อง (Dialogue) ที่เป็น Best Practice ของตนเอง ร่วมกับใช้เทคนิค Deep Listening
                หลังจากนั้น ได้นำมาดำเนินการต่อกันที่คณะฯ อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการกำหนดโจทย์ในการพัฒนาร่วมกัน “ทำอย่างไร คะแนนเฉลี่ยองค์ประกอบคุณภาพ เท่ากับ 4.5” นำข้อมูลที่พูดคุยกันในวันที่ไปสัมมนา คือ งานที่ทำ ปัญหาข้อขัดข้อง สิ่งที่จะพัฒนา งานที่ตนภูมิใจ และเพิ่มเติมข้อมูล สรุปแนวทางการแก้ไขตามข้อเสนอแนะจาก CAR ปี 2547 ของสำนักงานเลขานุการคณะฯ และของคณะฯ ที่หน่วยประกันคุณภาพการศึกษาสรุปมาประกอบกัน ให้ผู้บริหาร หัวหน้างานแต่ละคนพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ในการประชุมวันที่ 4 เมษายน 2549 โดยมีรองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย (Knowledge facilitator) และ คุณจิตติพร ผู้ดูแลงานประกันคุณภาพการศึกษาของคณะฯ เป็น คุณกิจ (Knowledge Practitioner) ผู้บริหาร หัวหน้างาน ที่ดูแลในแต่ละองค์ประกอบ ผลัดกันเล่าเรื่องของตนในแต่ละประเด็น ใช้เทคนิคการรวบรวมความคิด โดยวิธีการระดมสมอง เพื่อรวบรวมความคิดเห็น ปัญหา หรือข้อเสนอแนะ จำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว และเป็นวิธีการที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของการเข้าร่วมประชุม ให้เกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มมากที่สุด โดยมุ่งเน้นในเรื่องการแสดงความคิดเห็น หลังจากนั้น ผู้เข้าร่วมประชุม ร่วมกันตรวจสอบทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้มากที่สุด บันทึกไว้เป็นคลังความรู้การพัฒนางานของคณะ ซึ่งแยกตามองค์ประกอบ 
                ก่อนปิดการประชุม คุณอำนวย (KF) ได้สรุปว่า โครงการสัมมนาฯ เพื่อพัฒนางานของคณะฯ กับการประชุมวันนี้ ถือว่าได้ทำ KM กันอย่างเป็นรูปธรรม โดยการใช้แนวคิด และเครื่องมือของ KM เช่น
1.       การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (Dialogue) ร่วมกับ Deep Listening
2.       Best Practice
3.       การใช้ Model Platoo

KV : ทำอย่างไร คะแนนเฉลี่ย องค์ประกอบคุณภาพ เท่ากับ 4.5
KS : การให้ผู้บริหาร อาจารย์ หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ เสนอประเด็นผลัดกันเล่าเรื่อง
KA : สร้างคลังความรู้ โดยใช้เทคนิคระดมสมอง (Brain Strom) บันทึกไว้เป็นเอกสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยหน่วยประกันคุณภาพการศึกษา จะนำเอกสารนั้นไปดำเนินการติดตาม ประเมิน ตามวงจร PDCA ต่อไป
                นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้มีการจัดโครงการอบรมความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ต่อในวันที่ 27 เมษายน 2549 โดยเชิญวิทยากรมาบรรยาย ซึ่งก็คือ การใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)  ซึ่งเจ้าหน้าที่ ได้ขอให้วิทยากรเพิ่มประเด็นการนำ KM มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง ทั้งนี้ หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา คาดว่าการดำเนินงานที่ผ่านมา กับการอบรมในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของคณะจะเข้าใจ KM มากยิ่งขึ้น และนำเทคนิค เครื่องมือ วิธีการต่างๆ มาพัฒนางานประจำต่อไป ซึ่งก็คือการได้ทำ KM โดยไม่รู้ตัว

คำสำคัญ (Tags): #มหาวิทยาลัย
หมายเลขบันทึก: 30095เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท