ครูสมใจ
ครู ครูสมใจ ครูพณิชยการ เอื้อความดี

การบัญชีกับการภาษีอากร (หน่วยที่ 2 )


การบัญชีกับการภาษีอากร

หน่วยที่ 2  การบัญชีกับการภาษีอากร

การบัญชีกับการภาษีอากร

1.   ความหมายของการบัญชี

การบัญชี  หมายถึงการนำรายการและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึกจัดหมวดหมู่สรุปผลและวิเคราะห์ตีความหมายอย่างมีหลักเกณฑ์  การเก็บรวบรวม บันทึกจำแนกและทำสรุปผลข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปของตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของ    การบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจกิจกรรมของกิจการ

2.   พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

2.1    หลักการของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

2.1.1  แก้ไขหลักการจากเดิมที่กำหนดให้ธุรกิจทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจตามประเภทที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดต้องจัดทำบัญชีเป็นกำหนดให้เฉพาะนิติบุคคลเท่านั้นที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีและเพิ่มกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

บุคคลธรรมดาและห้างหุ่นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่ต้องจัดทำบัญชี  เว้นแต่รัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

2.1.2   กำหนดให้ผู้ทำบัญชีต้องเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจโดยแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างผู้ทำบัญชีและผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีให้ชัดเจน ซึ่งมีการเพิ่มโทษจากกฎหมายเดิม โดยบทกำหนดโทษมีทั้งปรับและจำคุก  สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ทำบัญชีที่กระทำความผิด

2.1.3   ให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี รวมทั้งกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง  โดยให้คำนึงถึงมาตรฐานการบัญชี และข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันวิชาชีพบัญชีประกอบด้วย

2.1.4   กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง  ยกเว้นให้งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุน  สินทรัพย์  หรือรายได้  รายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการไม่เกินกำหนดโดยกฎกระทรวง  ไม่ต้องรับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

2.1.5   ลดภาระของธุรกิจในการเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีจาก 10 ปี เหลือ  5 ปี เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นในการตรวจสอบบัญชี  อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี มีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้เกิน 5 ปี แต่ต้องไม่เกิน 7 ปี

2.1.6   กำหนดให้การจัดทำบัญชีต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการการควบคุม การประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้มีมติให้ประกาศใช้แล้วเป็นมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมาย 

2.2    สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

2.2.1  ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กำหนดให้เฉพาะนิติบุคคลเท่านั้นที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี  และกำหนดให้กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีด้วย   โดยกำหนดวันเริ่มทำบัญชีของนิติบุคคลต่างๆ  ไว้ด้วยดังนี้

 

ประเภทนิติบุคคล

วันเริ่มทำบัญชี

- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

-  บริษัทจำกัด

-  บริษัทมหาชนจำกัด

วันที่ได้รับการจดทะเบียน

เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

-  นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย

วันที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย

-  กิจการร่วมค้า  ตามประมวลรัษฎากร

วันที่ได้เริ่มต้นประกอบกิจการ

 สำหรับบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน  ไม่ต้องจัดทำบัญชี  เว้นแต่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี ซึ่งเมื่อเป็นผู้มีหน้าที่ทำบัญชีของบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนนั้นตามที่อธิบดีกำหนด

2.2.2  ความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชี

กำหนดความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ โดยแบ่งหน้าที่และ   ความรับผิดชอบระหว่างผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ทำบัญชีอย่างชัดเจน ดังนี้

1)  ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี   หมายถึง  ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชี  โดยมีหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้

1.1)  ต้องจัดให้มีการทำบัญชีให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดนับตั้งแต่วันเริ่มทำบัญชี

1.2)  ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือ          การเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่อยู่ตามความเป็นจริงและตามาตรฐานการบัญชี ซึ่งมาตรฐาน  การบัญชี หมายถึงหลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไป หรือมาตรฐาน  การบัญชีที่กำหนดตามกฎหมาย  โดยในระหว่างที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่กำหนด ให้ถือว่ามาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย  ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพบัญชีได้มีมติให้ประกาศใช้แล้ว  เป็นมาตรฐาน การบัญชี ทั้งนี้ อธิบดีมีอำนาจประกาศกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง

1.3) ต้องปิดบัญชีและจุดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ งบการเงิน หมายถึง รายงานผลการกำเนินงานฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ไม่ว่ารายงานโดยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้น งบประกอบหรือหมายเหตุประกอบงบการเงิน  หรืคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน

1.4)  ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็น โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเว้นแต่งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุน สินทรัพย์ หรือรายได้รายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการไม่เกินที่กำหนดโดยกฎกระทรวงไม่ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบ

1.5)  ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำโดยเก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งนี้ อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีจะกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีสำหรับกิจกรรมบางประเภทเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้เกินห้าปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปี

1.6)  ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด  โดยต้องจัดให้มีผู้บัญชีดังกล่าวภายในหนึ่งปี นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับในกรณีที่มีความจำเป็นเป็นอธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีจะขยายกำหนดระยะเวลาออกไปอีกได้แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี ถ้าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นบุคคลธรรมดาจะเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับกิจการของตนเองก็ได้

1.7)  มีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้องตามกฎหมาย

2)  ผู้ทำบัญชี  หมายถึง ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้ที่จัดทำบัญชีไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม โดยผู้ทำบัญชีจะต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามอธิบดีประกาศกำหนด ทั้งนี้หากผู้ใดเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีตามอธิบดีกำหนดหากประสงค์จะเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ ต่อไปให้ผู้ทำบัญชีนั้นแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์วิธีการ  และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับตั้งแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  และเมื่อผู้นั้นเข้ารับการอบรมและสำเร็จการอบรมตามหลักเกณฑ์  วิธีการและระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนดแล้ว  ให้ผู้นั้นเป็นผู้ทำบัญชีต่อไปได้เป็นเวลาแปดปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ผู้ทำบัญชีมีหน้าที่ตามกฎหมายดังนี้

2.1)  ต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน  ฐานะการเงิน  หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชีโดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน ในการจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง

2.2)  ในการลงรายการในบัญชี ผู้ทำบัญชีต้องลงรายการเป็นภาษาไทย  หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับหรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือคำแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้รวมทั้งต้องเขียนด้วยหมึก  พิมพ์หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน

3)  กำหนดอำนาจในการตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบ การลงบัญชี   กำหนดให้สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีมีอำนาจตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องประกอบการลงบัญชี โดยมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ที่ทำการหรือสถานที่เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชี  หรือสถานที่รวบรวมหรือประมวลข้อมูลของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือ ผู้ทำบัญชี รวมทั้งมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีมาให้ถ้อยคำหรือส่งบัญชีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีรวมทั้งเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ

4)  บทกำหนดโทษ

ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้จะต้องรับโทษตามลักษณะความผิด ซึ่งโทษมีทั้งโทษปรับและจำคุกและในกรณีที่เป็นความผิดต่อเนื่องมีโทษทั้งปรับรายวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่น

 

กรณี

บทกำหนดโทษ

ผู้ที่ต้องรับโทษ

ไม่จัดให้มีการทำบัญชีตามหน้าที่ที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดและตามวันเริ่มทำบัญชีที่กำหนด

ปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ไม่จัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินภายในเวลาที่กำหนด

ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ไม่จัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็น โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ไม่ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้อง

ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด

ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ไม่จัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี

ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ผู้กระทำความผิด

ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหาย ทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้กระทำความผิด

จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ลงรายการเท็จ แก้ไข ละเว้นการลงรายการในบัญชี หรืองบการเงิน หรือการแก้ไขเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเพื่อให้ผิดความเป็นจริง

จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้กระทำความผิด

จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

3.   การบัญชีการเงินและการบัญชีภาษีอากร

ในการจัดทำบัญชีของธุรกิจนอกจากจะต้องมีความรู้ด้านบัญชีไม่ว่าจะเป็นหลักการบัญชีทั่วไป มาตรฐานการบัญชีแล้ว นักบัญชีและผู้บริหารกิจการจะต้องมีความรู้ด้านภาษีอากรด้วย ดังนั้นการจัดทำงานเกี่ยวกับบัญชีจะต้องมีแนวทางที่จะกำหนดในการจัดทำเพราะต้องคำนึงถึง  ทั้งหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้งที่มักพบว่า บัญชีที่ได้จัดทำนั้นไม่ตอบสนองกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายภาษีอากร มีข้อขัดแย้งที่นักบัญชีจะต้องเข้าไปแก้ไขปรับปรุงให้เป็นที่ยอมรับและถูกต้องทั้งด้านการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร จะเห็นได้ว่าหากนักบัญชีได้มีการจัดทำบัญชีตั้งแต่สมุดรายวันขั้นต้น สมุดขั้นปลาย งบทดลอง งบการเงิน นักบัญชีจะยึดหลักการบัญชีและมาตรฐานการบัญชี อีกนัยก็คือการยึดหลักบัญชีการเงิน (Financial Accounting) นักบัญชีจะต้องนำข้อมูลทางบัญชีการเงินมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎหมายภาษีอากร (Tax Accounting) ข้อแตกต่างระหว่างบัญชีการเงินกับบัญชีภาษีอากรจึงสรุปได้ดังต่อไปนี้

3.1    บัญชีการเงิน (Financial Accounting)

เป็นการจัดทำบัญชีเพื่อการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชี ตลอดจนการแสดงฐานะการเงินของกิจการในการจัดทำงบการเงิน แสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการเพื่อรายงานต่อผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น บุคคลภายนอก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น งบกำไรขาดทุน งบต้นทุนผลิต งบดุล งบกระแสเงินสด งบแสดง การเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบประกอบอื่นและหมายเหตุประกอบงบการเงินของกิจการ และรายละเอียดประกอบการจัดทำรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง

3.2  บัญชีภาษีอากร (Tax Accounting)

เป็นการนำหลักเกณฑ์การบัญชี มาตรฐานการบัญชี มาปรับให้เข้ากับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรต่างๆ ให้สอดคล้องกันเพื่อให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคำนวณกำไร ขาดทุนสุทธิ เงื่อนไขการรับรู้รายได้และรายจ่ายของกิจการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรืออากรแสตมป์ สืบเนื่องมาจากหลักการบัญชีหลายประการที่ขัดแย้งไม่เป็นไปตามกฎหมายภาษีอากรนั่นเอง มักจะพบเห็นกันเมื่อมีการจัดทำบัญชีของธุรกิจในแต่ละรายการค้าแต่ละงวดบัญชีจะปรากฏอยู่เสมอว่า หลักในการจัดทำบัญชีไม่เป็นไปตามกฎหมายภาษีอากรซึ่งผู้จัดทำบัญชีจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขรายการค้าที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามเงื่อนไขของทางภาษีอากรที่ได้กำหนดไว้ นักบัญชีส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีการเงิน แต่ขาดความเข้าใจในตัวบทกฎหมายภาษีอากร โดยเฉพาะการนำกฎหมายภาษีอากรมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากันกับหลักการบัญชี โดยมากแล้วนักบัญชีจะทราบแต่พื้นฐานเบื้องต้นในการคำนวณหรือชำระภาษีอากร เช่น อัตราร้อยละของภาษีที่ต้องชำระ ต้องหักและนำส่งเท่านั้น

สรุปวัตถุประสงค์ของข้อแตกต่างระหว่างบัญชีการเงินและบัญชีภาษีอากรได้ดังนี้

บัญชีการเงิน

1.   ช่วยในด้านการควบคุมรายรับ-รายจ่าย สินทรัพย์-หนี้สินและส่วนของเจ้าของ

2.   ช่วยในการบริหารงานของกิจการ

3.   ช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ขยาย-เลิกกิจการ ฯลฯ

4.  เพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกโดยเฉพาะผู้ถือหุ้นที่ต้องการข้อมูลไปใช้ใน           การตัดสินใจ

5.   หลักฐานพิสูจน์ความถูกต้องในการจัดทำบัญชี การรวบรวมข้อมูลทางบัญชีการเงิน

บัญชีภาษีอากร

1.   ปรับหลักการบัญชีให้เข้ากับกฎหมายภาษีอากร

2.   หาข้อยุติทางบัญชีและภาษีอากรให้สอดคล้องกัน

3.   ปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้เหมาะสมถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร

4.  จัดทำบัญชีที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดให้ทำ เช่น บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี  ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษี รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม

5.   ปรับปรุงรายรัยทางบัญชีให้ตรงกับภาษีอากร 

4.   กฎหมายอันที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี

นอกจากพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 แล้ว ยังมีกฎหมายอื่นอีก 4 ฉบับที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของธุรกิจที่กำหนดให้นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจมีการจัดทำบัญชี  การตรวจสอบบัญชี และการส่งงบการเงินให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่

4.1   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำบัญชีของบริษัทจำกัดในบรรพ 3 ลักษณะที่ 22 มาตรา 1196 ถึงมาตรา 1206 กำหนดให้บริษัทจำกัดจัดทำบัญชี ปิดบัญชี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในรอบ 12 เดือน เพื่อจัดทำงบการเงิน และมีผู้สอบบัญชีตรวจสอบเพื่อนำเสนอที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่ในงบดุล

4.2   พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของบริษัทมหาชนจำกัดในมาตรา 109 ถึง 112 มาตรา 124 และมาตรา 127 กำหนดให้บริษัทมหาชนจำกัด จัดทำบัญชี เก็บรักษาบัญชี สอบบัญชี และกำหนดให้คณะกรรมการบริษัทปิดบัญชีอย่างน้อยครั้งหนึ่งในรอบ 12 เดือน

คณะกรรมการบริษัทจะต้องให้มีการทำงบดุลและงบกำไรขาดทุนเป็นภาษาไทย และจัดพิมพ์ให้เรียบร้อย มีรายการและความหมายของรายการตามประกาศกรมทะเบียนการค้า ในกรณีที่ยังมิได้รับชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนที่จดทะเบียนไว้ต้องแสดงให้ชัดเจนในงบดุลและเอกสารอื่นที่มีการแสดงฐานะการเงิน

นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนเพื่อนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมรายงานประจำปี เมื่อที่ประชุมถือหุ้นอนุมัติแล้วให้ส่งรายงานประจำปีและงบการเงินให้นายทะเบียน (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) สำหรับงบดุลต้องลงโฆษณาให้ประชาชนทราบทางหนังสือพิมพ์มีกำหนดอย่างน้อย 1 วัน ทั้งนี้ภายใน 1 เดือน     นับแต่วันที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ

4.3    พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไว้ในมาตรา 56 และมาตรา 58(3) ซึ่งกำหนดให้บริษัทที่จดทะเบียนนั้นจัดทำงบการเงินและรายงายฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนดดังนี้

4.3.1   งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีสอบทานแล้ว

4.3.2   งบการเงินประจำงวดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว

4.3.3   รายงานประจำปี

4.3.4  รายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทตามที่คณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนด

บริษัทต้องจัดให้มีการสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และรายงานผล         การสอบบัญชีให้สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทราบ และเปิดเผยข้อมูลแก่ประชาชนทั่วไป

กล่าวได้ว่าเจตนารมณ์ของบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของนิติบุคคลดังกล่าวต้องมีการจัดทำบัญชีปิดบัญชีอย่างน้อยครั้งหนึ่งในรอบ 12 เดือน และจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของรอบปีบัญชี เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน สำหรับบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องจัดทำงบการเงินรายไตรมาส (ทุกรอบ 3 เดือน) เพิ่มเติมจากงบการเงินของรอบปีบัญชี และให้มีผู้สอบบัญชีสอบทานงบการเงินรายไตรมาสแทนการตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงิน เพื่อให้มีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินแก่ผู้ที่มีส่วนได้เสียและผู้สนใจได้ทราบถึงข้อมูลที่แสดงถึงฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการรวดเร็วขึ้น

4.4    ประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่เสียภาษีตามประมวลรัษฎากรต้องจัดทำบัญชี ปิดบัญชี ตรวจสอบบัญชี และส่งงบการเงินพร้อม ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี

 5.   การจัดทำบัญชีตามประมวลรัษฎากร

ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 นอกจากจะต้องทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีครบถ้วนแล้ว ยังมีหน้าที่จัดทำบัญชีตามประมวลรัษฎากรดังนี้

5.1    การจัดทำบัญชีของผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี บทบัญญัติเกี่ยวกับการทำบัญชีตามประมวลรัษฎากรในมาตรา 17 วรรคสอง และมาตรา 68 ทวิ ซึ่งไม่ได้กำหนดวิธีการปฏิบัติทาง         การบัญชีสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีหน้าที่เสียภาษีไว้โดยละเอียด แต่กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วยนิติบุคคลจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนในรอบระยะเวลาบัญชี และให้อำนาจอธิบดีออกประกาศให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทำบัญชีพิเศษ หรือบัญชีย่อยอื่นเพิ่มเติม                   เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี

กล่าวได้ว่าประมวลรัษฎากรให้ผู้มีเงินได้ทีประกอบธุรกิจมีการจัดทำบัญชีของธุรกิจตั้งแต่วันที่มีรายได้หรือวันที่เริ่มประกอบการ เพื่อให้มีข้อมูลเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษี

5.1.1   การจัดทำบัญชีตามมาตรา 17 วรรคสอง เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรดังนี้

1) ให้อธิบดีอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลทั่วไปให้มีบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในบัญชีนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2)  ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดผู้ให้ยื่นรายการหรือผู้เสียภาษีอากรทำบัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่นๆ แสดงรายการหรือแจ้งข้อความใดๆ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นรายการตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด

อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศหลายฉบับ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้ผู้เสียภาษีจัดทำบัญชีและบัญชีพิเศษดังนี้

1.   ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้จัดทำบัญชีแสดงรายได้หรือรายรับเป็นประจำวัน

2.   ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีที่มีธุรกรรมตามประกาศอธิบดีฯ ให้จัดทำบัญชีพิเศษตามแบบที่กำหนดดังนี้

      1)  ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ให้จัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และ        การนำส่งภาษี

      2)  ผู้มีเงินได้จากการทำกิจการโรงสีข้าว ให้จัดทำบัญชีพิเศษแสดงรายการและปริมาณข้าวเปลือก ต้นข้าว ปลายข้าว และรำ

      3)  ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ให้จัดทำบัญชีพิเศษแสดงการจ่ายเงินให้ผู้ประกอบโรคศิลปะ

      4)  ผู้ทำการค้าของเก่าประเภทรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มีบัญชีพิเศษตามแบบบัญชีที่ต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าแสดงทะเบียนรถยนต์ รายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งรถยนต์เก่าของผู้ทำการค้าของเก่าประเภทรถยนต์

บัญชีพิเศษประเภทต่างๆ ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้เสียภาษีจัดทำดังกล่าวข้างต้น คือ ทะเบียนสำหรับบันทึกรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร

5.1.2   การจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มและรายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้บุคคลธรรมดา นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร หรือนอตอบุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ แต่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและ/หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ จัดทำรายงานตามที่รัษฎากรกำหนดดังนี้

1)  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำรายงานเกี่ยวกับ      การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ โดยให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ (มาตรา 87)

1.1)  รายงานภาษีขาย

1.2)  รายงานภาษีซื้อ

1.3)  รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีที่ผลิตและ/หรือขายสินค้า)

วิธีการลงรายการในรายงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกำกับภาษี และเอกสารหลักฐานอื่นๆ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 89 และฉบับที่ 104

2)  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะจัดทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตามที่อธิบดีกำหนด และให้จัดทำโดยแยกตามรายสถานประกอบการ (มาตรา 91/14)

กล่าวได้ว่าบัญชีพิเศษและรายงานภาษีต่างๆ ดังกล่าวที่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและ/หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะต้องจัดทำนั้น คือ บัญชีย่อย หรือทะเบียน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร

5.2    การจัดทำงบการเงิน บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน และคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่ผู้ที่มี่หน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี ไม่ต้องจัดทำงบการเงินตามประมวลรัษฎากรเช่นกันแต่ต้องจัดทำบัญชีแสดงรายได้หรือรายรับเป็นประจำวัน สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 88 ทวิ ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับบทบัญญัติในมาตรา 65 ที่กำหนดให้รอบระยะเวลาบัญชีมีกำหนด 12 เดือน เว้นแต่กรณีที่เริ่มตั้งใหม่และกรณีที่ขอเปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชี โดยกำหนดให้ใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งหมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรต้องจัดทำงบการเงินตามเกณฑ์สิทธิ

5.3    การตรวจสอบและการรับรองบัญชี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต เพื่อยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ โดยให้ผู้ที่สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากรเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการสอบบัญชีต้องรักษามารยาทและปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ หรือตามประกาศของคณะกรรมการควบคุ

หมายเลขบันทึก: 300096เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณนะค่ะที่ช่วยอธิบาย เพราะตอนนี้หนูเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดีเลยค่ะ แต่ไม่เข้าใจ เมื่อได้มาอ่านบทเรียนหน่วยนี้แล้วรู้สึกเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ ^^

น่าจะทำแบบเทคต่างประเทศคือทำการเปรียบแบ่งสองด้าน ด้านบัญชีการเงิน อีกด้านหนึ่งเป็นบัญชีภาษีอากรเพื่อเห็นความแตกต่าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท