เครือข่ายกะหรอ(3)


เตรียมเนื้อหาล่วงหน้าอย่างรอบด้าน ร่วมหารือโดยตั้งคำถามเพื่อให้เกิดการคิด กระทำการที่เชื่อมโยงกับเป้าหมาย

วันที่28นี้จะมีการวางแผนพัฒนาเครือข่ายต.กะหรอ มีประเด็นสัจจะวันละ 1 บาทที่แกนนำไปเรียนรู้มาจากสงขลาเป็นหัวข้อหารือสำคัญ ผมมีความเห็นดังนี้ครับ
1)ทีมวิจัยควรชักชวนหน่วยงานสนับสนุนในพื้นที่คือพช.และ กศน.รวมทั้งอบต.เข้าร่วมหารือด้วย โครงการที่หน่วยจัดการความรู้ดำเนินการร่วมกับหน่วยสนับสนุนในพื้นที่ 3 ตำบลโดยงบสนับสนุนจากจังหวัดนั้น เราพบว่าทีมจนท.จากพช.และกศน.มีความตั้งใจ ทุ่มเทกับการทำงานและเป็นคุณอำนวยหลักในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งอบต.และหน่วยปกครองในพื้นที่ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี คุณวิจัยจะได้ความรู้ส่วนนี้ที่ว่าด้วยระบบสนับสนุนในพื้นที่เป็นอย่างไร?เพราะอะไร? ก็ด้วยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมกับหน่วยสนับสนุนและอบต. ผญบ.อย่างใกล้ชิด ประสบการณ์ที่หน่วยฯกำลังดำเนินการอยู่ใน 3 ตำบลข้างต้นพบว่า กลไกนี้ทำงานได้ดีอย่างน่าชื่นชม ซึ่งก็ต้องอาศัยการฝึกฝน เรียนรู้จากงานกันต่อไป แต่ทีมงานรู้ว่า ตัวเองไม่รู้และจะเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสามารถในเรื่องอะไรและเพื่ออะไร? ผมคิดว่าจนท.พช.และกศน.ที่กะหรอก็มุ่งมั่นทำงานเพื่อชุมชนเช่นกัน   แต่ยังจูนกันไม่ดีนัก ทีมวิจัยน่าจะคิดหาวิธีโดยการปฏิบัติเพื่อตอบคำถามข้อนี้นะครับ

2)ทีมวิจัยน่าจะคิดกระบวนการการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มสัจจะวันละ 1 บาทเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายว่าจะทำอย่างไรให้เกิดขึ้นทุกหมู่บ้าน อย่างน้อยหมู่บ้านละ 100 คน โดยเริ่มจากครอบครัวกรรมการและญาติพี่น้องก่อน คือใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนากองทุนหมู่บ้านด้วย บทบาทของทีมวิจัยหรือในฐานะคุณอำนวยก็คือ ความรู้และทักษะในการสนับสนุนการดำเนินงานของ  เครือข่าย(คุณกิจ) การเตรียมเนื้อหาล่วงหน้าอย่างรอบด้าน เข้าร่วมหารือเพื่อตั้งคำถามเพื่อให้เกิดการคิด กระทำการที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายของเครือข่ายอย่างเป็นขั้นตอน คือความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของคุณอำนวยครับ

หมายเลขบันทึก: 2954เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2005 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท