สอนเวชศาสตร์ชุมชนนิสิตแพทย์ปี 5


            ช่วง 1-19 พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ผมเองจะยุ่งมากเพราะนอกจากงานบริหารและงานบริการซึ่งเป็นงานหลักแล้ว ยังมีงานสอนนิสิตแพทย์ปี 5 ของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่มาฝึกวิชาเวชศาสตร์ชุมชน 5 จำนวน 8 คน ด้วย เนื่องจากเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบในการจัดทำCourse syllabusด้วย ทำให้ยุ่งพอสมควร และเป็นช่วงของการเปลี่ยนและโยกย้ายแพทย์ประจำด้วย ทำให้ต้องรับภาระสอนเองทั้งหมดในหัวข้อที่กำหนด 16 หัวข้อเกี่ยวกับการบริการผู้ป่วยที่พบบ่อย การบริหารโรงพยาบาลในประเด็นต่างๆ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยจะมีชั่วโมงบรรยาย 1 ชั่วโมงต่อหัวข้อที่ผมได้ทำเอกสารการสอน 16 เรื่อง ส่วนภาคปฏิบัติก็จะเป็นงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

              นิสิตจะมีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 4 คน โดยจะดูแลผู้ป่วยในกลุ่มละ 1 ตึก และสลับกันออกโอพีดีกับอีอาร์ มีการอยู่เวรตอนเย็นจนถึง 2 ทุ่มและเสาร์-อาทิตย์ ครึ่งวัน เพื่อเรียนรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยในดรงพยาบาลชุมชนกับน้องๆแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่

              มีกิจกรรมการสัมนา Case scenario จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งสรางกรณีศึกษาโดยแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน 5 คน ที่เป็นผู้อำนวยการมามากกว่า 10 ปี เพื่อฝึกให้นิสิตใช้ความรุ้ที่ได้รับจากการเรียนทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งดึงเอาความรุ้ที่เรียนมาในช่วงปี1-3 มาใช้ในการอภิปรายกัน

               นิสิตแต่ละกลุ่มจะได้รับมอบหมายหมู่บ้านให้รับผิดชอบ กลุ่มละ 1 หมู่บ้านเพื่อทำการค้นหาปัญหา เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา คัดเลือกปัญหา จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ(ใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลบ้านตาก) นำโครงการลงไปปฏิบัติจริงในหมู่บ้าน สรุปการจัดทำโครงการ นำเสนอหน้าชั้นเรียนและจัดทำรายงานสรุป ซึ่งระยะเวลา 3 สัปดาห์ สั้นมากแต่นิสิตทั้ง 2 กลุ่มก็สามารถจัดทำโครงการในหมู่บ้านได้อย่างดี ซึ่งอาจเป้นเพราะว่าเขาเหล่านี้เป็นแพทย์พันธุ์ใหม่ ที่รับจากข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขมาเรียนแพทย์ ทำให้มีประสบการณ์ต่างๆมากและสามารถแก้ปัญหาได้ดีมาก โครงการที่ทำนั้นทำให้กลุ่มเป้าหมายได้ทั้งความรู้ ความเข้าใจและความสนุกสนานไปในตัวด้วย กลุ่มแรกทำเรื่องเบาหวาน ทางอาจารย์หมอศุภสิทธิ์ คณบดีได้ใหเกียรติมาเยี่ยมชมด้วย ส่วนวันที่สองผมเองก็ได้เข้าไปร่วมสังเกตการร์ด้วยเป็นเรื่องอุจจาระร่วง ส่วนวันแรกผมไมได้เข้าร่วมเพราะติดวิพากษ์หลักสูตรกายภาพบำบัด ของคณะสหเวชศาสตร์ มน.

               นอกจากนี้ ยังมีการสอบลงกองด้วย โดยจัดสอบแบบMCQ,MEQและShort Assays ในวันสุดท้ายของการเรียนด้วย หลังสอบก็ได้มีการเฉลยข้อสอบและอภิปรายกันเพื่อให้นิสิตได้ความรู้ที่ถูกต้องไปด้วย จะได้ไม่คาใจกับการสอบ

               ตอนปัจฉิมนิเทศ ผมได้จัดให้มีการทำAARการเรียนเวชศาสตร์ชุมชน 5 ซึ่งก็พูดคุยกันไม่มากนักเพราะดูท่าทางนิสิตจะเพลียๆกับการสอบแต่ก็ได้ขอให้เขียนมาให้เพิ่มเติม เพื่อที่จะนำมาปรับปรุงการเรียนการสอนวิชานี้ต่อไป หากโรงพยาบาลบ้านตากยังคงเป็นแหล่งฝึกอยู่

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 30017เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2006 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

คุณหมอติ่ง เคยเห็นหนังสือเพิ่งพิมพ์แจกเผยแพร่ เรื่อง การพัฒนาระบบสุขภาพ  การมีส่วนร่วมของเวชศาสตร์ครอบครัว

จัดพิมพ์โดย โครงการ AUNP  Thammasat   แปลจากฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย

น่าจะมีคุณค่าในการจัดทำหลักสูตร แพทย์เพื่อชาวชนบท 

ผมหาโอกาส ส่งข่าว แต่ไม่ทราบ email address คุณหมอ   รอจังหวะ ร่วมคิด

ผมไม่ได้เห็นหนังสือเล่มนี้ครับ รบกวนอาจารย์สำเนาส่งให้ได้ไหมครับหรือจะแนะนำว่าหาซื้อได้ที่ไหนบ้าง อีเมล์ผมคือ[email protected] หากอาจารย์จะเสนอแนะอะไรทางอีเมล์ ก็ยินดีมากครับ และขอขอบคุณอาจารย์ที่ส่งข่าวมาให้ครับ
ผมเห็นจาก ที่ธรรมศาสตร์ ส่งมาให้ห้องสมุด  ผมจะเป็นธุระติดต่อขอให้ จัดส่ง
ข้าราชการชั้นผู้น้อย
อาจารย์ครับปีนี้  มน.จะเปิดแพทย์ 5 ปี มัยครับและมีแนวทางเป็นไงบ้างครับ
ผมไม่ทราบรายละเอียดครับ ลองเข้าไปดูที่www.med.nu.ac.thนะครับ น่าจะพอมีข้อมูลหรือติดต่อสอบถามที่คณะแพทย์โดยตรงเลยก็ได้ครับ
ข้าราชการชั้นผู้น้อย
ขอบคุณมากครับเดียวผมจะไปติดต่อที่คณะดู
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท