การควบคุมลูกน้ำยุงลาย


Ascogregarina culicis (Ross) คือ โปรโตซัวชนิดหนึ่งที่เป็นปรสิตของลูกน้ำยุง โปรโตซัวชนิดนี้ ถูกค้นพบครั้งแรกในยุงลาย Aedes (Stegomyia) sp. ที่ประเทศอินเดีย ต่อมามีรายงานการค้นพบในยุงลาย Ae. aegypti ที่บังคลาเทศ อเมริกาใต้ อาฟริกา ฟิลิปปินส์ และ อเมริกาเหนือ

ลูกน้ำยุงได้รับเชื้อนี้โดยการกิน oocyst ของโปรโตซัวเข้าไป จากนั้น oocyst ก็เจริญเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า trophozoite ซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่ภายในเซลล์ของระบบทางเดินอาหารของลูกน้ำจนกระทั่งกลายเป็น gamont (เชื้อที่เตรียมจะกลายเป็นเซลล์สืบพันธุ์หรือ gamete) หลังจากที่ลูกน้ำกลายเป็นตัวโม่ง gamont ก็จะเคลื่อนตัว จากกระเพาะอาหารของลูกน้ำไปอยู่ที่ malpighian tubules (อวัยวะช่วยในการขับถ่ายของเสีย ทำหน้าที่คล้ายไต) gamont เพศผู้และเพศเมียจะอยู่รวมกันเป็นคู่ๆ เพื่อสร้าง gametocyst ภายใน gametocyst แต่ละอันจะมี oocyst อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง oocyst นี้จะถูกขับถ่ายออกมาพร้อมกับอุจจาระของลูกน้ำหรือเมื่อลูกน้ำนั้นตาย

โดยเหตุที่ ascogregarine เป็นปรสิตอาศัยอยู่ภายในตัวของลูกน้ำ จึงมีผู้สนใจทำการศึกษาว่า โปรโตซัวนี้ มีผลต่อลูกน้ำอย่างไร ทั้งในด้านการก่อให้เกิดโรคและการมีชีวิตรอดของลูกน้ำ ซึ่งผลการศึกษาแตกต่างกันอย่างมาก เช่น McCray และคณะ (1970) รายงานว่า ลูกน้ำยุงลาย (Aedes aegypti) ที่ติดเชื้อ A. culicis มีชีวิตรอดเป็นปกติ เช่นเดียวกับที่ Jacques และ Beier (1982) รายงานว่าไม่พบการเปลี่ยนแปลงการมีชีวิตรอด ของลูกน้ำยุงลาย 10 ชนิดแม้ว่าจะติดเชื้อ A. lanyuensis ก็ตาม ในทางกลับกัน Barrett (1968) พบว่าลูกน้ำยุงลายที่ติดเชื้อ A. culicis มักจะตายหรือแคระแกร็น Walsh และ Olson (1976) รายงานว่าโปรโตซัวนี้ก่อให้เกิดอันตรายสูงกับลูกน้ำยุงลายหลายชนิด เช่น Ae. epactius, Ae. sollicitans, Ae. stimulans และ Ae. vexans แม้ว่าโปรโตซัวจะไม่มีผลกระทบต่อการมีชีวิตรอดของลูกน้ำยุงลาย Ae. aegypti ซึ่งเป็นโฮสต์ตามธรรมชาติของมันเลยก็ตาม Sulaiman (1987) พบว่า ลูกน้ำยุงลาย Ae. aegypti จะมีอัตราตายสูงถ้าติดเชื้อ A. armigerei ต่อมา Sulaiman (1992) ทำการเปรียบเทียบการก่อโรคของโปรโตซัว A. culicis สายพันธุ์ต่างๆ กับลูกน้ำยุงลาย Ae. aegypti จำนวน 3 สายพันธุ์ (
Penang, Porto Novo, และ refm ) เขาพบว่าโปรโตซัวสายพันธุ์ราชบุรีก่อให้เกิดโรคต่ำ ในขณะที่สายพันธุ์นครราชสีมา ลพบุรี และขอนแก่น มีคุณสมบัติก่อให้เกิดโรคกับลูกน้ำได้สูง ซึ่งนอกจากโปรโตซัวจะมีผลกระทบต่อการรอดชีวิตของลูกน้ำแล้ว ยังย่นระยะเวลาการเจริญเติบโตของลูกน้ำด้วย เขาจึงแนะนำว่าโปรโตซัว A. culicis บางสายพันธุ์ อาจนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการควบคุมยุงลายโดยชีววิธีได้

 

 

 

ยุงลาย" เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก เป็นศัตรูรายวันของคนทั้งที่อยู่ในเมืองและในชนบท การปราบยุงลายที่ง่ายที่สุด คือ การโจมตีในระยะที่เป็นลูกน้ำ วิธีกำจัดลูกน้ำวิธีหนึ่งก็คือ การใช้ปลากินลูกน้ำ (larvivorous fish) เช่น ปลาหางนกยูง ปลาแกมบูเซีย ปลาสอด ปลาหัวตะกั่ว ปลากัด และปลาอะไรก็ได้ที่กินลูกน้ำเป็นอาหาร ปลาหางนกยูงเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์เร็ว พันธุ์พื้นเมืองของไทยนั้น ลวดลายไม่ค่อยสวย แต่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีกว่าพันธุ์สวยงาม

 

ปลาหางนกยูงจะมีอายุอยู่ระหว่าง 2-5 ปี เมื่อปลาตัวเมียอายุได้ 3 เดือนก็สามารถผสมพันธุ์ได้และจะออกลูกเป็นตัวครั้งละ 2-120 ตัวทุกๆ 4 สัปดาห์ ตัวเมียมีถุงเก็บน้ำเชื้อของตัวผู้ซึ่งจะใช้ผสมกับไข่ได้นานถึง 4 เดือนโดยไม่ต้องผสมพันธุ์ครั้งที่สอง ลูกปลาที่ออกมาจากท้องแม่จะสามารถว่ายน้ำได้ทันทีและจะเริ่มกินอาหารได้ภายใน 1 ชั่วโมง ปลาหางนกยูงกินอาหารได้หลายชนิด เช่น ลูกน้ำยุง ตัวอ่อนแมลงต่างๆ หนอนแดง พืชน้ำ ตะไคร่น้ำ ฯลฯ รวมทั้งลูกของมันเองและลูกปลาอื่นๆด้วย ปลาหางนกยูงสามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำสะอาดและน้ำสกปรก ในธรรมชาติจะพบปลานี้ได้ทั่วไปตามลำห้วย ฝายน้ำล้น หนองน้ำ สระน้ำ อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น

จากคุณสมบัติที่ดีเด่นหลายประการนี่เอง ปลาหางนกยูงจึงเหมาะในการนำมาใช้ปราบลูกน้ำยุงลายให้หมดไปจากบ้าน โรงเรียน ชุมชน อาคาร สำนักงาน ฯลฯ สำหรับภาชนะขังน้ำที่ไม่สามารถปกปิดให้มิดชิดหรือไม่สามารถใช้วิธีการอื่นๆได้ ลองใส่ปลาหางนกยูง 2-10 ตัวต่อภาชนะ (แล้วแต่ว่าภาชนะนั้นมีขนาดเท่าใด) ก็จะปลอดลูกน้ำยุงลายนานตราบเท่าที่ปลานั้นยังมีชีวิตอยู่ การคุมกำเนิดปริมาณปลาหางนกยูงในภาชนะทำได้โดยการใส่เฉพาะปลาตัวผู้ เท่านี้ก็เรียบร้อยไร้กังวล หากทุกชุมชนร่วมใจกัน ทุก 7 วัน สำรวจเป็นนิตย์ ทุกอาทิตย์กำจัดลูกน้ำ ทำกันตลอดทั้งปี ก็จะไม่มีไข้เลือดออก

 

แบคทีเรีย Bti และBs จะมีโปรตีนที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ไม่ละลายน้ำ พอลูกน้ำยุงกินเข้าไป ภายในกระเพาะลูกน้ำยุงที่มีความแปลกกว่ากระเพาะแมลงอื่นๆก็คือจะมีความเป็นด่าง มีค่า pH ประมาณ 10 ทำให้ก้อนโปรตีนสามารถละลายน้ำได้ ละลายออกมาเป็นโมเลกุลเดี่ยวๆ ซึ่งในกระเพาะยุงจะมีเอมไซม์เพื่อย่อยสารต่างๆให้เป็นอาหารของมัน การย่อยจะมีข้อดีอย่างหนึ่งก็คือ ถ้ายังไม่ถูกย่อย โปรตีนจะไม่สามารถยังทำงานได้
       
        ที่บริเวณกระเพาะลูกน้ำยุงจะมีเยื่อบุกระเพาะ ซึ่งโปรตีนที่ถูกย่อยแล้วจะเกิดการจับกันอย่างจำเพาะ ที่เรียกว่า “specific binding” มันจะไม่กันจับมั่ว คล้ายมีเครื่องหมายเฉพาะที่ให้จับกันโดยตรง หลังจากนั้นจะมีการใช้ส่วนของโปรตีนบางส่วนแทงทะลุเข้าไปในเยื่อหุ้มเซลล์ แล้วจะทำให้เกิดรูรั่ว พอเกิดรูรั่วสารต่างๆที่อยู่ภายในเซลล์ก็จะมีการไหลออกมา เซลล์ยุงจึงทำงานได้ไม่ปกติ จนเซลล์ตาย พอเซลล์ตายก็จะทำให้กระเพาะลูกน้ำยุงเป็นแผล พอแผลกว้างขึ้นเรื่อยๆ ยุงจะไม่กินอาหารจะตายในที่สุด แต่ทั้งนี้จะต้องมีการใช้เวลานานเป็นวันกว่าจะเห็นผล ต่างกับพวกสารเคมีที่ตรงเวลาฉีดก็จะตายภายในไม่กี่นาที

 

 

 

 นางสาวปิยะนาฎ สายทอง 45312048  ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2947เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2005 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมมีบ้านที่เขื่อนแควน้อย อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ตัวเขื่อนเพิ่งจะเริ่มกักเก็บน้ำได้ประมาณสามเดือน ที่นี่ ในตอนนี้มีปัญหาเรื่องยุงเป็นอย่างมาก ถ้าออกไปนอกตัวบ้านในตอนกลางคืนตั้งแต่หัวค่ำไปจนถึงเช้าตรู่ จะได้ยินเสียงยุงบินเหมือนผึ้งเลย เยอะมากๆ อยากขอความอนุเคราะห์แบ่งปันวิธีแก้ไขให้กับชาวบ้านที่นี่ด้วยครับ ตอนนี้ผมเริ่มรับบริจาคปลาหางนกยูงแล้ว คาดว่าน่าจะได้รับบริจาคบ้างแต่คงจะไม่พอกับพื้นที่ทั้งหมดที่ถูกน้ำท่วม(ประมาณสามหมื่นไร่) แต่ก็ได้บอกชาวบ้านไปบ้างแล้วว่า ถ้าปริมาณปลาในเขื่อนเพิ่มมากขึ้น ลูกน้ำยุงคงจะหายไปเอง แต่ก็ไม่ทราบว่ามีปลาอะไรบ้างที่กินลูกน้ำยุงจะได้จัดหามาปล่อย

ความรู้ที่มีในตอนนี้

1.ปลาหางนกยูง

2.แมลงปอ แต่ไม่ทราบวิธีการขยายพันธ์

3.จุลินทรีย์ bti,bs (คงไม่มีกำลังในการจัดหา)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท