ประชุมเครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา


วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ได้เข้าร่วมประชุมเครือข่ายกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวัน 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน จังหวัดสงขลา ณ มูลนิธิ ดร.ครูชบ-ปราณี ยอดแก้ว ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 66 คน (โดยประมาณ)

การประชุมเริ่มเมื่อเวลา 10.00 น. โดยแบ่งประเด็นการประชุมมี 5 วาระด้วยกัน คือ

วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ

วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 4/2549

วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ

วาระที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

วาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ

เมื่อกล่าวทักทายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดร.ครูชบ ยอดแก้ว ได้แจ้งให้คณะกรรมทุกคนว่าวันนี้ได้มีทีมวิชาการจากมหาวิทยาลัยวลัยได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย คือคุณภีม ภคเมธาวี และคณะ จากนั้นก็ได้เชิญให้ คุณภีม กล่าวแนะนำตนเองและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการมาในวันนี้

คุณภีม ได้ชี้แจงให้ท่านกรรมการเครือข่ายฯ ทุกคนทราบว่าการที่มาในวันนี้มีจุดประสงค์ก็เพื่อ 1) ต้องการมาร่วมเรียนรู้ 2) ปรึกษาทีมวิจัยจังหวัดสงขลาเรื่องการจัดประชุมระหว่างวันที่ 30 มิ.ย.-2 ก.ค.49 และ 3) การขับเคลื่อนงานในการเดินหน้าต่อไป เมื่อแนะนำตัวเองบอกที่มาที่ไปเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพก็เริ่มการประชุมตามแผนที่วางกันไว้

ท่านประธาน ก็ได้แจ้งให้คณะกรรมการทุกคนทราบว่า ตอนนี้มีสมาชิกใหม่ คือ ตำบลน้ำน้อย รับสมัครสมาชิกครั้งแรกได้ 600 คน และจะนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 และอีกตำบลก็คือ ตำบลกระดังงา และตำบลต่อไปที่จะขยายคือ ตำบลควนขนุน ในวันนี้ได้มีสมาชิกสนใจเข้าร่วม 1 คน จากสะทิงพระ (คุณวาสนา) และท่านประธานได้ซักถามคณะกรรมการว่ามีใครจะแจ้งเรื่องอะไรก็ ได้มีคณะกรรม 1 ท่าน ยกมือบอกว่ามีเรื่องจะแจ้งให้ที่ประชุมทราบ คือ

คุณลลิตา บุญช่วย ได้แจ้งให้ทราบว่าตอนนี้สัจจะวันละ 1 บาท ได้ระบาดไปทั่วแล้ววันก่อนได้ขึ้นไปประชุม “สมัชชาสตรีเกษตรกร” ในที่ประชุมมีมติให้ประธานแต่ละกลุ่มเสนอแนวคิดว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่และข้างหน้าจะทำอะไรต่อไป และตัวแทนของสงขลาก็เสนอเรื่องสัจจะวันละ 1 บาท และผู้เข้าร่วมประชุมจากที่อื่น ๆ เขาสนใจและได้ถามว่าวิธีการทำสัจจะวันละ 1 บาท ทำอย่างไรอยากทราบวิธีการทำ ทำไมถึงมีสมาชิกมาถึงขนาดนี้ และได้มีการจัดตั้งกลุ่มสัจจะวันละ 1 บาท ในกลุ่มตรงนั้นขึ้นมาเลย และตนเองก็ภูมิใจที่ตนเองสามารถที่ไปถ่ายทอดให้เพื่อนฟังได้และสามารถจัดตั้งกลุ่มและเห็นความสำคัญของเราและได้เกิดกลุ่มขึ้นมา

ครูชบ ก็ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าตอนนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มาเปิดศูนย์สวัสดิการภาคประชาชน ที่ อ.สะบ้าย้อย อยากให้คณะกรรมการไปเป็นสมองให้กับศูนย์สวัสดิการฯ ด้วย แต่ศูนย์ฯ จะรับเฉพาะผู้สูงอายุก่อน จากนั้นก็มอบหมายหน้าที่ให้ท่านประธานดำเนินการในเวทีต่อไป

ท่านประธาน (นายเรืองวิทย์ ศรีสุวรรณ) ประธานกลุ่มสัจจะวันละ 1 บาท ฯ ตำบลสิงห์โค อ.สิงหนคร ตอนนี้มีน้องใหม่เกิดขึ้นแล้ว คือเทศบาลสิงหนคร และเราได้ขยายไปสู่ตำบลใกล้เคียงตอนนี้ก็ได้ เทศบาลสิงหนคร และ ต.ม่วงงาม และตำบลที่จะขยายต่อไปคือ ต.ควนขนุน เรากำลังคลุกคลีอยู่กับ อนามัย ชมรมผู้สุงอายุ อสม. เป็นแกนนำอยู่เหมือนกัน วันนี้ก็ต้องขออภัยด้วยที่มาสาย เนื่องจากที่ทำงานได้มีการประเมินและพอเขามาตนเองก็ได้มาที่ตรงนี้ มาถึงก็ช้ากับแพ แต่อย่าถือว่าเป็นข้ออ้างมันไม่ใช่ เพราะตนเองตั้งใจที่จะมาทำงานตรงนี้ และเขาได้เชิญไปศึกษาดูงาน จ.บุรีรัมย์ จ.นครราชสี จำนวน 7 วัน ตนเองปฏิเสธ แต่ได้ส่งรองประธานไป ที่มาในวันนี้ไม่ใช่เป็นหน้าที่แต่เป็นจิตสำนึกของเราทุกคนที่มา ถ้าเป็นหน้าที่เราอาจจะเลี่ยงได้ เหมือนหน้าที่พลเมืองของเราที่จะต้องไปเลือกตั้งเราก็อาจจะเลี่ยงได้ แต่นี้เป็นจิตสำนึก เพราะว่า ครูชบ บอกไว้แล้ว จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนาการต้องเตรียมประชาชน จะพัฒนาคนจะต้องพัฒนาตัวเอง เพราะถ้าเราไม่พัฒนาตัวเราเอง สังคมก็เป็นไปไม่ได้ที่จะมีคุณธรรม มีปรัชญาของครูชบบอกไว้ก็คือ ใช้ทุนซึ่งมีอยู่ 7 ทุน คือ ทุนเงินตราใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ให้มีคุณภาพ คนมีคุณภาพก็คือ คนที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม เหมือนที่นักการเมืองเขาเรียกหาคุณธรรม จริยธรรม เพราะพัฒนาด้านเศรษฐกิจทุกอย่าง ถ้าเราไม่พัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม ทุกอย่างก็อาจจะจบ อาจมีปัญหา แต่สัจจะวันละ 1 บาท ที่ครูชบบอกว่าต้องใช้เงินตราวันละ 1 บาท เพื่อเป็นแนวทางและเป็นตัวที่ทำให้เกิดการพัฒนาคน คนที่อยู่ในสังคมแล้วทำสังคมดี เมื่อสังคมดีคนก็มีความสุข นี่แหละคือเป้าหมาย ผมจำตรงนี้ได้และก็เอาตรงนี้ไปขยายให้แกนนำ ปัจจุบันใช้เงินเป็นเครื่องมือมากไม่ว่าออมทรัพย์หรือว่าของหลวง และกองทุนหมู่บ้านมีปัญหามาก ๆ เพราะเขาไม่ใช้เงินตราเป็นเครื่องมือเหมือนสัจจะวันละ 1 บาท และดูเหมือนเงิน 1 บาท มีค่าน้อย ให้เด็ก เด็กก็ไม่เอา แต่ว่า ครูชบ สามารถทำให้เงินที่มีค่าน้อยมีคุณค่าขึ้นมาได้ สร้างสังคมให้ดีขึ้นมาได้ นั่นคือเป้าหมาย

ครูชบ กล่าวถึงความคิดเรื่องวันละ 1 บาท ราชการไม่ต้องทำ ราชการมีหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก ให้ความรู้ และสนับสนุนให้ประชาชนทำกันเอง และจะเกิดผลเร็วและยั่งยืน ผมจะยกตัวอย่างของเกษตร และของพัฒนากร เขาก็ไม่ได้ทำแต่เขาสามารถที่จะสนับสนุนให้เกิดทั้ง 4 ตำบลได้ และตอนนี้เรื่องสัจจะวันละ 1 บาท ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาก็ได้นำไปพูดทั้งเมือง ผมอยากให้ทางพัฒนาการดูแลทั้งอำเภอ และพัฒนากรดูแลที่ตำบล และขอเชิญพัฒนาการ อ.กระแสสินธุ์ มาเล่าให้ฟังหน่อยว่ามีความคิดเห็นอย่างไร

คุณสุรศักดิ์ (พัฒนาการ อ.กระแสสินธุ์) ได้บอกที่มาที่ไปว่าตนเองเป็นคนจังหวัดปัตตานี และมาปฏิบัติหน้าที่ที่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา วันที่ 17 พ.ค. 49 นี้จะครบ 2 ปี และมีความคิดเหมือนกันว่าตนเองมาทำที่สงขลา แต่ที่บ้านตัวเองไม่ได้ทำ แต่ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ทำที่บ้านของเราแต่ก็ถือเป็นหน้าที่ เราก็ต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ในส่วนของเรื่องสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท หลังจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาได้รับเรื่องนี้เข้าเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัด ได้ผลักดันไปอยู่ในยุทธศาสตร์ของจังหวัดด้วยแล้ว ทางด้านมูลนิธิฯ ก็ได้มีการจัดทำหนังสือไปถึงอำเภอทุกอำเภอให้ถือเป็นนโยบายที่จะลงไปช่วยสนับสนุนให้ภาคประชาชน ให้มีการจัดตั้งสัจจะวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการ ในส่วนของตนเองทางจังหวัด คือ ทางสำนักพัฒนาจังหวัดก็ได้เป็นเลขาอยู่ในขณะนี้ ท่านนายอำเภอก็ได้มอบให้พัฒนาการอำเภอเป็นคนขับเคลื่อนในเรื่องนี้ และตนเองก่อนจะมาทำตรงนี้ก็ได้ทำงานภาคประชาชนมาแล้ว ส่วนของพัฒนาชุมชนนี้เราก็มีแนวคิดที่จะเข้าไปช่วยส่งเสริมสนับสนุน ทำอย่างไรให้องค์กรภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง สามารถรู้ปัญหาของตนเอง หาแนวทางแก้ไข และมาแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง ตรงนี้เราก็ได้ประสานกับแต่ละตำบลว่าเราจะประสานงานกับใครเพื่อที่หาแกนนำในการขับเคลื่อนตรงนี้ ตนเองก็ได้ประสานทั้ง 4 ตำบลในการหาแกนนำ และให้แกนนำในแต่ละตำบลได้นัดพี่น้องประชาชนที่สนใจในตรงนี้ ในส่วนของตนเองก็ประสานกับครูชบ ตอนนี้ใน 4 ตำบลของกระแสสินธุ์ เราได้นัดคนไว้ และก็ส่งแผนมาให้ ครูชบ และก็ให้ ครูชบ ไปขายความคิด ไปนำตรงนี้ให้พี่น้องประชาชนทราบ หลังจากนั้นแต่ละตำบลก็ได้มีการรับสมัครสมาชิก ก็ได้ทยอยตั้งมาเรื่อย ๆ ตอนนี้ท่านนายอำเภอเพิ่งย้ายมาใหม่ ท่านก็รับนโยบายนี้ของท่านผู้ว่ามาขับเคลื่อนต่อ ว่าจะทำอย่างไรให้พี่น้องใน อ.กระแสสินธุ์ เป็นสมาชิกครบทุกครัวเรือน ส่วนของ อ.กระแสสินธุ์ ตอนนี้เรามีครัวเรือนอยู่ 4,164 ครัวเรือน สมาชิกตอนนี้ 1,800-1,900 เกือบ ๆ 2,000 คน ส่วนในทางของตนเองก็จะนัดแกนนำของแต่ละตำบลมาพูดคุย ทำความเข้าใจและพบปะกับท่านนายอำเภอและวางแผนร่วมกันว่าเราจะทำอย่างไรทุกครัวเรือนได้เป็นสมาชิกในตรงนี้ หลักเกณฑ์ของเราก็คือ จะรับสมาชิก ทุก 6 เดือน และตอนนี้ทาง อ.กระแสสินธุ์ ก็ได้วางเป้าหมายไว้แล้วว่าจะให้มีการสมัครเป็นสมาชิกทุกครัวเรือน ภายในปี 2549 ตอนนี้ก็เหลือเวลาอีก 5-6 เดือน แต่ว่าเราก็ไม่สามารถที่จะรับไปได้เรื่อย ๆ ทุกเดือน แต่เราใช้วิธีการว่าให้แกนนำของแต่ละตำบลไปประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ และก็ให้มาลงชื่อไว้ก่อนในแต่ละเดือนและจะต้องมีการรายงานการประชุม เมื่อครบ 6 เดือน ก็จะได้สมัครเป็นสมาชิก เรื่องนี้เราจะต้องอาศัยผู้นำที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และจะให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้ขับเคลื่อนในตรงนี้ด้วย ในฐานะที่เป็นมือเป็นขาของราชการ ก็เป็นตัวแทนของพี่น้องภาคประชาชน ในส่วนของอำเภอกระแสสินธุ์ ไม่เกินเดือนธันวาคม 2549 จะสามารถรับสมัครสมาชิกได้ทุกครัวเรือน 100 % ก็มีเรื่องพูดคุยแค่นี้

อ.ควนเนียง ก็ครบแล้ว ต.หลังสุดคือ ต.ห้วยลึก ตอนนี้ของจังหวัดสงขลา ที่ขยายกลุ่มสัจจะฯ ครบทุกตำบลมี 2 อำเภอ คือ อ.กระแสสินธุ์ และ อ.ควนเนียง และท่านผู้ว่าฯ ก็พูดว่าจะทำอย่างไรให้จังหวัดสงขลาสามารถที่จะขยายให้ได้ครบทุกตำบลและทุกอำเภอในจังหวัดสงขลา และอีกตำบลหนึ่งที่สนใจก็มาจาก ชุมพล เป็นนักวิชาการ ขอเชิญแนะนำตัว

ตัวแทนจาก ต.ชุมพล ก็ทำงานเกี่ยวกับสังคมทั้งหลาย วันนี้ดีใจที่ได้เข้าร่วมประชุมสัจจะวันละ 1 บาท ว่าเป็นอย่างไร ทำอย่างไรถึงจะก้าวไปสู่ดวงดาวได้ ก็อยากให้ ชุมพล เป็นอีกตำบลหนึ่งที่มีสมาชิกครบทุกหมู่บ้าน ยังไงก็ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะขอบคุณมากคะ

ท่านประธาน เห็นแล้วว่าสัจจะวัน 1 บาท ที่เกิดมา 1 ปีกว่า ก็มีหลากหลาย เช่น พัฒนาการ นักวิชาการ ตำรวจ ทหาร ประชาชน หลายระดับมีหมด ทุกคนที่เข้าร่วมเป็นผู้นำทั้งหมด เพราะว่าการจัดตั้ง ผู้ที่เข้ามาเป็นกรรมการหรือเป็นผู้นำตรงนี้ต้องผ่านประสบการณ์พอสมควร และต้องมีจิตสาธารณะจริง ๆ ซึ่งจะทำตรงนี้ได้ เพราะว่าบางครั้งในปัจจุบันมีภาระงานและเศรษฐกิจรัดตัว เพราะฉะนั้นถ้าทำแล้วก็ต้องทำให้จบ คือไม่ใช่ทำแค่เดือนเดียวจบ มันไม่ใช่ ถ้าทำแล้วจะรู้ว่าทุกอย่างมันจะไปของมันอยู่เรื่อย และมีการเพิ่มสมาชิกทุก 6 เดือน กรรมการเพิ่ม และเงินก็เพิ่ม เพราะฉะนั้นคนตายคนเจ็บก็ต้องเพิ่ม เราก็ต้องมาช่วยกันในตรงจุดนี้

ลุงเคล้า ตอนนี้จังหวัดสงขลามีสมาชิกสัจจะฯจำนวน 43,866 คน ซึ่งมีประชาชนทั้งหมด 1,300,000 คน ยังห่างมาก มานอนคิด ต้นกำเนิดของออมทรัพย์ เกิดขึ้นเมื่อปี 2517 ตนเองทำงานมาเป็นเวลา 27 ปี 4 เดือน 1 วัน โครงการ ศตจ.ปชช. แก้ปัญหาความยากจนจะแก้อย่างไรเพราะคนยากจนทั้งนั้น และครูชบได้พูดเสมอว่าพัฒนาคน และเอาเงินเป็นสื่อในการพัฒนา เราถ้าไม่มีเงินทำยาก คนจนที่ไม่มีอะไรมักจะกินเหล้าที่แพง เช่น รีเจนซี่ แต่คนที่รวยจริง ๆ กินเหล้าเถื่อน ถ้าจะพูดถึงเรื่องพระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง ค้นคิดหาสูตรพึ่งตนเอง คือทำสัจจะวันละ 1 บาท ยังทำไม่ได้ ตนเองได้ตั้งเมื่อปี 2516 ปี ฝากเดือนละ 100 บาท ปี 2523 ฝากเดือนละ 300 บาท จนถึงปัจจุบันฝากเดือนละ 1,000 บาท แต่ได้ตั้งกติกาว่าดอกเบี้ยจะไม่จ่าย ปรากฏว่าตอนนี้เงินของเขามีอยู่เป็น 1 ล้านบาท คิดสูตรแก้ปัญหาความยากจนก็คือตนเองจะต้องมีเงินล้าน ก็ตั้งไว้ว่า 30 ปี จะต้องมีเงินล้าน ก็ต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก จะมีเงินในบัญชี 1,176,600 บาท ฝากเดือนละ 1,000 บาท เงินต้น 360,000 บาท ที่เหลือเป็นดอกเบี้ย คนเราถ้าทำงานเสียสละตลอดจนเช้าถึงเย็น “ตาย” ตอนนี้อาจารย์ท่านตั้งสวัสดิการขึ้นมา คำว่า สวัสดิการคือการให้และการรับ เพราะฉะนั้นคนเราถ้าทำงานก็ต้องมีสวัสดิการ ทีมงานพัฒนาช่วยคิดว่าจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีเงินล้าน ถ้าคนทำงานแล้วไม่มีความหวังไม่รู้จะทำไปทำไม เหมือนคนแต่งงานแล้วไม่มีลูกแล้วจะอยู่ทำไม ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำเงินเท่านั้นที่เป็นสื่อในการพัฒนาคน ถ้าไม่มีเงินพัฒนาไม่ขึ้น เหมือนหน่วยงานราชการก็เหมือนกันถ้าไม่มีเงินเดือนให้ก็คงจะไม่มีใครทำ ตนเองทำงานด้านนี้มาเป็นเวลา 27 ปีแล้ว เมื่อก่อนหาคนช่วยทำยากมากเนื่องจากไม่มีสวัสดิการ แต่เดี่ยวนี้เมื่อมีสวัสดิการทุกคนก็อยากเข้ามาทำ ก็ขอฝากไว้นิดหนึ่งคือ “ทำแล้วต้องมีสวัสดิการ”

คุณอุดม ประธาน กลุ่มสัจจะวันละ 1 บาท ต.ทุ่งหวัด ก็มีเรื่องที่จะแจ้งให้ทราบดังนี้

  1. ความเคลื่อนไหวของกลุ่มสัจจะวันละ 1 บาท ตำบลทุ่งหวัง ได้รับสมาชิกมาแล้วจำนวน 3 รุ่น กำลังจะรับรุ่นที่ 4 ในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ตอนนี้มีสมาชิกจำนวน 2,758 คน จัดสวัสดิการไปแล้วพอสมควร และเมื่อเดือนที่แล้วมีสมาชิกเสียชีวิตไป 3 ราย มีสมาชิกรุ่นแรก 1 ราย และรุ่นที่ 2 จำนวน 2 ราย สมาชิกรุ่นแรกเป็นสมาชิกเกิน 1 ปี ก็ได้รับสวัสดิการไป 5,000 บาท และเงินสบทบจาก พอช. อีก 500 บาท และสมาชิกรุ่นที่ 2 ก็ได้รับ 2,500 บาท ของทุ่งหวังแปลกอยู่ก็คือที่ได้รับสมทบจาก พอช. ต้องเป็นสมาชิก 1 ปี ขึ้นไป และถ้าคนที่เป็นสมาชิก 6 เดือน เสียชีวิตลงก็จะไม่ได้รับเงินสมทบจาก พอช. แต่ได้รับเฉพาะของตำบลเท่านั้น ของทุ่งหวังได้รับสวัสดิการไปแล้ว 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 กับ รุ่นที่ 2 ส่วนรุ่นที่ 3 ยังไม่ครบ 6 เดือน ต้องรอให้ครบ 6 เดือนก่อนถึงจะได้รับสวัสดิการ เป้าหมายที่ตั้งไว้ว่ารุ่นที่ 4 นี้จะต้องรับสมาชิกให้ได้ประมาณ 50% ของประชากรทั้งตำบล และประชากรทั้งหมด 11,000 คน ถ้าดูแล้วยังมีระยะทางอีกยาวไกลกว่าจะถึงเป้า แต่ถ้าเรามีเป้าแล้วเราจะเดินได้เต็มที่ และก็ได้วางแผนกันแล้วว่าจะประชาสัมพันธ์ทั้งตำบลให้รับทราบเพื่อจะได้เข้ามาร่วม 50% ของประชากร ขณะนี้มีเงินฝากจากสมาชิกจำนวน 8 แสนกว่าบาท ก็ว่าเป็นเงินที่ไม่คาดคิดเหมือนกันว่าจะได้ถึงขนาดนี้ ถือว่าเป็นตำบลนำร่องของอำเภอเมือง
  2. เรื่องเสื้อ กำหนดจะเสร็จวันที่ 20 เมษายน 49 และตนเองก็ได้ประสานให้กรรมการเตรียมเงินมาด้วยในวันนี้ แต่ก็มีปัญหาอุปสรรคและอุปสรรคก็ให้ผู้จัดการของร้านเสื้อมาชี้แจง และนำตัวอย่างเสื้อมาด้วย คงจะถึงประมาณช่วงบ่ายหรือช่วงเที่ยง

จากนั้นก็ได้มีคณะกรรมการมีข้อคำถามเกี่ยวกับเงินสมทบจาก พอช. ว่าถ้าเป็นสมาชิกครบ 2 ปี จะมีเงินเพิ่มอีกหรือไม่ ก็ได้รับคำตอบว่าเป็นโครงการระยะเวลา 1 ปี ถ้าจ่ายไม่หมดก็ไม่เป็นไร ก็มีแผนการใช้จ่ายอยู่แล้ว ส่วนเงินก็คงจะไม่ได้เพิ่มขึ้น

ตัวแทนจาก ต.เขาพระ วันนี้ก็มาร่วมแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับการทำสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท ต.เขาพระ หลังจากที่เราทำเรื่องสวัสดิการผู้นำ ตอนนี้ตำบลเขาพระก็มีคนเสียชีวิตแล้วจำนวน 2 ราย รายที่ 1 ก็เป็นสมาชิกสัจจะฯ อีกรายก็เป็นสมาชิกสวัสดิการผู้นำ รวม 2 รายนี้จ่ายสวัสดิการไปแล้วจำนวน 12,500 บาท เพราะว่าใครที่เป็นสวัสดิการผู้นำจะได้เงินเพิ่มอีก 5,000 บาท ตอนนี้คนที่เป็นผู้นำจะได้ 3 ต่อ 1) รับสวัสดิการตามเกณฑ์ 2) งบจาก พอช. และ 3) สวัสดิการผู้นำอีก 5,000 บาท ตั้งข้อสังเกตจากที่ทำงานมาจะครบ 2 ปี แล้ว รุ่นที่ 4 เป็นรุ่นสุดท้ายของตำบลเขาพระ เรื่องให้เปล่าเรื่องการให้บริการ ไม่มีปัญหา แต่สิ่งที่ทำไปแล้วพบปัญหาคือ ยืมเพื่อลงทุนทำวิสาหกิจชุมชน หรือประกอบอาชีพ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจะเป็นปัญหา นี้ก็เป็นการตั้งข้อสังเกตเอาเพื่อจะได้รับปัญหาแต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ชาวบ้านเมื่อเขาบอกว่ายืมได้ ก็จะยืมกันหมดทุกคน วันละ 1 บาท มีช่องว่างตรงยืมเหมือนกันไม่ใช่กู้ ยืมไปประกอบอาชีพ เช่น บ้านไหนมี 7 คน ก็จะลงยืมทั้ง 7 คน แต่มันมีช่องว่างเรายังไม่ได้อุด แต่เขาพระอุดแล้ว

ตัวแทนจาก กระแสสินธุ์ (คุณนิรันดร์ อุตตะมัง) ขออภัยเมื่อเดือนที่แล้ว ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม เล่าสู่กันฟัง ต.กระแสสินธุ์ ประชากร 2,500 คน ตอนนี้รับสมัครสมาชิกมาแล้ว 900 คน ตั้งไว้ 4 รุ่น คงจะเกิน 50% ในส่วนของ น้องไข่ นวลแก้ว ในส่วนของ 30% ก็มีปัญหาเหมือนกัน ตอนนี้ในส่วน 30% มีอยู่ 7-8 หมื่นบาท ตอนนี้ในตำบลกระแสสินธุ์ มียอดเงินรวมยังไม่หักค่าใช้จ่าย 220,000 กว่าบาท จ่ายสวัสดิการไปแล้ว 5 หมื่นกว่าบาท ภาพรวมของอำเภอมีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 1,800 กว่าคน คาดว่าไม่เกิน 4 รุ่น พวกที่ยังไม่สมัครจะเข้ามาก แต่เป้าหมายของอำเภอยังอยู่ห่างไกล ถือว่าเป็นการเล่าสู่กันฟัง

ก็เป็นการแจ้งให้ทราบว่าแต่ละตำบลขยายไปถึงไหนแล้ว ก็ถือเป็นว่าระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบทุกคนก็ทราบกันหมดทุกคน

หมายเลขบันทึก: 29497เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2006 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท