การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชาคณิตศาสตร์


การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปวส.

เรื่อง    การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่มีคุณวุฒิประกาศนียบัตรวชาชีพ

ผู้วิจัย   ยงยุทธ   ศรีนวล

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  ในขณะที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์    เรื่องความน่าจะเป็น  โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริม  

          กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาวิชาการบัญชี ที่มีคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพของวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 1 (30001501)  ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2542          จำนวน  40  คน   ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 

          1.  แผนการสอนที่ใช้ในชั้นเรียนปกติจำนวน 5 คาบ 

          2.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ จำนวน  5  หน่วย  ซึ่งประกอบด้วยแบบทดสอบประจำหน่วยก่อนเรียน  บทเรียนสำหรับเสริม และแบบทำสอบประจำหน่วยหลังเรียน

          3.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่องความน่าจะเป็น ที่มีควมเชื่อมั่น 0.7778

          การหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ

          1.  การตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ

          2.  การทดลองใช้กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2541  โดยทดลอง 2 ครั้ง  คือ  ครั้งที่ 1 ตรวจดูข้อบกพร่องของบทเรียน  ครั้งที่ 2  ตรวจดูความเหมาะสมของเวลาและปัญหาอื่น ๆ

         ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสอนตามแผนการสอนในชั้นเรียนปกติจำนวน 5 หน่วย  หน่วยละ 1 คาบ  แล้วให้นักศึกษาเรียนซ่อมเสริมจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยตนเองอีก  5  หน่วย  หน่วยละ  1  คาบ  โดยแต่ละหน่วยจะเรียนนอกเวลาเรียนปกติ  ซึ่งมีผู้วิจัยเป็นผู้ควบคุม  เมื่อนักศึกษาเรียนครบทั้ง 5 หน่วยแล้ว  ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จากนั้นนำข้อมูลจากคะแนนแบบทดสอบประจำหน่วยก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เพื่อดูความก้าวหน้าในการเรียน  นำข้อมูลที่ได้จากคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละของจำนวนนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์  50 %  ของแต่ละจุดประสงค์  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า

          1.  นักศึกษาได้รับการเรียนซ่อมเสริมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความก้าวหน้าในการเรียน

          2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาอยู่ในระดับดี  และสูงกว่าเกณฑ์  50 %  ของแต่ละจุดประสงค์

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29872เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท