เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน..พร้อมเรื่องขำขำของการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อน ๆ ลองอ่านดูครับ


การนำเข้าสู่บทเรียน

เรื่องขำขำ...ของการนำเข้าสู่บทเรียน

ขำขำ......ของครูภาษาไทย

เช้าวัน....อากาศแจ่มใส ดวงอาทิตย์สาดเข้ามากระทบผ้าม้านที่เป็นสีชมพูในห้องนอนเล็ก ๆ วันนี้เป็นวันที่ครูสมศรีซึ่งเป็นครูฝึกสอนวิชาภาษาไทยของโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ห่างจากอำเภอมาก วันนี้ต้องตื่นแต่เช้าเพราะอาจารย์นิเทศต้องมานิเทศติดตามการสอนของครูสมศรี  วันนี่เป็นวันที่ต้องเตรียมการสอน ต้องเตรียมสื่อการสอน แผนการสอนให้พร้อม ลำดับขั้นตอนการสอนให้ตรงกับแผน หลังจากที่เตรียมตัวมาทั้งคืนก่อนออกจากห้องไหว้อธิฐานว่าการสอนวันนี้ของให้ราบรื่นอย่างสะดุดอะไรเลยของให้เป็นที่พอใจของอาจารย์นิเทศ ....ชั่วโมงแห่งการนิเทศก็มาถึง

ในห้องเรียนมีนักเรียนที่ไม่มากเพราะเป็นโรงเรียนที่ห่างไกลความเจริญ...อาจารย์นิเทศพร้อมครูพี่เลี้ยงนั่งอยู่หลังห้องเรียนดูการสอนของครูสมศรี...ครูสมศรีเริ่มต้นทักทายนักเรียนก่อนพร้อมทั้งแนะนำอาจารย์นิเทศและครูพี่เลี้ยงให้นักเรียนฟัง..ครูสมศรีเดินไปที่หลังห้องพร้อมกับส่งแผนการสอนให้กับอาจารย์และครูพี่เลี้ยงก่อนจะเดินกับอาจารย์ถามว่าวันนี้จะสอนเรื่องอะไร ครูสมศรีตอบว่า วรรณกรรมไทยคะเริ่มเลย อาจารย์บอก

การเรียนการสอนที่ดีต้องนำเข้าสู่บทเรียนให้เชื่อมโยงกับเนื้อหาที่จะเรียนให้ได้วันนี้สอนเรื่องวรรณกรรมไทย

นักเรียนมองชายตามองตามครูแต๋วทุกครั้งที่เดินไปเดินมาในห้อง  ครูสมศรีหยิบชอร์คสีขาวและเขียนเลข 10 บนกระดานพร้อมกับถามนักเรียนทั้งห้องว่า  นักเรียนค่ะนี้เลขอะไร?  นักเรียนตอบพร้อมกันว่า เลข 10 ครับ/ค่ะเก่งมาก ครูสมศรีเสริมแรง .....ครูสมศรีเขียนเครื่องหมายคูณบนกระดาษและถามนักเรียนว่านี้เครื่องหมายอะไรค่ะนักเรียน  ครูสมศรีเน้นย้ำคำถามอย่างหนักแน่น  นักเรียนตอบว่า เครื่องหมายคูณครับ/ค่ะ นักเรียนตอบพร้อมกันเสียงดังฟังชัด.........ครูพี่เลี่ยงและอาจารย์นิเทศตั้งใจดูการสอนของครูสมศรีอย่างไม่กระพริบตา  เก่งมากครูสมศรีเสริมแรงให้กันนักเรียน ครูสมศรีเขียนเลข 10 ต่ออีก... พร้อมกับถามนักเรียนว่าต่อไปนี้นักเรียนขอให้นักเรียนตั้งใจฟังเพราะกำลังจะเข้าสู่เนื้อหาแล้ว นักเรียนทุกคนมองกระดานดำและตั้งใจฟังตามที่ครูสมศรีบอก นักเรียนค่ะ 10 คูณ 10 เท่ากับเท่าไร? นักเรียนตอบพร้อมกันว่า เท่ากับ 100 ครับ  เก่งมากครูสมศรีชมนักเรียน  ครูสมศรีเขียนเลข 100 บนกระดานและถามนักเรียนว่า  แล้ว 10 คูณ 100 ได้เท่ากับเท่าไร?  นักเรียนตอบพร้อมกันว่า 100 คูณ 10 เท่ากับ 1000  ครับ/ค่ะ ครูสมศรีปรบมือให้กับความเก่งของนักเรียนเก่งจริง ๆ เลยนักเรียนครูครูสมศรีบอกนักเรียน ถูกต้องแล้วค่ะนักเรียน ขอให้นักเรียนเปิดหนังสือหน้า 28 วันนี้ครูจะสอน วรรณกรรมของไทยเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ...................

               

เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน

                   หมายถึง วิธีที่ครูจะโน้มน้าวผู้เรียนสนใจในบทเรียนอย่างแนบเนียนวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนมีหลายวิธี

1.ใช้อุปกรณ์ เช่น ให้ดูของจริง รูปภาพ ฉายภาพยนตร์

 2.การเล่าเรื่อง เช่น การเล่านิทาน การเล่าเหตุการณ์

3.การร้องเพลง 4.การสนทนาซักถาม

5.บททวนบทเรียนเดิมที่สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่

 6.การสาธิต

 7.การทายปัญหา

8.การแสดงบทบาท

วิธีปฏิบัติสำหรับการนำเข้าสู่บทเรียน

1.การนำเข้าสู่บทเรียนควรใช้เวลาสั้น ๆ ประมาณ 5 – 15 นาที

2.สิ่งที่จะใช้นำเข้าสู่บทเรียนไม่ว่าวิธีใด ต้องเอื้อกับบทเรียน หรือสอดคล้องกับบทเรียน

3.การจูงใจเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนต้องกระทำให้กระชับพอเหมาะพอดีเมื่อผู้เรียนมีความสนใจครูต้องรีบขึ้นบทเรียนใหม่ทันที

4.การนำเข้าสู่บทเรียน ครูจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีใหม่ ๆ และเหมาะสมอย่าใช้วิธีซ้ำซาก

5.พยายามศึกษาความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน และเลือกวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน

6.ครูต้องศึกษาเทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนแต่ละวิธีให้เข้าใจและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ 

คำสำคัญ (Tags): #เรื่องขำขำ
หมายเลขบันทึก: 294804เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2009 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมคิดว่าการนำเข้าสู่บทเรียนจะเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับห้องเรียนก่อนที่เริ่มต้นเรียน...เพื่อน ๆ อ่านแล้วคิดว่าอย่างไรบ้างครับ

นำมาเล่าบ้างครับ (อาจจะเคยได้ยินมาแล้ว)

    คุณครูใช้แปรงลบกระดานไปสามที   แล้วถามนักเรียนว่า ครูเคาะไปกี่ก๊ก   นักเรียนตอบ "สามก๊ก" ครับ

   ถูกต้อง เปิดหน้า  130 วันนี้เราจะมาเรียนเรื่อง สามก๊ก กัน

เอ้า...เงียบ อยากรู้มั้ยว่าวันนี้ครูจะสอนเรื่องอะไร .....อิอิ

จะนำวิธีการเข้าสู่บทเรียนของครูสมศรีไปใช้ ก็ไม่ได้สอนวิชาภาษาไทยซะด้วยสิ

นึกว่าจะเรียนคณิตศาสตร์ แหม... คิดได้งัย!

ผมสอนคณิตศาสตร์ มัธยมครับ

บางเรื่องเราก็หาเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาลำบากเลยครับ โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ พอเอ่ยคณิตศาสตร์ตั้งแต่นำเข้าสู่บทเรียนบางครั้งก็น่าเบื่อ สำหรับนักเรียน   เทคนิคที่ผมใช้บ่อยคือ การร้องเพลงเปลี่ยนบรรยากาศ เพลงคณิตศาสตร์ หรือไม่ก็เป็นเพลงง่ายๆประกอบการสอน  เพลงสมัยนิยมให้นักเรียนเขามีส่วนร่วม  จะเป็นการสร้างบรรยากาศมากเลยรับรอง  พอนักเรียนเขาประทับใจและมาทางเราแล้ว  พอใส่อะไรเข้าไปเขาก็ยอมรับได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท