ความเป็นมา |
- ความเป็นมา
การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคน และพัฒนาประเทศ ประเทศที่มีระบบ
การจัดการเรียนการสอนที่ดีและถูกต้อง จะช่วยให้การพัฒนาคน
และประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ฉบับใหม่นี้
ให้จัดระบบการเรียนการสอนโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ หรือ
การให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Contered)
เพื่อมุ่งเน้นที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้นำที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย
สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม
และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
ให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตราที่ 6)
และในกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ
และเต็มศักยภาพ (มาตราที่ 22) นั้น
การจัดสภาพการเรียนการสอนควรจะมีบรรยากาศที่ดี สนุกสนาน
มีอิสระในความคิด มีการเรียนรู้หลากหลาย บทเรียนเป็นเรื่องใกล้ตัว
มีความหมาย,ประโยชน์ และมีนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอนด้วย
นวัตกรรมเป็นแนวความคิด
การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
การนำนวัตกรรมมาใช้ในวงการศึกษา เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา”
(Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา
และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
มีประสิทธิผลสูงสุดกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียน นวัตกรรมเหล่านี้
และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันได้ใช้นวัตกรรมในการศึกษามากมาย
ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่
เช่น การสอนโดยใช้ คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน (Computer Assisted
Instruction) (CAI) การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive
Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต (Internet)
ซึ่งในขณะนี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากในวงการศึกษา
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยเรายังขาดการศึกษาวิจัยโปรแกรมนี้มาประกอบการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ
ซึ่งจะเป็นช่องว่างของการพัฒนาการศึกษาของชาติให้ทัดเทียมกับอารยะประเทศประกอบกับผลการศึกษาเปรียบเทียบทักษะด้านวิชาการของนักเรียนไทยกับนักเรียนต่างชาติพบว่า
นักเรียนไทยยังขาดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะทางด้านคณิตศาสตร์
ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์
และเป็นวิชาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ
ซึ่งรวมการพัฒนาความก้าวหน้าทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในหลายด้านด้วยกัน
ดังนั้นการผลิตโปรแกรมนี้เพื่อใช้สอนในวิชาคณิตศาสตร์
จึงควรที่ผู้วิจัยควรจะนำมาศึกษาอย่างยิ่ง
เพราะกิจกรรมทางคณิตศาสตร์นั้นจะประกอบด้วยพฤติกรรมในการเรียนรู้ต่างๆ
คือ การเป็นนามธรรม การให้เหตุผล แบบอุปมัย (Induction) คือ การเดา
และเปรียบเทียบกับความจริง การให้เหตุผลแบบการสรุปจากเกณฑ์
(Deduction)
และการตีความเหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะที่ยากในการจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเป็นอย่างมาก
ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2523)
นั้น ได้กำหนดจุดประสงค์การเรียน การสอนคณิตศาสตร์
โดยมุ่งให้นักเรียนได้รับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มากที่สุด
จึงเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่จะนำนวัตกรรมต่างๆ
เข้ามาใช้เพื่อให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์
ดังกล่าวและจากการออกแบบสอบถามครูผู้สอนคณิตศาสตร์
ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น “กราฟ (Graph)” เป็นบทหนึ่งในรายวิชา ค
024 คณิตศาสตร์ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเป็น
เรื่องของการแสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างปริมาณสองชุด
ที่นักเรียนเข้าใจยาก เวลาเรียนไม่เพียงพอในการฝึกทักษะ
หรือทำความเข้าใจ เพราะเป็นบทสุดท้าย ของการเรียนภาคเรียนที่ 2
ในปีการศึกษา และ “กราฟ” ก็มีความสำคัญมาก ในวิชาวิทยาศาสตร์
ในการนำเสนอข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนเรา
ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะจัดทำ “บทเรียนช่วยสอนเรื่อง
กราฟ ในระบบอินเทอร์เน็ต” ขึ้น
เพื่อความสะดวกของผู้เรียนที่จะเปิดเข้าไปศึกษานอกเวลาเรียนได้
โดยครูผู้สอนก็ไม่จำเป็นต้องควบคุม
และจะตรงกับความมุ่งหมายต่อระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันของ พรบ.
แห่งชาติ พ.ศ.2542 ดังที่ กล่าวไว้เบื้องต้น |
แนวคิดทฤษฎี |
- แนวคิดทฤษฎี
อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นการเชื่อมคอมพิวเตอร์ (Computer)
ทั่วโลกเข้ามาไว้ด้วยกัน
โดยจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันบนจอภาพ
ข้อมูลเหล่านี้เกิดจากบุคคลต่างๆ สร้างไว้ และนำมาเสนอไว้ในส่วนกลาง
เพื่อให้ผู้ใช้อื่นๆมาอ่าน ซึ่งจะได้เมื่อไร ที่ไหน ก็ได้
และไม่มีการจำกัดเวลา แต่การจะนำข้อมูลมาเสนอนี้
ต้องมีมาตราฐานสากลซึ่งได้กำหนดไว้คือ
ให้เขียนเอกสารจะนำมาเสนอบนอินเทอร์เน็ตด้วย ภาษาที่เรียกว่า “HTML”
(Hyper Text Markup Language) |
วัตถุประสงค์ |
- วัตถุประสงค์
- ได้แบบจำลองระบบการเรียนการสอนที่เป็นฐานข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นต้นแบบในการพัฒนาการสอนในระบบอินเทอร์เน็ต
-
ได้นวัตกรรมในรูปกาาเรียนการสอนทางไกลที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
- ได้แนวทางการศึกษานี้ไปใช้ในการสอนวิชาอื่นๆ ต่อไป
- ผลของการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน |
สมมุติฐานการวิจัย
|
-
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น |
ระเบียบวิธีวิจัย |
- ระเบียบวิธีวิจัย
วิธีดำเนินการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง
โดยจัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มทดลอง
ในการดำเนินการหลังจากที่ได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแล้ว
ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 ผู้วิจัยทำการสอบกลุ่มทดลอง โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน
และใช้บทเรียน Web Site ช่วยสอน เรื่องกราฟ จำนวน 7 คาบ คาบละ 50 นาที
โดยให้นักเรียนเรียนด้วยตนเอง มีผู้วิจัยคอยดูแลให้คำแนะนำ
1.2 หลังจากจบบทเรียนแล้วทำการทดสอบนักเรียนใช้แบบทดสอบหลังเรียน
เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง กราฟ อีกครั้ง
1.3 ตรวจผลการทดสอบแล้วนำคะแนน มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ
เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ SPSS for Windows และค่าสถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test |
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง |
กลุ่มประชากร /
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มประชากร นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2544
โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
จ.ลพบุรี
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2544
โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จ.ลพบุรี จำนวน 30
คน |
ตัวแปร |
- |
นิยามศัพท์ |
- นิยามศัพท์
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ หมายถึง
เครื่องมือวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียนจากการเรียนบทเรียนช่วยสอนในระบบอินเทอร์เน็ต
รายวิชา ค 204 คณิตศาสตร์ 4 เรื่อง “กราฟ” ของระดับมัธยมศึกษาปีที่
2
- ระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ระดับสูงกว่าเกณฑ์ คะแนนเฉลี่ย ตั้งแต่ 75% ขึ้นไป
ระดับปลานกลาง คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 74-60 %
ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 60 % |
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย |
- เครื่องมือ
- บทเรียนช่วยสอนในระบบอินเทอร์เน็ต
http://www.edu.nu.ac.th/wiwatm/graph/index.html
- แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่
แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน |
วิธีการรวบรวมข้อมูล |
- |
การวิเคราะห์ข้อมูล |
- การวิเคราะห์ข้อมูล
ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที (t-test) |
สรุปผลวิจัย |
- สรุปผลวิจัย
จากการพัฒนาบทเรียนช่วยสอนรายวิชา ค 204 คณิตศาสตร์ 4 เรื่อง “กราฟ”
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามขั้นตอน 13 ขั้น ปรากฏดังนี้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนช่วยสอนรายวิชา ค 204 คณิตศาสตร์ 4
เรื่อง “กราฟ” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีระดับนัยสำคัญ .01
และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าแบบทดสอบก่อนเรียน
โดยสรุปบทเรียนช่วยสอนรายวิชา ค 204 คณิตศาสตร์ 4 เรื่อง “กราฟ”
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีคุณค่าเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ |
ข้อเสนอแนะ
|
- อภิปรายผลการวิจัย
1. จากการที่ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนช่วยสอนรายวิชา ค 204 คณิตศาสตร์
4 เรื่อง “กราฟ” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีรายละเอียดดังนี้
1.1
ผู้วิจัยได้จัดเรียบเรียงเนื้อหาในบทเรียนช่วนยสอนให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันโดยเริ่มจากแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้พื้นฐาน
การทบทวนความรู้เดิมจนถึงการทำแบบฝึกหัดท้ายบท
ซึ่งทั้งหมดเป็นการเรียงเนื้อหาจากง่ายไปหายากตามลำดับ และ
บทเรียนช่วยสอนนี้ได้มีทั้งตัวอย่างรูปภาพประกอบมากมาย
จึงเป็นการสอนที่เป็นรูปธรรมและบทเรียนช่วยสอนนี้ทำให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า
ค้นคว้าด้วยตนเองตามศักยภาพ
1.2
บทเรียนช่วยสอนนี้ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นโดยผ่านการทดลองใช้ในสภาพจริงและปรับปรุงจำนวน
3 ครั้ง รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ
เจตคติของนักเรียนทำให้บทเรียนช่วยสอนนี้เป็นที่น่าเชื่อถือได้
1.3
บทเรียนช่วยสอนนี้ทำให้นักเรียนมีอิสระในการเรียนสามารถเรียนได้ไม่จำกัดเวลาและสถานที่
1.4 บทเรียนช่วยสอนนี้ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาล่วงหน้าได้
และสามารถเลือกเรียนเนื้อหาก่อนและหลังได้ตามความต้องการ
2.จากผลการศึกษาการใช้บทเรียนช่วยสอน จะพบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองที่เรียน โดยใช้บทเรียนช่วยสอน
มีระดับนัยสำคัญ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จากแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าแบบทดสอบก่อนเรียน
2.2 นักเรียนเห็นว่า
การเรียนการสอนในระบบอินเทอร์เน็ตช่วยให้ผู้เรียนได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการเรียนตามปกติ
2.3
บทเรียนช่วยสอนในระบบอินเทอร์เนตเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน
และสามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้
2.4 จากการสังเกตและประเมินนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนช่วยสอน พบว่า
นักเรียนมีความพอใจตั้งใจเรียนและบทเรียนช่วยสอนนี้ทำให้มีแรงจูงใจมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. อาจารย์ที่สอนควรมีความรู้พื้นฐานในการใช้อินเทอร์เน็ต
2.
กิจกรรมการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง
3.
การเรียนด้วยบทเรียนช่วยสอนนักเรียนต้องมีความรับผิดชอบและรักการเรียน
อาจารย์ที่นำบทเรียนช่วยสอนนี้ไปใช้ควรฝึกเด็กให้มีความรับผิดชอบต่อการเรียนของตนเองและมีการวัดผลการเรียนในรูปแบบอื่นๆ
เช่น การตอบปากเปล่า การทำแบบทดสอบเสริมต่างๆ
4. การเรียนการสอนในระบบอินเทอร์เน็ตมีค่าใช้จ่ายสูง ทางสถานศึกษา
ควรจะจัดงบประมาณไว้ให้เพียงพอ
5. ในการสอนนักเรียนอาจารย์ที่สอนควรมีงานให้นักเรียนทำมาส่ง
เพื่อเป็นการประเมินผลนักเรียน เช่น
การสรุปเป็นรายการแต่ละหน่วยที่เรียน |