ระบบ KM ในหน่วยราชการไทย


ระบบ KM ในหน่วยราชการไทย


          ดังได้เล่าแล้ว (link) ว่าวันนี้ทาง สคส. จะไปคุยกับท่านเลขาธิการ กพร.   รศ. ดร. ทศพร   ศิริสัมพันธ์   รวมทั้งได้เอา “บันไดขั้นที่ 1” (link) มาลงไว้ให้ช่วยกันวิพากษ์วิจารณ์แล้ว   วันนี้จะเอาแนวความคิดว่าทาง กพร. น่าจะดำเนินการอะไรบ้างในเรื่อง KM   เพื่อให้หน่วยราชการไทยบรรลุเป้าหมายการเป็น “องค์กรเรียนรู้”   ที่เอามาขึ้นบล็อกเช้าวันนี้ก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ กพร. จัดการ print ไว้แจกผู้เข้าร่วมประชุมบ่ายวันนี้


1.      กพร. ระบุสถานภาพหน่วยราชการที่พึงประสงค์ให้ชัดเจน   เป็นรูปธรรมวัดได้   และต้องมี “เป้าหมายเชิงพฤติกรรม” ด้วย   ถ้ามีแล้วขอให้แจกที่ประชุมบ่ายวันนี้ด้วย
2.      ทำความตกลงหลักการเรื่อง “บันได 4 ขั้น” สู่ KM & LO ของหน่วยราชการ   ถ้าเห็นพ้องกันในหลักการ   ดำเนินการข้อ 3
3.      กพร. จัด workshop เล็ก ๆ 1 วัน   เชิญผู้มีประสบการณ์ตรงจำนวน 10 – 20 คน   มาร่วมกันคิดรายละเอียดของบันได 4 ขั้น   ว่าแต่ละขั้นควรมีกิจกรรมอะไร   เกิด output/outcome/impact อะไร   วัดได้อย่างไร   ข้อกำหนดนี้ควรกำหนดแบบ “ดิ้นได้” คือให้แต่ละหน่วยราชการไปกำหนดความชัดเจนให้สอดคล้องกับลักษณะงานของตนอีกทีหนึ่งแล้วนำส่ง กพร.
         ผู้มาร่วมคิดใน workshop นี้ควรมีทั้งผู้บริหารระดับสูงในหน่วยราชการที่ทำ KM ได้ผลดี  
“คุณอำนวย” ในหน่วยราชการที่ทำ KM ได้ผลดี   ผู้ให้บริการที่ปรึกษา KM   ผู้มีประสบการณ์ในองค์กรธุรกิจเอกชน ฯลฯ   โดย สคส. ยินดีเข้าร่วมด้วย 2 – 3 คน


          ตัวบุคคลนั้นทาง กพร. คงจะมีแล้วจำนวนหนึ่ง   คนที่ผมนึกออกตอนนี้ได้แก่
·       พญ. นันทา  อ่วมกุล               กรมอนามัย
·       คุณสร้อยทอง  เตชะเสน          กรมอนามัย
·       อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
·       คุณธุวนันท์  พานิชโยทัย          กรมส่งเสริมการเกษตร
·       คุณไพฑูรย์  ช่วงฉ่ำ                ม. นเรศวร
·       นพ. อนุวัฒน์  ศุภชุติกุล           ผอ. พรพ.
·       นพ. พิเชฐ  บัญญัติ                ผอ. รพ. บ้านตาก
·       คุณเนาวนิตย์  ทฤษฎิคุณ         หัวหน้างานเภสัชกรรม  คณะแพทยศาสตร์ มอ.
·       อ. จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา         ม. สยาม
·       ดร. ยุวดี  เกตสัมพันธ์             รพ. ศิริราช
·       นท. บดินทร์  วิจารณ์
·       ดร. บุญดี  บุญญากิจ              สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
·       ผศ. วิบูลย์  วัฒนาธร              รองอธิการบดี ม. นเรศวร
·       เป็นต้น   ที่จริงยังมีอีกหลายชื่อที่เป็นแพทย์   แต่ผมไม่อยากให้ทางแพทย์เข้ามา dominate มากเกินไป
4.      กพร. ประกาศ “บันได 4 ขั้น” อย่างเป็นทางการ
5.      กพร. จัด Workshop “สู่บันได 4 ขั้น” เพื่อสร้างความเข้าใจและเพื่อให้แกนนำของหน่วยราชการรู้วิธี “เดินขึ้นบันได” ที่เหมาะสมต่อตนเอง
6.      กพร. อาจจัดมหกรรมพัฒนาคุณภาพหน่วยราชการทุกปี   คล้าย ๆ HA Forum ของ พรพ.   มีเป้าหมายเป็น Knowledge Sharing Platform เอาประสบการณ์และความสำเร็จเล็ก ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน
7.      กพร. อาจตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนให้เกิดหน่วยงานเล็ก ๆ คล้าย พรพ.  มีอายุ 5 ปีเพื่อทำงานตามข้อ 6   ทำงานในลักษณะเป็นหน่วยจัดการ   ไม่ใช่หน่วยปฏิบัติการ   ไม่ทำงานเอง
8.      TRIS วัดผลสัมฤทธิ์ด้าน KM ของหน่วยราชการตามเกณฑ์ข้อ 4
9.      หน่วยงานตามข้อ 7   จัด workshop อบรมทักษะเชิงปฏิบัติแก่ “คุณอำนวย”,  “คุณลิขิต”,  “คุณเอื้อ”,   ผู้ให้บริการที่ปรึกษา KM เป็นต้น   เป็นระยะ ๆ


         นี่เป็นการ “ส่งการบ้าน” ให้ กพร.  ล่วงหน้าครึ่งวัน   เพื่อให้การหารือในเย็นวันนี้ไม่ต้องใช้เวลามาก


                                                                                  วิจารณ์  พานิช
                                                                                      25 ส.ค.48

คำสำคัญ (Tags): #หน่วยราชการ#กพร.
หมายเลขบันทึก: 2990เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2005 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์ครับ

              ขอรบกวนฝากบางประเด็นไปหารือด้วยนะครับ

            1.ประเด็นความหลากหลายของส่วนราชการในจังหวัดที่มีมากมาย(มากกว่า 100 ส่วนราชการ) ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความแตกต่างมากสำหรับเมื่อลงมาปฏิบัติในระดับจังหวัด  ก.พ.ร.จะทำอย่างไร

            2.ประเด็นการยอมรับและความสำคัญของหัวหน้าส่วนราชการเหล่านั้น  เนื่องด้วยวัฒนธรรมสั่งการของระบบราชการซึ่งขัดกับแนวคิดการจัดการความรู้โดยพื้นฐาน  ก.พ.ร.จะทำอย่างไร (ที่เราทำ workshopของคุณอำนวยจากส่วนราชการเหล่านี้ ประเด็นนี้เป็นปัญหาหลักทุกครั้ง)

            3.ประเด็นความเชื่อมโยง KM .ในฐานะเครื่องมือทางการบริหารกับเครื่องมือทางการบริหารอื่นๆ  ก.พ.ร.จะทำอย่างไรให้ราบรื่นโดยมีรายละเอียดในขั้นตอนปฏิบัติที่ชัดเจน

             คงขอรบกวนท่านอาจารย์แค่นี้ครับ

                       ขอขอบพระคุณ

                      พรสกล ณ ศรีโต

          ที่ปรึกษาอาวุโสสำนักงานบริหารยุทธศาสตร์

                        จังหวัดชุมพร

        

           

           

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท