ข้อคิด ... ถ้าจะประเมินกิจกรรม


 

จากเรื่องเดิมที่ทีมได้ทำเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เมื่อต้นปีงบฯ 2552 นี้ เมื่อ 30 กค.52 จึงได้เวลามาดูกันว่า เมื่อได้นำเกณฑ์มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ไปใช้ประเมินจริงๆ กับชมรมผู้สูงอายุแล้ว มีความเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร ทำให้ได้ข้อคิดมา เพื่อที่จะปรับเกณฑ์ให้กระชับขึ้น และเอื้อต่อการส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุกันต่อไปค่ะ ... บันทึก ได้นำข้อเสนอแนะแนวทางที่มีประโยชน์ มาเล่าสู่กันฟัง โดย อาจารย์ มัทนา ค่ะ

เราได้ข้อคิดในการประเมินการทำกิจกรรม สำหรับชมรมผู้สูงอายุในหลายๆ ประเด็น นั่นก็คือ

  • เกณฑ์จะสำเร็จหรือไม่? อย่างไร? ไม่ได้ดูระหว่างประเมินเท่านั้น ต้องดูว่า
     - ก่อนประเมิน ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าทำไปทำไม ต้องการให้เกิดอะไร ต้องมีการประชุม และเข้าไปคุยกับทางชมรมก่อน เพื่อให้ผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ฯ เห็นตรงกันว่า แต่ละข้อหมายความว่าอย่างไร จะได้ตรงกับบริบทของเขา
     - ระหว่างประเมิน รายละเอียดพอไหม อ่านแล้วเข้าใจหรือไม่ พยายามให้ชมรมเห็นศักยภาพตัวเองให้ได้มากที่สุด
     - และหลังประเมิน เกิดอะไรขึ้น ...  ถ้าชมรมไหน แข็งแรง เขาก็จะตื่นเต้นเลย ว่าเขามี แต่ถ้าชมรมไหน ไม่มี เราก็ส่งเสริมให้ มีการเขียนเป็นแผนปฏิบัติการง่ายๆ ว่า เขาจะทำอะไรต่อไป
  • ประเมินไปทำไม? ทำไปเพื่อใคร?
     - เราทำเพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรม เหมือนกับทำเพื่อให้เขาได้มีแผนที่ เพื่อที่จะได้ทำให้เกิดกิจกรรม ไปในแนวทางที่เราได้กำหนด
     - และมีการมาทำคะแนน เพื่อจัดระดับชมรมฯ เพื่อ ประการที่หนึ่ง เกิด Best practice ให้เห็นว่ามีสิ่งดีดี เด่นๆ เพื่อที่จะได้เป็นแรงจูงใจให้กลุ่มที่เขายังไม่มี หรือมองอีกแบบคือ เราจะได้รู้ว่า ใครยังทำได้ไม่ดี จะได้ไปกระตุ้นได้ต่อไป
  • เกณฑ์ประเมินเป็น เครื่องมือ
     - เป็นแค่เครื่องมือ เป็นแค่ตัวที่ไปชี้ บอกว่า ควรจะทำอย่างไรต่อไป เป็นแค่จุดเริ่มต้น
     - การทำกิจกรรมจริง อาจทำกิจกรรมในกรอบที่กำหนด หรือนอกกรอบ ก็มีความเป็นไปได้ แล้วแต่ผู้ทำกิจกรรม
     - ต้องให้เข้าใจว่า เราไม่ได้บอกว่า หน้าตาจะออกมาเหมือนกัน แค่เป็นการแนะแนวทาง เป็นการกระตุ้นให้เกิด ว่า มีคนเขาทำกันอย่างนี้ คุณจะทำให้เกิดแบบนี้ก็ได้นะ หรือคิดอย่างอื่นได้ ก็ทำอย่างอื่น
  • มุมมอง การประเมินเพื่อการพัฒนา (Developmental evaluation)
     - ให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน ทั้งผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ฯ เข้าใจว่า เป็นการประเมินเพื่อการพัฒนา
     - เป้าหมาย หรือผลลัพธ์อาจยังไม่ชัดเจน แต่ค่อยๆ ทำกันไป
     - มีการประเมิน outcome จริงๆ ว่า สุขภาพช่องปากเขาดีขึ้น จริงหรือมั๊ย ... จึงจะเริ่มเห็นชัดว่า ผลลัพธ์คืออะไร เป้าหมายคืออะไร ทุกคนก็จะเรียนไปพร้อมๆ กัน
     - ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้มากกว่า ที่จะมาตัดสินพิพากษา
     - ฝึกนิสัยคนในชมรม และเจ้าหน้าที่ฯ ให้รู้จัก การร่วมคิดประเมิน ให้รัก ไม่กลัวการประเมิน ให้ได้เห็นการประเมินเป็นการพัฒนา
     - เน้นให้เข้ากับบริบทของความเป็นจริง
     - การจัดทำเกณฑ์ มีวิจัยมาแล้วว่า เวลาทำเกณฑ์ ครั้งแรก อย่างเก่งคือ 80% ไม่ต้องแก้ อีก 20% ยังไงก็ต้องแก้
  • เกณฑ์ที่มีอยู่ดีหรือยัง?
     - ต้องดูว่า เมื่อทำไปแล้ว พฤติกรรมของชมรมเปลี่ยนหรือเปล่า ถ้าทำแล้ว พฤติกรรมชมรมเปลี่ยน เป็นตัวพิสูจน์ว่า เกณฑ์ของเราใช้ได้
  • ประโยชน์ของการประเมิน มีหรือไม่
     - ต้องดูว่า ผลของการประเมิน ถูกนำมาช่วยในการตัดสินใจทำอะไรหรือเปล่า
  • การเขียน Action plan หรือ Logic model ก็คือแผนปฏิบัติการ หรือแนวทางในการทำ
     - จะอยู่ที่เรา ว่า เอาไปทำอย่างไรให้ง่ายที่สุด
     - สิ่งที่ควรมีในแผนปฏิบัติการ คือ เป้าหมายว่า เขาจะทำให้เกิดอะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร กิจกรรมและวิธีการคืออะไร ที่สำคัญ คือ ทฤษฎีว่า ทำไมถึงทำกิจกรรมนี้ ทำแล้วจะเกิดอะไร ต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง คาดว่าจะเกิดผลอะไรบ้าง ในระยะสั้นระยะยาว
     - เกณฑ์ทำขึ้นอย่างเข้าใจ จะเป็นแผนที่ ทำให้คิดได้ว่า เขาจะทำอะไร
     - พอเขาได้ไอเดียมาเยอะๆ แล้ว ตอนนี้อาจจะต้องมีเจ้าหน้าที่ฯ ไปช่วย แล้วค่อยมาวิเคราะห์ต่อว่า กิจกรรมไหนดีหรือไม่ดี เพราะว่าที่ดีก็คือ ทำแล้วมันน่าจะเกิดผลลัพธ์สุขภาพช่องปากจริงๆ และทำได้ไม่ยาก
  • เรื่อง calibrate, validity สำคัญ
     - ใช้มุมมองใหม่ๆ เช่น การไม่ใช้คนประเมินคนเดียวกันหมด
     - ให้คนประเมินมีสิ่งที่เรียกว่า Audit trail คือ เมื่อมีคนกลับไป audit แล้ว ต้องมีหลักฐานจริงๆ ว่าเขาทำกิจกรรมที่บอก เช่น รูปภาพ เอกสารบันทึกการประชุม โฆษณา โบชัวร์ หรือป้ายติดประกาศ แบบนั้นก็จะเป็น Audit trail ที่สามารถ trace กลับไปได้ว่า ทำกิจกรรมจริง

การบ้านที่ต้องทำกันต่อก็คือ รูปร่างหน้าตาของเกณฑ์มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุต่อไปละค่ะ

หมายเลขบันทึก: 294732เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2009 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กิจกรรมของชมรมมีค่อนข้างหลากหลาย ถ้ามีเกณฑ์ แต่ละชมรมก็จะพยายามทำตามเกณฑ์ แต่เราก็จะไม่ได้เห็นอะไรที่หลากหลาย เราต้องการให้เขามีกิจกรรมเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุที่ต่อเนื่องใช่รึเปล่าคะ และเราคาดหวังใหมว่าถ้าผู้สูงอายุไม่ทำกิจกรรมเพื่อตัวเอง แต่นำความรู้ที่ได้รับจากชมรมไปดูแล และแนะนำสุขภาพช่องปากของลูกหลาน ถือว่าชมรมนั้น OK รึเปล่าคะ

  • P
  • เกณฑ์ที่วัดกิจกรรม ต้องเป็นเกณฑ์ที่เปิดค่ะ เปิดสำหรับกิจกรรมใหม่ๆ ที่เราคิดไม่ถึงว่าจะมี
  • เกณฑ์ที่ทำกันขึ้นมานี้ มีพื้นฐานจากกิจกรรมที่ทำกันได้จริงๆ ในชมรมนำร่องค่ะ ก็คาดไว้ว่า ชมรมฯ คงทำกิจกรรมประมาณนี้ และอาจมีเพิ่มขึ้น ซึ่งเราก็ต้องเปิดรับด้วย
  • คำว่า "เกณฑ์" อาจจะไม่ใช่ก็ได้นะคะ แต่ยังคิดไม่ถึงว่า แล้วจะใช้คำว่าอะไรที่ดีกว่านี้
  • กิจกรรมที่ผู้สูงอายุ ไปดูแลลูกหลาน ก็เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุทำได้กันหลายที่
  • ส่วนจะมี หรือไม่มีกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุเอง ก็คงเป็นบริบทของแต่ละพื้นที่ละค่ะ ว่า เขามีกิจกรรมรวมกลุ่มไหม ถ้าไม่มีก็อาจเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้ามี เขาก็อาจจะมีกิจกรรมให้เขากันเองได้ด้วย
  • มาช่วยกันนะคะ
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • แอบมาเก็บข้อคิดไปทำค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ pa_daeng ... สบายดีนะคะ
  • ยินดีอย่างยิ่งค่ะ ที่บันทึกนี้ให้ความรู้
  • เมื่ออาทิตย์ที่แล้วไปภูเก็ตมา เหนื่อยมากเลยค่ะ เพิ่งได้รู้ว่า การพักคนละที่กับที่ประชุมนี่ เป็นความยากลำบากจริงๆ ในการเดินไปเดินมา ... เอ หรือว่า แก่แล้ว
  • แต่ที่แน่นอนคือ ไปภูเก็ตตั้ง 1 อาทิตย์ แต่ไม่ได้เที่ยวที่ไหนเลย เจ็บใจๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท