ประวัติศาสตร์และโบราณคดีภาคใต้


เรียนรู้อดีตอย่างสนุกสนาน กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร

     เมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์  หรือโบราณคดี เพื่อนๆ บางคนอาจเกิดความเบื่อหน่าย  และคิดว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะอ่านหรือทำความเข้าใจ  จึงทำให้เราละเลยเรื่องราวความเป็นมาของตนเอง  และคิดว่าคนที่สนใจเรื่องราวในอดีตเป็นคนล้าสมัย  หรือหัวโบราณ  ความจริงแล้วเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมีความสนุกสนานไม่น้อยเชียวค่ะ  เรามาเปลี่ยนทัศนคติใหม่กันดีไหมคะ  ลองมาเป็นนักสำรวจกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ชุมพร กันดีกว่าค่ะ
      เพื่อนๆ ทราบไหมค่ะว่าภาคใต้ของเรานั้น  ได้พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมายไม่แพ้ภาคอื่นๆ   ในประเทศไทยเลยค่ะ   หลักฐานต่างๆ ที่พบมีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ทวารวดี   ศรีวิชัย สุโขทัย อยุธยา  และรัตนโกสินทร์  น่าภูมิใจใช่ไหมล่ะคะ  
    
ปัจจัยสำคัญในการที่มนุษย์จะเลือกที่ใดที่หนึ่งสำหรับอยู่อาศัยหรือตั้งหลักแหล่งนั้นก็คือลักษณะทางภูมิศาสตร์ค่ะ  หรือจะเรียกให้ง่ายหน่อยก็คือ  ต้องมีชัยภูมิที่เหมาะสม  สามารถอยู่ได้อย่างสบายและปลอดภัย  ปัจจัยต่างๆ  เหมือนในปัจจุบันเลยนะค่ะ  เพียงแต่ในปัจจุบันมีปัจจัยอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย  ในสมัยก่อนมนุษย์ต้องพึงพาธรรมชาติในการดำรงชีวิต   จึงต้องดูชัยภูมิการอยู่อาศัยให้ดีที่สุด  ภาคใต้ของเราก็มีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยอยู่หลายแห่งที่เดียวค่ะ          
     วันนี้เรามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในภาคใต้กันดีกว่านะคะว่าในแต่ละพื้นที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์และมีชุมชนโบราณเกิดขึ้นในภาคใต้ของเราที่ไหนบ้าง  ไปดูกันเลยค่ะ

 ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคใต้

     ภาคใต้  ประกอบด้วย  ๑๔ จังหวัด  มีพื้นที่รวมทั้งหมด  ๗๒,๖๖๙  ตารางกิโลเมตร   ๗๐ % ของพื้นที่เป็นเนินเขาและภูเขา  มีเทือกเขาสูงเป็นแนวยาวขนานไปกับฝั่งทะเล  ทั้งฝั่งอันดามันและด้านทะเลจีนใต้

     - ทิวเขาทิศตะวันตก (ด้านทะเลอันดามัน) ได้แก่เทือกเขาภูเก็ต  เป็นเทือกเขาสูงต่อเนื่องมาจากเทือกเขาตะนาวศรี  ยาวตลอดแนวคาบสมุทร

     - ทิวเขาด้านตะวันออก (ด้านทะเลจีนใต้)  มีเทือกเขานครศรีธรรมราช  จากแนวเหนือ-ใต้  อำเภอขนอม  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ยาวจรดชายฝั่งทะเลอันดามัน สุดเขตแดนประเทศไทยที่จังหวัดสตูล

      - ทางด้านใต้ใกล้เขตแดนประเทศไทยต่อประเทศมาเลเซีย  มีเทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นเทือกเขาใหญ่มีขอบเขตกว้างขวางเข้าไปในเขตแดนประเทศมาเลเซีย

     ทิวเขาทั้ง    ๓    นี้    รองรับด้วนหินแกรนิตซึ่งแทรกตัวเขามาในหินตะกอนในช่าวมหายุค       พาลิโอโซอิคทำให้เป็นเขาสูง  มีผลต่อวิวัฒนาการทางธรณีสัญฐาน  ทำให้เกิดเป็นที่ราบเฉพาะชายฝั่งทะเล  บริเวณทิวเขาด้านตะวันออกและตะวันตกเป็นที่ราบ  ลักษณะเป็นเนินเขาลูกฟูกตั้งแต่อ่าวบ้านดอนตลอดลงใต้ไปจรดชายฝั่งทะเลอันดามันในเขตจังหวัดพังงา  กระบี่  ตรัง  สตูล  โดยมีเนินเขาและภูเขาสลับกันไป  ในบริเวณนี้มีภูเขาหินปูน (พังงา  กระบี่)  ซึ่งมีถ้ำที่เหมาะแก่การอยู่อาศัย  โดยได้มีการสำรวจพบร่องรอยหลักฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ที่ตั้งของชุมชนโบราณ

     จากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีภูเขาเป็นแกนกลาง (เทือกเขาภูเก็ตและเทือกเขานครศรีธรรมราช)  แบ่งพื้นที่ภาคใต้ออกเป็น  ๒  ฝั่ง  คือ  ฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก

๑. ฝั่งตะวันตก ฝั่งนี้จะมีการยุบตัวเพระถูกกัดเซาะ  เนื่องจากมีคลื่นลมแรง  และมีพื้นที่ภูเขาเป็นส่วนใหญ่  ขยายตัวยากเนื่องจากมีพื้นที่จำกัด  จึงเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดเล็ก  บริเวณที่เป็นที่ราบพอจะตั้งชุมชนได้  คือ  บริเวณจังหวัดพังงา  กระบี่  ตรัง  และสตูล แหล่งโบราณคดีที่สำคัญมีดังนี้
     ๑.๑ ตะกั่วป่า  จังหวัดพังงา  สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองท่าที่เรียกกันว่า  ตักโกละ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ  เนื่องจากที่อำเภอตะกั่วป่าได้พบเทวรูปพระนารายณ์  และชิ้นส่วนสำเภาโบราณ  และจากตะกั่วป่าสามารถข้ามไปยังฝั่งตะวันออกได้
     ๑.๒ บ้านทุ่งตึก  (เหมืองทอง) ตำบลเกาะคอเขา  อำเภอคุระบุรี  จังหวัดพังงา  พบโบราณวัตถุแบบโรมัน  เช่น  ลูกปัดแก้วมีตา  ลูกปัดแก้วมีแถบสี
     ๑.๓ คลองท่อม  จังหวัดกระบี่  บริเวณควนลูกปัด  ซึ่งเป็นเนินดินใกล้ที่ราบริมภูเขา  มีคลองท่อมไหลผ่าน  ได้พบร่องรอยการผลิตลูกปัดแก้ว  เนื่องจากพบเศษแก้วที่เหลือจากการผลิตลูกปัด  และพบลูกปัดแก้วจำนวนมาก  แม้ว่าจะไม่เจอเบ้าหลอมแก้วหรือเตา (อาจถูกทำลายไปหมดแล้ว)  นอกจากนั้นยังพบโบราณวัตถุต่างชาติเป็นจำนวนมาก  ทั้งที่เป็นสินค้าของอินเดีย  สินค้าโรมัน  และสินค้าแบบอินโด - โรมัน  ซึ่งแสดงถึงร่องรอยการติดต่อค้าขายกับอินเดียในสมัยอินโด - โรมัน (พุทธศตวรรษที่  ๕ - ๙)
     ๑.๔ ภูเขาทอง  จังหวัดระนอง  พบหลักฐานทางโบราณคดี  เช่น  ลูกปัดแก้วและลูกปัดหินทั้งหินคาร์เนเลี่ยนและอาเกต

๒. ฝั่งตะวันออก พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลดระดับและมีแผ่นดินงอก  เนื่องจากมีสันเขาเป็นต้นทางของแม่น้ำสายสั้นๆ  และมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ (ตุลาคม - มกราคม) ทำให้มีฝนตกมากเป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลลงสู่แม่น้ำใหญ่ทำให้เกิดสันทราย  ซึ่งเป็นบริเวณที่เหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานและการเพาะปลูก  จึงมีการตั้งชุมชนอยู่บริเวณตีนภูเขา (ห่างจากทะเลประมาณ  ๒๐ - ๓๐  กิโลเมตร)  และบริเวณที่ราบริมฝั่งทะเล  แหล่งโบราณคดีมีดังนี้
     ๒.๑ เขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง  อำเภอเมือง  จังหวัดชุมพร  พบโบราณวัตถุจากอินเดีย  เช่น  ลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยนและอาเกต  แบบเรียบและแบบฝังสี  และด้ามทัพพีสำริดรูปนกยูง
     ๒.๒ เขาศรีวิชัย  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  พบเทวรูปพระนารายณ์และศาสนสถาน  ๘  แห่ง  ซึ่งแสดงถึงความรุ่งเรื่องของศาสนาพราหมณ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
     ๒.๓ วัดอัมพาวาส  อำเภอท่าชนะ  จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบโบราณวัตถุจากอินเดียประเภทลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยนและอาเกต
     ๒.๔ แหลมโพธิ์  ตำบลพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เกิดจากแผ่นดินใหญ่ที่มีคลองพุมเรียงไหลผ่าน  พบโบราณวัตถุที่เป็นสินค้าต่างชาติจากอินเดีย  จีน  และอาหรับ  จากการขุดตรวจทางโบราณคดี (ประมาณ  พ.ศ.๒๕๒๒ - ๒๕๒๔ )โดยกรมศิลปากร  ได้พบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง  (พุทธศตวรรษที่  ๑๒ - ๑๕)
     ๒.๕ ไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของโบราณ  มีการขุดค้นทางโบราณคดี (ประมาณ  พ.ศ.๒๕๒๒ -๒๕๒๔ ) โดยกรมศิลปากร บริเวณสันทรายพบว่ามีวัฒนธรรมเดียว (ชั้นดินลึกประมาณ  ๑๐๐  เซนติเมตร)  มีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่  ๑๖  นอกจากนั้นยังได้ขุดตรวจบริเวณวัดหลง  และได้พบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง (พุทธศตวรรษที่  ๒๐ - ๒๒) ส่วนหลักฐานด้านศิลปกรรมเนื่องในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธนั้นได้พบเป็นจำนวนมาก
     ๒.๖ นครศรีธรรมราช  บริเวณสันทรายมีร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณหลายแห่ง  เช่น  เมืองพระเวียง  ชุมชนโบราณท่าศาลา-สิชล  ชุมชนโบราณท่าเรือ  มีคลองท่าเรือไหลผ่านเรือสำเภาเข้ามาถึงได้ สันนิษฐานว่า  ตามพรลิงค์ เป็นชื่อเดิมของนครศรีธรรมราช (ภาษาสันสฤกต)  ซึ่งจีนเรียกว่า ตันมาลิง ชาวเมืองนับถือศาสนาพราหมณ์  ดังได้พบร่องรอยโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์ (ไศวนิกาย) บนเขาคา  อำเภอสิชล  ซึ่งมีอายุอยู่ในช่างพุทธศตวรรษที่  ๑๔ - ๑๖
     ๒.๗ สทิงพระ  จังหวัดสงขลา มีร่องรอยชุมชนโบราณบริเวณสทิงพระ  มีการขุดค้นในบริเวณตัวเมืองโบราณ  ที่โรงเรียนในเมือง  พบเครื่องถ้วยสมัยศรีวิชัย  สีขาวนวล  ปะปนกับเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซุ่งตอนปลายต่อสมัยราชวงศ์หยวน (พุทธศตวรรษที่  ๑๗ - ๑๙ )
     ๒.๘ ยะรัง  จังหวัดปัตตานี  เมืองโบราณยะรังเป็นที่ตั้งของชุมชนเก่าแก่ขนาดใหญ่ตามที่จีนเอ่ยถึง  ลังยาเสียว  (อาหรับเรียกว่า ลังกาสุกะ)  ว่ามีความสำคัญตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่  ๑๓  เป็นต้นไป     กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้น      และขุดแต่งโบราณสถานในบริเวณบ้านจาเละ  บ้านวัด และบ้านปะแว  ได้พบร่องรอยวัฒนธรรมศรีวิชัยอย่างเด่นชัด

   ไม่น่าเชื่อเลยค่ะว่าในภาคใต้  จะมีชุมชนโบราณเกิดขึ้นมากมายทั้งทางฝั่งตะวันตกแลฝั่งตะวันออก  และเพื่อนๆ สังเกตไหมค่ะว่า  ชุมชนที่เกิดขี้นมีการพบหลักฐานของต่างชาติหลายๆ อย่าง ทั้ง ของอินเดีย และ จีน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าคนในสมัยก่อนเก่งไม่ใช้เล่นเลยนะคะ ที่สามารถเดินทางไปค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าในที่ไกลๆ ได้  และก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่างๆ มากมาย จนทำให้โลกของเรามีความเจิรญมาถึงปัจจุบัน 
คราวหน้าเราจะนำเรื่องราวที่น่าสนใจรวมทั้งแหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญในภาคใต้มาฝากเพื่อนๆ นะคะ  จนกว่าจะพบกันใหม่ค่ะ

 เอกสารอ้างอิง

- รองศาสตราจารย์  ดร.ผาสุข  อินทราวุธ. หลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวารวดีและศรีวิชัย. โครงการอบรมครูสังคมศึกษาด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย.  ภาควิชาโบราณคดี  คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร  วันที่  ๒๔ - ๒๘  เมษายน  ๒๕๔๔. (เอกสารอัดสำเนา)


 

หมายเลขบันทึก: 29719เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2006 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สนใจและหลงไหลเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากๆ ค่ะ

และตอนนี้มีเรื่องที่อยากจะขอความช่วยเหลือ ผู้รู้

ในเรื่องศิลปะวัตถุโบราณชิ้นหนึ่งที่เห็นมาจากภาคใต้

ว่าเป็นศิลปะชาติไหน  เพราะสวยงามมาก  และไม่เคยเห็นลักษณะนี้มาก่อนเลย

คาดว่าอายุน่าจะมาก แต่เดาไม่ถูกว่ากี่ร้อย กี่พันปี

เนื่องจากโพสต์รูปที่นี่ไม่เป็น

รบกวนเข้าไปดูภาพที่

www.pantipmarkeet.com/view.php?id=U5301854  นะค่ะ

ไม่รู้จะเรียกแจกัน  หรือไห  หรือคนโท

ดูภาพแล้วเป็นภาพคนญี่ปุ่นโบราณ

รบกวนส่งความเห็นมาที่

[email protected] ด้วยนะค่ะ  ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ขออภัยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ตะกี้พิมพ์ผิดค่ะ  ใช้ลิงค์นี้นะค่ะ

http://www.pantipmarket.com/view.php?id=U5301854

ทำ ไม น่า จะ

มี มาก กว่า นี้ จะ ได้ ส่ง ครู

ทุก เรื่อง คะ

อ้ากก ต้องการหลักฐานทางประวัติศาสตร์อ่ะ หลักฐานๆ

ของภาคใต้นี้แหละจังหวัดใดก็ได้ไม่ช่ายย ลักษณะภูมิประเทศ อ้ากก

ไม่ตรงคำถามที่หาเยย *____^

ขอบคุณค้าบได้ความรู้มากเลยคับ

มีจังหวัดตรังมั้งมั้ยคับช่วยหาให้หน่อย


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท