งานบุญสารทเดือนสิบ


ประเพณีชิงเปรต

ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ

            ประเพณีบุญสารทเดือนสิบเกิดขึ้นตามความเชื่อในทำนองเดียวกับชาวอินเดีย  เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว   ซึ่งจะถูกปล่อยตัวเปรตจากยมโลกเพื่อให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้อง  ลูกหลาน  ในเมืองมนุษย์ใน   วันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ  และกลับลงไปอยู่ในนรก  ในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ลูกหลานจึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด  เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วปีละครั้ง  

     โดยทำในวันแรกที่ผู้ล่วงลับมาจากยมโลก  คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่า    "วันหมรับเล็ก" (วันรับตายาย)  และวันที่ผู้ล่วงลับจะต้องกลับยมโลกดังเดิมคือ

วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ  เรียกว่า "วันหมรับใหญ่"(วันส่งตายาย) 

     มีความเชื่อกันว่าเปรตที่ได้รับบุญกุศลที่ลูกหลานอุทิศไปให้ในวันสารทเดือนสิบ ก็จะสามารถนำบุญกุศลดังกล่าวไปใช้ในการลดโทษจนพ้นผิดหรือมีโทษเบาลง

"พิธีงานบุญสารทเดือนสิบที่มีชื่อ ในภาคใต้ที่กระทำพิธีนี้กันแบบยิ่งใหญ่และถือปฏิบัติกันมาเป็นประเพณีที่ยาวนานที่สุดก็คือที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

เมื่อถึงวันที่จะต้องไปวัดเพื่อทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วจะต้องจัดเตรียมสิ่งของใส่ภาชนะหรือที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกกันว่า "การจัดหมฺรับ"ซึ่งหมฺรับที่จัดทำขึ้นนั้นจะประกอบไปด้วยของกิน ของใช้ที่จำเป็นมากมายหลาย แต่ที่จะขาดไม่ได้นั้นจะต้องมีขนม 5 อย่าง   ซึ่งถือกันว่าเป็นหัวใจของการทำบุญวันสารทเดือนสิบ    ขนม 5 อย่าง นั้นได้แก่......

1.ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์หมายถึง แพฟ่อง สำหรับให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วใช้เป็นพาหนะใช้ในการเดินทาง

 

 

ขนมพอง


2.ขนมลา ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม

  

ขนมลา

3.ขนมกงหรือขนมไข่ปลา ใช้แทนเครื่องประดับร่างกาย

 

 

ขนมกงหรือขนมไข่ปลา

4.ขนมบ้า ใช้แทนลูกสะบ้าเล่นในเทศกาลสงกรานต์ 

 

 ขนมบ้า

5.ขนมดีซำ ใช้แทนเงินเบี้ยเพื่อใช้สอย

 

ขนมดีซำ 

            และเมื่อนำสิ่งของเหล่านี้ไปยังที่วัดแล้ว  พิธีกรรมต่อไปคือการตั้งเปรตและชิงเปรต  การตั้งเปรตเป็นการนำเอาอาหารที่ลูกหลานนำเพื่อเพื่อให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วและถูกปล่อยตัวมาจากนรกภูมิได้กิน(กระทำนอกวัด)เสร็จแล้วจะจุดธูป เทียนเพื่อบอกดวงวิญญาณให้บรรพบุรุษได้รับรู้ และมากินอาหารที่ลูกหลานนำมาตั้งไว้ให้  หลังจากที่หมดธูปที่จุดไว้ ลูกหลานจะเข้าไปแย่งชิงอาหารนั้นหรือที่เรียกกันว่าการชิงเปรต เพราะเชื่อว่าการที่ได้กินของเหลือจากบรรพบุรุษเป็นการแสดงความกตัญญูและจะเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

หมายเลขบันทึก: 297419เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท