การพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ๑. ภาพรวมของการดำเนินการของเครือข่าย มรภ. ใน ๘ ปี


 
          วันที่ ๘ ก.ย. ๕๒ ผมไปฟังรายงานผลการวิจัยเรื่อง “ผลการพัฒนางานวิจัยและระบบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลันราชภัฏ” ณ อาคารรัชมังคลาภิเษก ๒  กระทรวงศึกษาธิการ    ที่รายงานโดย อ. เต็มดวง ตรีธัญญพงศ์ ด้วยความชื่นชม 

          เป็นรายงานเรื่องราวของการพัฒนาระบบการจัดการงานวิจัยที่ดำเนินการระยะยาว เป็นขั้นเป็นตอนอย่างน่าชื่นชมยิ่ง   โดยมี สกว. เป็นพี่เลี้ยง    มองอีกมุมหนึ่ง นับเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของ สกว. ในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาระบบการจัดการงานวิจัยระดับสถาบัน   และเป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยง มรภ. เข้าทำหน้าที่สถาบันอุดมศึกษาเพื่อชุมชน/ท้องถิ่นอย่างได้ผล   เกิดรูปแบบวิธีพัฒนา มรภ. เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่น   อ่านเรื่องราวของเครือข่ายได้ ที่นี่    แต่นั่นเป็นเรื่องเมื่อ ๔ ปีที่แล้ว    เวลานี้เครือข่ายพัฒนางานวิจัยของ มรภ. ก้าวหน้ากว่านั้นมาก   อ่าน ppt ประกอบการนำเสนอของ อ. เต็มดวงได้ที่นี่    สไลด์แผ่นสุดท้ายสรุปแผนการพัฒนาระบบการจัดการงานวิจัยในอนาคตได้อย่างดีเยี่ยม  

          ผมถาม ศ. ดร. อารี วิบูลย์พงศ์ ผอ. สถาบันเพื่อการวิจัยและส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง มช. ตามประสาคนคุ้นเคยว่า   ระบบการจัดการงานวิจัยของ มรภ. ๔ แห่งที่มานำเสนอนี้ ดีกว่าของมหาวิทยาลัยกลุ่ม มช., ม. มหิดล ใช่ไหม    ท่านตอบว่าใช่   เพราะที่มหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกย่องเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีวัฒนธรรมที่ให้อิสระแก่อาจารย์นักวิจัยแต่ละคนมาช้านาน    จนไม่สามารถจัดระบบอย่างแท้จริงได้

          ผมเดาว่า ต่อไปมหาวิทยาลัยกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ อาจจะต้องไปดูงานระบบการจัดการงานวิจัยที่ตอบสนองท้องถิ่นของ มรภ. บางแห่ง   เช่น มอ. อาจต้องไปขอดูที่ มรภ. สุราษฎร์

          ย้ำนะครับว่า มรภ. ในเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยและระบบการจัดการงานวิจัยนี้   ใน ๔ สถาบันที่มานำเสนอ   มีระบบที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก   ดังในตอนที่ ๒ 

 

วิจารณ์ พานิช
๘ ก.ย. ๕๒

อ[1]. เต็มดวง ตรีธัญญพงศ์ คนซ้ายสุด กำลังนำเสนอภาพการพัฒนาในช่วง ๘ ปี

 

บรรยากาศในห้องประชุม

หมายเลขบันทึก: 297423เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนคุณหมอวิจารณ์ที่เคารพ

ดิฉันเข้ามาอ่านเป็นครั้งแรกค่ะ ยังใช้เน็ตไม่ค่อยเป็นเลย อยู่ระหว่างลองผิดลองถูกอยู่ ตอนนี้ลองทำบล็อคอยู่ที่ห้องศาสนาในเวปพันทิปค่ะ เป็นบล็อคจิปาถะเกี่ยวกับธรรม ยังไม่ค่อยลงตัวเท่าใดนัก แต่เริ่มเห็นคุณค่าของอินเตอร์เน็ตแล้วค่ะ แต่คิดว่าคงไปทำจริงๆ จังๆ หลังเสร็จงานชุด"บนเส้นทางสร้างปัญญา" อาจจะมาขอเปิดบล็อคที่ gotoknow ด้วย

เรื่องนี้มีสาเหตุมาจากการไปพบอาจารย์วิสุทธิ์ ใบไม้ เดือนละครั้ง ได้นำพวกขยะความรู้ต่างๆ(คือหนังสือและเอกสารต่างๆ ที่ถูกจำหน่ายออกไปสู่ตลาดหนังสือเก่า)ไปอวดอาจารย์วิสุทธิ์ท่าน เห็นแต่ละครั้งท่านตื่นตาตื่นใจ จึงคิดว่า ถ้ามีการจัดการขยะความรู้ดีๆ เช่น เอามาแนะนำในแวดวงวิชาการ ก็อาจจะทำให้เกิดความตื่นตัว ต่อความรู้มหาศาล ที่มักถูกจัดการคัดออก ด้วยระบบ 5 ส.บ้าง หรือด้วยการมองข้ามบ้าง

แต่ดิฉันยังมีความจำกัดทางความสามารถหลายประการ เพราะบล็อคที่เวปพันทิป ลูกก็เป็นคนทำให้ ไม่ได้ทำเอง ตนเองยังเพียงแค่พิมพ์ดีดเป็น แต่เริ่มค้นคำเป็น จึงเริ่มท่องเวปได้บ้างเท่านั้น

ระลึกถึงคุณหมอวิจารณ์เป็นอย่างยิ่งค่ะ และ..โอมเพี้ยง ขอให้ส่งข้อความนี้ได้สำเร็จด้วยเถิด

ด้วยความเคารพอย่างสูง

กัญญา ลีลาลัย

สำเร็จครับ คุณน้อย และขอต้อนรับสู่ Gotoknow ครับ

วิจารณ์

ส่งบล็อคของน้อยในเวปพันทิปมาให้ดูค่ะ

เป็นกลุ่มบล็อค ตอนนี้เขียนไป 77 บล็อคแล้วค่ะ

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kanya-noy

ที่เวปพันทิป คึกคักมาก เขาจะแบ่งเป็นห้องต่างๆ หลายสิบห้อง

น้อยสถิตย์อยู่ในห้องศาสนาเป็นหลัก

ขนาดห้องศาสนามีคนเข้ามาวันละเป็นพันๆ คน

ถ้าเป็นห้องราชดำเนิน(กระทู้การเมือง)คนยิ่งมากกว่านี้

เพราะคนเข้ามามากนี่เอง จึงเข้ามาอ่านบล็อคกันมาก

น้อยทำบล็อคมาสามสี่เดือน คนเข้ามาอ่านแล้ว หมื่นกว่าครั้ง

ทำให้รู้สึกว่าดีจังเลย ไม่ต้องเสียเงินในการทำงานเผยแพร่

เอาไว้เป็นเรื่องที่เราเห็นความสำคัญต่อสาธารณะจริงๆ ค่อยพิมพ์แจกต่อ

อีกหน่อย น้อยจะทำบล็อคความรู้ด้วยค่ะ ตอนนี้ทำเรื่องธรรมะไปก่อน

ตอนนี้เข้าใจแล้วค่ะว่า อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์มากขนาดไหน

ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ

น้อย(กัญญา ลีลาลัย)

น้อย(กัญญา ลีลาลัย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท