ย้อนรอยรำลึกประวัติศาสตร์อยุธยา


เลียบเลาะวัดโคกพระยารำลึกแดนประหารสมัยกรุงศรีอยุธยา (3)

สมัยที่ ๓ ได้มีการบูรณะอุโบสถโดยปรับปรุงพื้นปูกระเบื้องและเปลี่ยนรูปแบบอาคารดังกล่าว มาแล้วในเรื่องอุโบสถ และมีการก่ออิฐบริเวณกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ให้หนาขึ้น ด้านทิศ ตะวันออกมีการก่อสร้างแนวกำแพงวัดใหม่แล้วถมดินปรับพื้นที่พร้อมกลบทับแนวกำแพงแก้วเดิมจนถึง ระดับมีการก่อพอกและใช้แนวเดิมตั้งแต่สมัยที่ ๑ และฐานกำแพงแก้ว กำแพงแก้วด้านทิศเหนือไม่พบร่องรอยการพอกอิฐทับแต่ยังคงใช้แนวเดิม และได้มีการก่อสร้างเสา หัวเม็ดบริเวณมุมกำแพงแก้วแต่ละมุม และมีซุ้มประตูทุกด้านของกำแพงแก้ว ในสมัยนี้ ได้มีการสร้างแนวกำแพงดินเพิ่มอีก คือ ทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทิศใต้เพื่อ เป็นขอบเขตในการปรับระดับลดขึ้นลงจากประตูซุ้มกำแพงแก้ว ทำให้พื้นที่โดยรอบนอกเขตกำแพงแก้วนี้มี ระดับเท่ากันเป็นแนวที่อยู่นอกสุดของอุโบสถ แต่ทางทิศเหนือของอุโบสถมีลักษณะเป็นที่ลุ่ม จึงมีการสร้างแนวกำแพงกันดินเพื่อเป็นเขื่อนป้องกันฐานอุโบสถพัง โดยได้มีการก่ออิฐเป็นเอ็นยึดระหว่างแนวกันดินนี้ กับแนวกำแพงแก้ว และถมดินปรับระดับบริเวณแนวกำแพงกันดินให้ได้ระดับเดียวกัน โดยปรับระดับนี้ไปจนถึงแนวกำแพงรอบวัดที่สร้างในสมัยนี้เช่นกัน ที่เจดีย์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่มีการสร้างแท่นบริเวณฐานเจดีย์ด้านทิศใต้ คงจะใช้เป็นที่สำหรับวางเครื่องบูชาต่าง ๆ นอกจากอุโบสถและเจดีย์ยังมีอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในวัดอีก ดังนี้ อาคารหมายเลข ๑ เป็นวิหารหรือตำหนัก เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๑๐ x ๒๖ เมตร ตัวอาคารมีห้องด้านหน้าและด้านหลังกว้าง ๑.๙ เมตร มีบันไดขึ้นด้านข้างบริเวณห้องทั้ง ๒ ด้าน ด้านในมี แนวเสา ๔ คู่ และมีมุขอีกด้านละ ๑ คู่ ฐานอาคารเป็นฐานบัว อิฐที่ผนังอาคารนี้มีขนาดใหญ่กว่าที่พบในอาคารอื่น ๆ อาคารหมายเลข ๒ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๖.๔ เมตร ยาว ๙ เมตร มีประตูทางเข้าภายในอาคาร เป็นประตูกลางผนังด้านสกัดทิศตะวันตก เนื่องจากพบร่องรอยธรณีประตู พื้นอาคารปูด้วย อิฐ ไม่พบร่องรอยของเสาภายในอาคารหรือเสาพาไล ภายนอกอาคารมีการสร้างแนวกำแพงกันดินและตกแต่งเป็นฐานบัว แล้วถมดินเพื่อยกระดับของอาคารให้สูงขึ้นจากระดับพื้นภายนอก อาคารหมายเลข ๓ เป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอาคารหมายเลข ๒ ขนาดอาคารกว้าง ๕ เมตร ยาว ๘ เมตร อาคารหมายเลข ๔ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุโบสถ ติดกับแนวกำแพงแก้วด้านทิศเหนือ ตัวอาคารมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖.๔๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร พื้นอาคารปูกระเบื้องดินเผา เช่นเดียวกับพื้นอุโบสถ ด้านนอกอาคารพบแนวอิฐล้อมรอบอาคาร สันนิษฐานว่าเป็นแนวกันดินบริเวณอาคารนอกจากนี้ยังมีแนวอิฐเป็นทางเดิน (หมายเลข ๒) เชื่อมต่อกับซุ้มประตูอุโบสถด้านทิศตะวันตกอาคารหมายเลข ๕ ตั้งอยู่ติดกับแนวกำแพงวัดด้านทิศเหนือ ระหว่างอุโบสถกับอาคารหมายเลข ๔เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก กว้าง ๔ เมตร ยาว ๕.๖๐ เมตร อาคารหมายเลข ๖ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของอาคารหมายเลข ๑ ตัวอาคารมีขนาดกว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๔ เมตร อาคารหมายเลข ๗ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอาคารหมายเลข ๖ ตัวอาคารมีขนาดกว้าง ๔ เมตรยาว ๗ เมตร สันนิษฐานว่าเป็นวิหาร อาคารนี้เหลือร่องรอยของผนังบางส่วน แนวทางเดินหมายเลข ๑ เป็นแนวอิฐทางเดินด้านทิศตะวันออกของอาคารหมายเลข ๒ กว้าง ๒.๒๐ เมตร แนวทางเดินหมายเลข ๒ เป็นแนวทางเดินเชื่อมต่อระหว่างอุโบสถและอาคารหมายเลข ๔ เริ่มจาก ซุ้มประตูกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกของอุโบสถไปยังอาคารหมายเลข ๔ กว้าง ๑.๗๐ เมตร แนวทางเดินหมายเลข ๓ เป็นแนวทางเดินเข้าวัดด้านทิศตะวันออก กว้างประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตร แนวทางเดินนี้ตัดผ่านแนวกำแพงวัดเข้าสู่เขตกำแพงแก้วของอุโบสถ โดยทางเข้านี้อยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ แนวทางเดินหมายเลข ๔ เป็นแนวพื้นทางเดินที่อยู่นอกกำแพงวัดทางด้านทิศใต้ แนวอิฐที่ปรากฏมี ลักษณะไม่ค่อยเป็นระเบียบแนวกำแพงอุโบสถ กำแพงแนวเหลือ + ใต้ มีความยาว ๓๑ เมตร แนวด้านตะวันออก – ตะวันตก ยาว ๔๘ เมตร แนวกำแพงนี้ครอบคลุมบริเวณอุโบสถและเจดีย์ แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกและทิศใต้มีการก่อและเสริมขึ้นภายหลัง พบส่วนฐานของซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ทางด้านทิศตะวันออกมีแนวทางเดินทอดยาวออกไปนอกกำแพงวัด แนวกำแพงวัด กำแพงในแนวเหนือ – ใต้ มีความยาว ๗๕ เมตร แนวตะวันออก – ตะวันตก ยาว๒๕๐ เมตร จากการขุดแต่งไม่พบซุ้มประตูทางเข้าวัดนอกจากแนวทางเดินจากบริเวณด้านนอกกำแพงวัด ตัดผ่านแนวกำแพงนี้เข้าสู่บริเวณกำแพงแก้วของอุโบสถกลุ่มแนวอิฐ ตั้งอยู่ใกล้แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกของวัด ลักษณะเป็นแนวอิฐก่อเป็นกรอบรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๑๕ x ๑๕ เมตร มีจำนวน ๒ แนว อยู่ห่างกันประมาณ ๒ เมตร ตั้งอยู่ใกล้แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกของวัด

หมายเลขบันทึก: 299297เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2009 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท