กลยุทธ์ การพัฒนาองค์กรทางพระพุทธศาสนา


การพัฒนาองค์กรทางพระพุทธศาสนา

1.   การพัฒนาองค์กรทางพระพุทธศาสนา

 

การที่จะพัฒนาองค์กรวัดทางพระพุทธศาสนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้นั้น ต้องให้ความสำคัญกับฐานหรือกระบวนทัศน์   ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างมาก นั่งคิดแล้วคิดอีกก็ยังไม่สามารถที่นำเขียนหรืออธิบายได้เลย  ยังคิดไม่ออกหาทางไม่ถูก จึงต้องพยายามเขียนตามที่คิดได้ว่าน่าจะใช้ได้

 

การที่จะพัฒนาองค์กรบนฐานคิด การพัฒนา ปรับปรุงองค์กรให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีทิศทาง จะให้ความสำคัญกับ

-          ความเชื่อพื้นฐานขององค์กร (ฐานคิด/กระบวนทัศน์)

-          แนวปฏิบัติขององค์กรความเชื่อ/ทัศนะพื้นฐาน

 

การบวนทัศน์ หมายถึงอะไร

-          การบวนทัศน์ (Paradigm) หมายถึงชุดของความเชื่อพื้นฐาน หรือปรัชญาว่าด้วยความจริงตามธรรมชาติที่ใช้ในการพัฒนาองค์กรของวัดในทางพระพุทธศาสนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

-          วัดเป็นสถานที่มีผู้คนเข้ามาหาเป็นจำนวนมาก จำเป็นจะต้องมีการจัดการให้ถูกต้อง

 

วัดหนึ่งประกอบด้วยบุคคลที่เป็นผู้นำ (เจ้าอาวาส) และผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา (พระลูกวัดหรือผู้ที่อยู่อาศัยภายในวัดและผู้ที่เข้ามาสู่วัด)

ผู้นำจำเป็นจะต้องมีวิสัยทัศน์ ในการบริหารองค์กรให้เป็นไปได้ถูกต้อง หรือว่าทันสมัยกับโลกปัจจุบัน  เทคนิคการบริหารงานที่ประสบความสำเร็จ

 

ความสำเร็จของผู้บริหาร คือ การนำเทคนิคการบริหารประจำตัวไปใช้ปฏิบัติงานทั้งในชีวิตประจำวันและหน้าที่ได้อย่างเหมาระสม

                ผู้บริหาร (Administrator or manager) ต้องมี  เทคนิคประจำตัวประจำใจของตนจนถึงระดับที่เรียกว่ามี

-          ความรู้ ความจำ (Knowlcdge)

-          ความเข้าใจ (Skill)

-          ทัศนคติ (Attitude)

 

ผู้บริหารนำไปใช้ปฏิบัติ (Application) ในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้กิจการงานนั้น ๆ บรรลุนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล เทคนิคการบริหารงาน

-          เทคนิคการบริหารงานแบบ “การมีส่วนร่วม” (Participation)

-          เทคนิคการบริหารงานแบบ “ประชาธิปไตย” (Democracy)

-          เทคนิคการบริหารงานแบบ “ใช้คณะทำงาน” (Dorking groups)

-          เทคนิคการบริหารงานแบบ “กระจายอำนาจหน้าที่” (Delegation of dut/Authority)

-          อื่น ๆ

ทั้งนี้ ภายใต้การยึดถือ และใช้ “คุณธรรม”เป็นพื้นฐาน เช่น

-          สัปปุริสธรรม 7

-          สังคหวัตถุ 4

-          อิทธิบาท 4

-          พรหมวิหาร 4

 

 

ด้านตัวผู้บริหาร (Administrator or Manager)

 

  1.  ผู้บริหารเองพึงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมทั้งบุคลิกภาพภายใน (Internal personality) เป็นแรงจูงใจ หรือเป็นผู้มีบุคลิกภาพภายนอก (Outer personality) ปรากฏออกมาในลักษณะต่างกัน เช่น

-          การแต่งกายที่เหมาะสมกับสถานการณ์

-          ท่วงที วจี ลีลา ตระหนักถึงคุณค่าและความสำเป็น ผู้นำ (Leader) พูดภาษาดอกไม้ ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ และผู้บริหารพึง ลด ละ เลิก ภาษา (Toxic Language) อันเป็นภาษาทีกลักกร่อนทำลายน้ำใจผู้คนกันทั้งผู้บริการพึงรู้จักหยิบยกลูกเล่นฮาขึ้นมาเพิ่มเติม  ขึ้นมาเสริมแต่งบรรยากาศทางวิชาการให้เฮฮา สนุกสนาน ได้ทันเหตุการณ์และเหมาะสม

  1. ผู้บริหารต้องเป็นคนทันสมัย (Up to Date) ทางวิชาการ และเหการณ์ในปัจจุบัน กระตือรือร้นต่อการติดตามข่าวสาร ข้อมูลความเคลื่อนไหวเหตุการณ์บ้านเมือง
  2. ผู้บริหารพึงเป็นผู้มีใจกว้าง (Open Mined) และเปิดกว้าง จะต้องการะทำตัวกระใจ ให้เป็น

-          นักมนุษย์สัมพันธ์

-          นักประชาสัมพันธ์

-          นักสังคมสงเคราะห์

-          นักประชาธิปไตย

-          นักอาสาสมัคร (Volunteer mined)

  1. ผู้บริหารพึงรู้กระจ่างแจ้งในบทบาทหน้าที่
  2. ผู้บริหารต้องไม่เป็น “ผู้ติดแต่ประโยชน์ ไม่เป็นนักหมกเม็ด ปิดบังซ่อนเร้น เกรงกลัว    คนอื่นเขาจะรู้ทัน ขาดความมั่นใจในตนเอง จนขาดความสง่างามในการบริหารหน้าที่อย่างเด่นชัด
  3. ผู้บริหารพึงกระทำตนประดุจ “บ้านน้อยปลูกอยู่ภายใต้เงาไม้น้อยใหญ่  อันน่ารื่นรมย์

-          บ้านเปรียบผู้บริหาร

-          ต้นไม้น้อยใหญ่  เปรียบเอาผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

-          ความรื่นรมย์ เปรียบบรรยากาศอันราบรื่น ร่มเย็นและสำเร็จในการทำงาน  ต้นไม้น้อยใหญ่ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่เจ้าของบ้าน และผู้อยู่อาศัย นานาประการ อาทิ

-          เป็นเกราะป้องกัน ลม พายุ ฟ้าฝน

-          เสริมให้ความร่มเย็นเป็นสุข

 

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders)

 

            ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์การนั้น ๆ เช่นเดียวกับผู้บริหารที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น โดยเฉพาะผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ที่มีคุณลักษณะดังนี้

  1. มีบุคลิกภาพที่ดีเหมาะสมมีทั้งแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Motivative Achievement)

-          มีการแต่งกายที่ดีเหมาะสมกับสถานการณ์

-          ท่วงทีเวลา ลีลา การพูดเป็นภาษาดอกไม้ (Tonic Language) หลีกเหลี่ยงภาษาน้ำกรด (Toxic Language)

  1. เป็นคนทันสมัย (Up to Date) ทั้งทางวิชาการ และเหตุการณ์ต่าง ๆ
  2. พึงรู้แจ้กระจ่าง ในบทบาทหน้าที่ของตน และเปิดกว้าง สู่สังคมภายนอก รวมทั้งไม่ละเลยต่อนโยบาย (Policy) และหน่วยงานเบื้องต้น
  3. พึงเป็นผู้มีใจกว้าง (Open minded) เปิดกว้า สู่ภายนอก
  4. ไม่เป็น “ผู้ติดประโยชน์” เห็นแก่เล็ก ๆ น้อย ๆ จนการเงิน วัสดุ อุปกรณ์ เวลา และอื่น ๆ เสียไป
  5. พึงการทำตนประดุจ “ต้นไม้น้อยใหญ่ปกคลุมบ้านพักอาศัย

 

 

 

 

 

2.    การจัดการเชิงกลยุทธ์

 

การจักการเชิงกลยุทธ์ คือ การวางแผนเพื่อสร้างอนาคต โดยให้ความสำคัญกับวิธีการที่จะทำให้หลุดพ้นจากสภาพปัญหาเดิม ๆ หรือ สถานการณ์ที่ล้าหลัง โดยมองข้ามกิจกรรม รายละเอียดของงานประจำที่ทำอยู่ ไปคิดสร้างภาพอนาคตที่ดีกว่า และมีความสอดคล้องกับสภาพแวดในอนาคตโดยอาศัยพื้นฐานความเข้าใจเหตุการณ์ ความเป็นไปของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในสังคม

จากการวิเคราะห์ว่าอะไร คือ โอกาส และข้อจำกัด โดยการตรวจสอบทรัพยากรที่มีอยู่ว่า มีจุดอ่อน จุดแข็งในด้านใด ผู้นำก็สามารถวางแผนกลยุทธ์ที่ดีสำหรับองค์กรได้

การวางแผนกลยุทธ์ เป็นกระบวนการกำหนดเป้าหมายระยะยาวขององค์กร (Long ronge goals) การเลือกวิถีทาง (means) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น

การวางแผนกลยุทธ์ เป็นกระการ

1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อม
2) ระบุธรรมชาติขององค์กร
3) กำหนดจุดหมาย
4) จำแนก ประเมิน และเลือกแนวปฏิบัติสำหรับองค์กร

การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการตอบคำถามสำคัญ 4 ประการ

1) เราเป็นใคร
2) เรามาจากไหน
3) เรากำลังไปไหน
4) เราต้องการไปไหน

 

ทั้งนี้ต้องมองภาพรวมทั้งองค์กร และคำนึ่งถึงความสัมพันธ์ กับภายนอก ดังนั้นการพัฒนาแผนกลยุทธ์ จะอาศัยขอมูลจากสภาพแวดล้อมภายนกองค์กร การตัดสนใจบนพื้นฐานของภารกิจ วัตถุประสงค์ และแผ่นต่าง ๆ ขององค์กร  แผนกลยุทธ์จะเชื่อมโยงไปสู่แผนปฏิบัติการ

 

การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการวิเคราะห์บนพื้นฐานหักการและเหตุผล ในการเลือกกำหนดจุดยืนอนาคตขององค์กร และโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม

 

การวางแผนกลยุทธ์เป็นการะบวนการที่เป็นเหตุ เป็นผล หรือเป็นข้นตอนทีต่อเนื่องเป็นระบบ ที่นำพาองค์กรให้ประสมสำเร็จ โดยสามารถ

 

-          ทำความเข้าใจแรงกดดันภายนอก หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จากภายนอกที่มีผลกระทบกับองค์กร

-          ประเมินศักยภาพขององค์กร

-          เป็นวิธีที่จะนำสู่สู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย

-          พัฒนาวัตถุประสงค์และวางแผนเพื่อเคลื่อนจากสภาพเป็นอยู่สู่สภาพที่พึงปรารถนา

-          ตรวจสอบความก้าวหน้า แก้ไข้ปัญหาที่เกิดขึ้น และปรับแผนเพื่อความหมาย

 

การวางแผนกลยุทธ์ เป็นมากว่าเทคนิคของการวางแผน แต่เป็นการสร้างพลังจากความคิดของคน โดยททวนความคิดเก่า และระบุสิ่งที่ต้องการ ดังนั้นการวางแผน กลยุทธ์เปรียบเสมือน

 

-          กระบวนการบริหารเพื่อการเลี่ยนแปลงองค์กร

-          ปรัชญาการบริหาร

-          วิการคิดเพื่อแก้ไขปัญหา

-          ประสบการณ์ด้านการศึกษาและการพัฒนา

-          การศึกษาชุมชนและการมีส่วนร่วม

 

วัดทางพระพุทธศาสนาประกอบด้วย

 

  1. ศาสนวัตถุ  คือ ตัววัด อาคาร สถานที่  เช่น เจดีย์  ศาลาการโรงธรรม  อุโบสถ  กุฏิ  หอฉัน  โรงเรียนพระปริยัติธรรม
  2. ศาสนธรรม  คือ คำสอน  พระวินัย  พระสูตร  พระอภิธรรม  คาถา ฏีกา อนุฏีกา
  3. ศาสนบุคคล คือ ตัวบุคคลที่อยู่ภายใน  เช่น เจ้าอาวาส  ผู้ช่วยเจ้าอาวาส  เจ้าคณะตำบล  เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด  และพระที่อยู่ในปกครอง หรือ ผู้ที่เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ

 

ส่วนประกอบ ทางราชการ บ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น  หรือส่วนกลาง เหล่านี้มีส่วนในการนำมาพัฒนาวัดในทางพระพุทธศาสนา ได้เช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #กลยุทธ์
หมายเลขบันทึก: 300141เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท