เด็กติดเกม วัยรุ่นติดแชท


เด็กติดเกมอย่าลืมอ่านหนังสือ วัยรุ่นติดแชทอย่าลืมท่องตำรา

"น่าจะเกือบ 30 ปีแล้วที่อินเทอร์เน็ตแพร่เข้ามาในสังคมไทย และขยายพลังไปทั่วโลก"

ทุกวันนี้ก็คงไม่แปลกอะไรอีกต่อไปถ้าเราจะพูดว่า ไม่มีใครไม่รู้จักอินเทอร์เน็ต แม้ที่บ้านจะไม่มีคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตไว้สำหรับสืบค้นข้อมูล แชท(คุย)กับเพื่อนๆ หรือใช้ทำงาน ทำการบ้านส่งครู ฯลฯ แต่เราก็เห็นหน่วยงานทุกภาคส่วนที่บริการประชาชน หรือลูกค้าด้วยสมองกลไฮเทคเหล่านี้ทุกวี่วัน จึงน่าจะคุ้นเคยกันดี 

นอกจากประโยชน์หรือสาระที่ได้จากอินเทอร์เน็ต(หรือคอมพิวเตอร์)แล้ว อีกมุมหนึ่งที่ฟังดูค่อนข้างลบก็คือการเสพติดสื่อหรือใช้สื่อแล้วติดใจไม่อยากเลิกเล่น จมอยู่กับเกมทั้งวันทั้งคืน   แชทกันทีข้ามวันข้ามคืน จนหมดเงินไปหลายบาท จนพ่อแม่เป็นห่วง... จนนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ...จนติดสื่องอมแงม...จนการเรียนตกต่ำลง...จนหน้าตาไม่สดใน...จนการงานไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร 

ไม่ใช่แต่เด็กเล็กๆนะที่ตกอยู่ในมนต์มายาของโลกไซเบอร์แห่งเกม ...วัยรุ่น วัยทำงาน หรือวัยผู้สูงอายุเดี๋ยวนี้ก็เพลิดเพลินกับสื่อที่ตอบโต้ได้ทันทีทันใจได้อารมณ์เช่นนี้ จนบางทีบางคนพลาดท่าตกเป็นเหยื่อของคนไม่ดีที่เข้ามาฉกฉวยผลประโยชน์จากคนเล่นเกมเล่นอินเทอร์เน็ต

หรือคนที่ใช้เวลากับสื่ออินเทอร์เน็ตมากๆ ก็พลอยทำให้อ่านหนังสือได้น้อยลง อยู่กับครอบครัวได้น้อยลง เล่นกีฬาออกกำลังกายน้อยลง สวดมนต์น้อยลง...แต่เก็บต้วอยู่ในมุมแคบๆมากขึ้น

ทางออกทางหนึ่ง---พ่อแม่ต้องรู้เท่าทันสื่อใหม่นี้ ครูบาอาจารย์ต้องรู้เท่าทันสื่อใหม่นี้ ตัวเด็กและเยาวชนเอง รวมทั้งประชาชนคนไทยที่ใช้สื่อนี้หรือจะเข้ามาใช้สื่อนี้ก็ต้องรู้เท่าทันสื่อใหม่นี้ รู้แล้วช่วยกันขยายผล ช่วยกันเตือนกัน เพื่อนเตือนเพื่อน พี่เตือนน้อง น้องเตือนพี่ ...รู้แล้วก็ยังต้องหักห้ามใจตัวเอง ให้มีกรอบในการเล่นเกม ในการแชท หรือในการใช้อินเทอร์เน็ต

"ลองฝึกตัวเองง่ายๆ อย่างน้อยถ้าอ่านหนังสือชั่วโมงนึง ให้เล่นเกมได้ชั่วโมงนึง...ถ้าอยากเล่นเกม อยากแช็ทเยอะๆก็ต้องอ่านหนังสือเยอะๆให้สูสีกันไป... ระวังติดเน็ตจะเสียการเรียน หรือไม่ก็จดจำวิชาความรู้ตามหลักสูตรที่เรียนอยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีสมาธินิ่งพอ หรือจะอ่านหนังสือก็ง่วงซะแล้ว เพลียเพราะเกมเพราะแชท แล้วอนาคตน้องๆจะไม่กลัวลำบากหรือ...นี่ต้องมองไกลๆ"

แล้วใครล่ะจะวางกติกาดูแลเด็กและวัยรุ่นทั้งหลาย อืมก็คงไม่พ้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ แต่ถ้าเด็กและวัยรุ่นที่ว่าโตเร็วเพราะรู้เยอะรู้มาก คิดได้คิดเป็นไม่อยากให้ใครมาสอน น้องๆก็คงต้องช่วยที่บ้าน ที่โรงเรียน และช่วยสังคมอีกแรง ด้วยการกำหนดเวลาใช้สื่อต่างๆให้พอประมาณ วันละไม่น่าจะเกิน 3 ชั่วโมง เพราะร่างกายจะล้า สมองจะเฉื่อย ไม่อยากทำสาระประโยชน์อะไรอีกแล้ว...

"ถ้าใช้เวลากับสื่อเพื่อหย่อนอารมณ์แล้ว ก็ต้องใช้เวลากับหนังสือเรียนและทำการบ้านด้วย ชีวิตจึงจะสมดุล ได้ทั้งสาระและบันเทิง"

โลกยุคสื่อใหม่นี้ท้าทายทุกคนให้เรียนรู้ที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อ ไม่ตกเป็นทาสของสื่อ

"เราต้องเป็นนายของตัวเรา อย่าให้สื่อมาเป็นนายของเรา"

สื่อกำลังท้าทายเด็กและเยาวชนให้หันมาบริหารเวลาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อความก้าวไปข้างหน้าและประสานความสุขภายในครอบครัว ควบคู่ไปกับการมีเพื่อนและสังคมที่มีคุณภาพ

สื่อกำลังท้าทายผู้ใหญ่ให้มองหาวิธีใหม่ๆที่จะดูแลลูกหลานหรือลูกศิษย์ให้คิดเป็น ให้มีสติ...

คาถาสำหรับเด็กติดเกม วัยรุ่นติดแช็ต...

"เด็กติดเกมอย่าลืมอ่านหนังสือ - วัยรุ่นติดแชทอย่าลืมท่องตำรา"

ลองให้เด็กๆช่วยกันเตือนตัวเองอีกทางนึง ลองดู.

 

 

หมายเลขบันทึก: 297607เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ
  • ตอนนี้ป้าแดงก็มีเพื่อนในจอมากกว่านอกจอแล้วค่้ะ
  • อิอิอิ

ดีจ้าผมรีบอร์น

ก็ดี นะ ผมชอบแว๊นมากๆๆๆอ้ะ ที่ปทุมสายใน 200

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท