การวิจัยที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน


การจัดการเรียนการสอน

แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ในเขตกรุงเทพมหานคร ในระหว่างปี พ.ศ.2541-2546

วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์ (เทคโนโลยีการศึกษา)
ลัดดาวัลย์ สุขะวัลลิ


          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา
ในระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร ในระหว่างปี พ.ศ.
2541-2546 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา
ที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 18 คน ข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามจะวิเคราะห์
หาค่ามัธยฐานและพิสัยระหว่างควอไทล์
          ผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาด้านการพัฒนาและ
ออกแบบระบบการเรียนการสอน เน้นการออกแบบการสอนที่ยึดหลักการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
เครื่องมือกับผู้เรียน ด้านการบริการสนเทศ เน้นการพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ครอบคลุมสถานศึกษาทุกแห่ง และใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเครือข่ายและระบบบริการรวม
ด้านการผลิตสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เน้นการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
ในการเรียนการสอนให้อยู่ในวงจำกัดตามกำหนดและมาตรฐานด้านการจัดการและการ
บริหารการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน เน้นความรู้ความสามารถของครู
ผู้สอนและเจ้าหน้าที่ในการผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นและความเพียงพอของงบประมาณ
ในการจัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ด้านการพัฒนาการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
เน้นคอมพิวเตอร์จะเป็นสื่อใหม่ที่ทุกคนควรศึกษา ด้านการออกแบบและพัฒนาคอมพิวเตอร์
ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะเป็นระบบการเรียนการสอนแบบเปิด และเข้ามามี
อิทธิพลมากขึ้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ผู้เรียนมีความรู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในสถานจริง ด้านระบบการเรียนการสอน โดยใช้
สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เน้นการให้ห้องสมุดของสถานศึกษาเปลี่ยนรูปแบบจากห้องสมุด
ที่มีหนังสือไว้บริการเปลี่ยนมาเป็นให้บริการหนังสือที่อยู่ ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนมากขึ้น ด้านการประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพหรือผลที่เกิดจากคอมพิวเตอร์
ช่วยสอน เน้นให้ผู้เรียนแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และด้าน
ความคิดเห็น เจตคติของผู้เรียนต่อการเรียนการสอน เน้นให้นักเรียนสามารถนำไป
ประกอบอาชีพได้ในอนาคต

.............................................................................................................................

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีการสรุป 2 แบบในวิชาสุขศึกษา
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์ (เทคโนโลยีการศึกษา)
สุวารี เชิงพนม


          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทน
ในการจำจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีการสรุประหว่างบทเรียนและการสรุปท้ายบทเรียน
ในวิชาสุขศึกษา
          กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง
2 กลุ่ม ๆ ละ 25 คน
          เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีการสรุป 2 แบบ
และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78
          เมื่อนักเรียนเรียนจบแล้ว ให้ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทันที
หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบชุดเดิมอีกครั้ง เพื่อวัดความคงทนในการจำ
และนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ t-test
      ผลการศึกษาพบว่า
      1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีการสรุประหว่างบทเรียน มีประสิทธิภาพเท่ากับ
79.6/79 และคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีการสรุปท้ายบทเรียน มีประสิทธิภาพเท่ากับ
78.6/78.2
      2. นักเรียนที่เรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีการสรุประหว่างบทเรียน
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำสูงกว่านักเรียนที่เรียนจากคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนที่มีการสรุปท้ายบทเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29798เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท