วิเคราะห์โครงสร้างของระบบกองทุนหมู่บ้าน


ก็เป็ซะอย่างเนี้ย

จากการที่คราวนี้เดินทางไปสระแก้วไม่ต้องทำหน้าที่คนขับรถเลยมีโอกาสได้นั่งคิดวิเคราะห์คิดแบบไปเรื่อยๆ ไม่เค้นมากนัก การคิดที่เกิดขึ้นเป็นแบบ แว๊บขึ้นมาเรื่องเกี่ยวกับกองทุนว่าเพราะอะไร ทำไม แล้วก็อย่างไร
มีกองทุนแล้วยังไง(อย่างไร)
๑.เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านก็ดี กองทุนหมู่บ้านก็ดีเกิดขึ้นมาจากนโยบายของรัฐ
๒. กรอบคิด และแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการมาจากส่วนกลางซึ่งมีเพียง ๑ แบบเท่านั้น (มาตามนโยบายของรัฐ)ในระยะเริ่มแรก
๓. วัตถุประสงค์ทั้ง ๔ ข้อที่มีอยู่ติดตัวทุกกองทุนก็เป็นเรื่องราวที่ส่วนกลางเขียนขึ้นมาอีกเช่นเคย
๔. หน่วยงานพี่เลี้ยงหรือหน่วยสนับสนุนก็ยังเป็นของรัฐ
แล้วทั้ง ๔ อย่างมาจากที่เดียวกันแล้วยังไงต่อ (ถามตัวเอง)
กองทุนเกิดอะไรต่อ
๑.เครือข่ายและกองทุนมีชาวบ้านเป็นผู้บริหาร
๒. กรอบคิดชาวบ้านก็ยึดติดแต่ละหมู่บ้านมีกฎระเบียบก็ใช้กรอบของส่วนกลางที่คิดให้เป็นต้นแบบ(ต้องเป็นผู้ตามที่ดี)
๓. คณะกรรมการจะยึดกรอบของวัตถุประสงค์ ๔ ข้อ แต่ก็จะเป็นใน ๓ข้อแรกมากกว่า(แต่เนื่องจากถูกบังคับด้วยระเบียบวิธีปฏิบัติเรื่องการปันผลจึงทำให้เกิดในส่วนของสวัสดิการ)

๔.เมื่อก่อตั้งได้แล้วคณะพี่เลี้ยงก็จะค่อยๆถอยห่างออกไปเรื่อยๆเป็นผู้ทำหน้าที่ดูบางครั้งก็จะแลบ้างหากมีกลไกบางอย่างมาบังคับหรือมีปัจจัยที่เป็นตัวเงินเข้ามาก็จะช่วยบริหารจัดการ(บางที่)
ช่วงที่มีงานวิจัยที่ใช้การจัดการความรู้เข้าไปแล้วอย่างไร
๑.     เครือข่ายและกองทุนแต่ละแห่งก็ยังมีชาวบ้านเป็นผู้บริหาร(แต่ชาวบ้านที่มาบริหารก็จะเป็นคนกลุ่มเดียวกับที่ทำนู่น ทำนี่และทำนั่นวันหนึ่งไม่ต้องทำมาหากินมากนักนอกจากไปประชุมกับหน่วยงานรัฐ)รวมทั้งมีทีมงานเข้าไปยุ่มย่ามเพิ่มขึ้น งานก็เหมือนจะเพิ่มขึ้นแต่ไม่ใช่เพราะเราจะเข้าไปในส่วนที่เกี่ยวข้องต้องทำในเวลาปกติอยู่แล้ว

๒.   กรอบแนวคิดที่ชาวบ้านยังเหมือนเดิม(โดยส่วนหลักๆ)แต่การบางส่วนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่ผ่านมา ทำให้มีการปรับตัว(เมื่อมีปัญหาก็ต้องหาทางแก้ไขโดยใช้แนวคิดแบบธรรมดากลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เนื่องจากรู้ว่าตัวเองมีปัญหา)เริ่มใส่เรื่องราวของคุณค่าในตัวเองของคณะกรรมการว่าทำไปเพื่ออะไรคิดหาเป้าหมายของตัวเองไปเรื่อยๆไม่บีบบังคับเพราะหากไปบังคับโดยใส่ความคิดนักวิจัยว่าทำไมไม่ทำนู่น ทำไมไม่ทำนี่จะได้เหมือนคนนู้น เหมือนคนนี้แม้ว่าจะมาจากความตั้งใจดีของนักวิจัยแต่อาจจะทำให้เกิดปัญหาระยะยาวของกองทุนหรือเครือข่ายในอนาคตก็ได้(เปรียบกับเราถ้าทำเพราะถูกบังคับกับทำเพราะอยากทำจะทำด้วยความรู้สึกแบบไหนได้ดีกว่ากัน)

๓.    คณะกรรมการพยายามและอยากที่จะทำให้ตัวเองเป็นแบบนู้นแบบนี้ตามแต่ว่าจะได้รับแนวคิดแบบใดอาจจะมาจากคนใน(คณะกรรมการกองทุน)หรือคนนอก(เมื่อศึกษามาจากกองทุนอื่น) ในระยะแรกของโครงการวิจัยเริ่มมีการใส่ความรู้ส่วนมากมาจากภายนอกเข้าไปแต่เมื่อทำไปทำมาทำให้รู้ว่าความรู้ภายในมีมากกว่าการให้ความรู้มาจากภายนอกเป็นเพียงการเสริมพลัง
๔.    พี่เลี้ยงก็จะเอาตัวไม่รอดอยู่แล้วงานที่เข้ามาก็ตามแต่เบื้องบนของเบื้องบนจะสั่งมาอีกทีแล้วจะมาช่วยได้อย่างไร หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบก็เป็นแบบกลายๆเหยียบครึ่งเท้า อีกครึ่งเท้าต้องเหยียบงานอื่นอีกมากมาย

หมายเลขบันทึก: 29490เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2006 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2018 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดีครับ ถามตอบดังๆอย่างนี้ จะได้รับรู้ด้วยคนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท