The Heart of Change (เปลี่ยนแปลงสำเร็จได้ต้องใจรัก)


เปลี่ยนแปลงสำเร็จได้ต้องใจรัก (The Heart of Change)

วันนี้พี่สมศรี นวรัตน์(พี่เปิ้น)ขอคุยในเรื่อง เปลี่ยนแปลงสำเร็จได้ต้องใจรัก” (The Heart of Change) โดยขอเริ่มที่เรื่อง “ กระตุ้นเพื่อความเร่งรีบ”

               พี่สมศรี นวรัตน์ ขอคุยแลกเปลี่ยน ร่วมเรียนรู้กับเพื่อน ๆ และ ชาว Blog + ผู้ที่มีหัวใจ + มีPassion เสมอๆสำหรับเรื่อง การเรียนเพื่อรู้ให้เกิดองค์ความรู้(Knowledge) + เกิด Skill + เกิด Mindset ======> จนเกิดเป็น Life Long learning เพราะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตคือ การที่มี Human Capacity ซึ่งหนูคิดว่าเป็นทุนที่มีความสำคัญ + มีค่า + เพิ่มคุณค่า(Value Added) =====> มีคุณค่าอย่างมาก สำหรับสังคมไทย (ทั้งสังคมภาพรวม) ซึ่งหนูคิดว่ากำลังขาดแคลน  โดยขอเริ่มที่เรื่อง “กระตุ้นเพื่อความเร่งรีบ” ในขั้นตอนแรกที่จะก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงคือ การมีพฤติกรรม(Behavior/Habited) ที่เตรียมพร้อมสำหรับการสอดส่องหาโอกาส และปัญหา เพื่อกระตุ้นให้เพื่อนร่วมงานมีส่วนร่วม โดย กระตุ้นให้เห็นถึงความเร่งด่วนในการแก้ไข  จุดประกายความคิดให้เกิดความต้องการเปลี่ยนแปลง 

                   ดังตัวอย่างในเรื่องการขออนุมัติจากเจ้านาย เป็นการเริ่มต้นแบบไม่เหมาะสมจึงไม่เกิดพฤติกรรมและความรู้สึกที่ต้องการเปลี่ยนแปลง  เนื่องจากมีพฤติกรรม  4  อย่าง   

                   - แรกคือ พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ หรือความมั่นใจในตนเองเกินไป  

                   - สองคือ การหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว  คอยปกป้องตนเอง  ไม่กล้าเผชิญกับความจริง 

                   - สามคือ ความโกรธ 

                   - สุดท้าย คือการมองโลกในแง่ร้าย 

    คำสั่งของผู้บริหารไ ม่สามารถกระตุ้นความรู้สึกกระตือรือร้น ของคนได้เพียงคำสั่งให้ทำ การได้เห็นและรับรู้ถึงข้อมูลที่แท้จริงก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมและเกิดการลงมือกระทำที่รวดเร็ว

                   ดังตัวอย่างเรื่องVDO ความไม่พอใจของลูกค้า  เป็นตัวอย่างของการเริ่มต้นที่ดี  สำหรับวิกฤตการณ์ไฟลนก้น(Crisis)และความกลัว  ความเร่งด่วนจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  การทำให้เขาเกิดความหวาดกลัวก็ดูเหมือนจะเป็นความคิดที่ดีบางสถานการณ์  สำหรับตัวอย่าง  ถุงมือบนโต๊ะประชุม การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากความรู้สึกที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหา เกิดความรู้สึกร่วม  ปราศจากการต่อต้านหรือโกรธ  สำหรบแกลเลอรี่รูปเหมือนของกลุ่มผู้บริหาร การนำรูปของบริษัทลูกค้าไปติดแทนที่รูปผู้บริหารเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยแต่ก็มีผลทำให้พนักงานเริ่มสนใจลูกค้าและความต้องการของลูกค้า  อันจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองขององค์กร

                   การกระทำที่เรียบง่าย และถูกต้องนั้นไม่ต้องอาศัยเงินทองอะไรมากมาย การจัดทำวีดีโอเทปหรือการย้ายรูปถ่ายบุคคลสำคัญหรือวิธีอื่นก็สามารถนำเอาไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นำต้องหาทางให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือแม้กระทั่งในระดับผู้จัดการไปเยี่ยมชมบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง  ผู้นำจะต้องจัดการประชุมประจำปีเพื่อจะหาทางหยุดพักผ่อนสมองระหว่างการทำงาน  ผู้นำทีมพาลูกค้าคนสำคัญมาร่วมประชุมพร้อมกับเสนอข้อมูลที่น่าสนใจให้กับผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากปฏิบัติได้ ความกระตือรือร้นก็จะมากขึ้นซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ดี  วิธีที่ได้ผลคือ

  • แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่เขาสามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้จริงๆ
  • แสดงหลักฐานจากลูกค้าที่บ่งบอกถึงความจำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
  • แสดงหาวิถีทางในการลดปริมาณความพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยวิธีที่ง่ายและไม่สิ้นเปลือง
  • อย่าประมาทหลงคิดไปว่าองค์กรของคุณนั้นดีอยู่แล้ว  ไม่มีความรู้สึกหวาดกลัว  ความพอใจ  หรือความไม่พอใจกับสภาวะที่เป็นอยู่มากมายอะไรนัก

       พี่สมศรี นวรัตน์ คิดว่า  “การเปลี่ยนแปลงสำเร็จได้ต้องใจรัก” (The Heart of Change) ====>> คงไม่ยากเกินไปนัก เพราะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership = Leader Change) คือ ผู้มีภาวะผู้นำทิศทาง/กำหนดทิศทางอยู่แล้ว(Dimension) การเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว และทั้งหมดทั้งมวนล้วนแล้วแต่อยู่ในทฤษฎี ท่าน ศ. ดร. จีระทั้ง ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม (CMC) + ทฤษฎี 4 L’s + ทฤษฎี 2 R’s + ทฤษฎี 5 E’s + ทฤษฎีเพิ่มมูลค่า Value Added (เริ่มที่ ==>Data ==> Information ==> Knowledge ==> Value Added ==> Wisdom)  ถ้าไม่เชื่อพี่เปิ้น(สมศรี)ก็อยากให้ทุก ๆท่านกลับไป Reviews  เอกสารของท่านอาจารย์Ph.d.ของพี่เปิ้น ท่านสอนไว้ได้ดีมาก ๆ

ด้วยความขอบคุณที่ให้เกียรติอ่านนะคะ

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel.081 - 9435033

 

 

หมายเลขบันทึก: 297011เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2009 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท